Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
เจตมูลเพลิงแดง
เจตมูลเพลิงแดง | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Core eudicots |
อันดับ: | Caryophyllales |
วงศ์: | Plumbaginaceae |
สกุล: | Plumbago |
สปีชีส์: | P. indica |
ชื่อทวินาม | |
Plumbago indica L. |
เจตมูลเพลิงแดง (อังกฤษ: Indian leadwort, scarlet leadwort; ชื่อวิทยาศาสตร์: Plumbago indica) หรือ ปิดปิวแดง (ภาคเหนือ), ไฟใต้ดิน (ภาคใต้) เป็นพืชในวงศ์ Plumbaginaceae มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-2 เมตร กิ่งก้านมักทอดยาว ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรีแกมรูปไข่ ยาว 3-13 ซม. โคนใบมนหรือกลม ปลายใบแหลม ใบบาง ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจะเชิงลด ยาว 20-90 ซม. ก้านช่อดอกยาว 1-3 ซม. มีดอกจำนวนมาก ใบประดับและใบประดับย่อยรูปไข่ขนาดเล็ก ยาว 0.2-0.3 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปใบหอก ยาว 0.8-0.9 ซม. ดอกสีแดงหรือม่วง หลอดกลีบดอกยาว 2-2.5 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปไข่กลับ ยาวประมาณ 2 ซม. ปลายกลีบกลม เป็นติ่งหนามตอนปลาย เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดตรงข้ามกลีบดอก อับเรณูยาวประมาณ 2 มม. รังไข่รูปรี ก้านเกสรเพศเมียมีหลายขนาด มีขนยาวที่โคน
ในรากเจตมูลเพลิงแดงมีสารพลัมบาจิน (plumbagin) ซึ่งมีคุณสมบัติต้านเชื้อจุลินทรีย์ หากสัมผัสถูกผิวหนังจะทำให้ผิวพุพอง ในทางการแพทย์แผนไทยจัดเจตมูลเพลิงแดงเป็นยารสร้อน ช่วยขับลม บำรุงธาตุ บำรุงเลือด แต่ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์เพราะอาจทำให้แท้งได้ ชาวขมุใช้รากต้มรวมกับหอมไก๋และฮ่อสะพายควายใช้บำรุงกำลัง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เจตมูลเพลิงแดง
- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Plumbago indica ที่วิกิสปีชีส์