Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

เอทิลีนไกลคอล

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
เอทิลีนไกลคอล
Wireframe model of ethylene glycol
Spacefill model of ethylene glycol
Ball and stick model of ethylene glycol
Sample of ethylene glycol
ชื่อตาม IUPAC 1,2-Ethanediol
ชื่ออื่น
  • Ethylene glycol
  • 1,2-Ethanediol
  • Ethylene alcohol
  • Hypodicarbonous acid
  • Monoethylene glycol
  • 1,2-Dihydroxyethane
  • Glycol solvent
เลขทะเบียน
ตัวย่อ MEG
เลขทะเบียน CAS [107-21-1][CAS]
PubChem 174
EC number 203-473-3
UN number 3082
KEGG C01380
MeSH Ethylene+glycol
ChEBI 30742
RTECS number KW2975000
SMILES
 
InChI
 
Beilstein Reference 505945
Gmelin Reference 943
ChemSpider ID 13835235
3DMet B00278
คุณสมบัติ
สูตรโมเลกุล C2H6O2
มวลโมเลกุล 62.07 g mol−1
ลักษณะทางกายภาพ ของเหลวไม่มีสี
กลิ่น ไม่มีกลิ่น
ความหนาแน่น 1.1132 g/ซm3 (1,111.9 oz/cu ft)
จุดหลอมเหลว

−12.9 °C, 260 K, 9 °F

จุดเดือด

197.3 °C, 470 K, 387 °F

ความสามารถละลายได้ ใน น้ำ ผสมเข้ากันได้
ความสามารถละลายได้ ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ส่วนใหญ่
log P -1.69
ความดันไอ 0.06 mmHg (20 °C)
ความหนืด 1.61×10−2 Pa·s
ความอันตราย
GHS pictograms The exclamation-mark pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)The health hazard pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)
อันตรายหลัก เป็นอันตราย, ติดไฟ
NFPA 704
NFPA 704.svg
1
2
0
 
Explosive limits 3.2–15.2%
U.S. Permissible
exposure limit (PEL)
ไม่มี
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
ไดออลที่เกี่ยวข้อง
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
สถานีย่อย:เคมี

เอทิลีนไกลคอล (อังกฤษ: ethylene glycol; ชื่อ IUPAC: ethane-1,2-diol) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรเคมีคือ (CH2OH)2 เป็นของเหลวไม่มีสี ไม่มีกลิ่น รสหวาน มีความเป็นพิษระดับกลาง นิยมใช้เป็นสารป้องกันน้ำแข็งตัว (antifreeze) และสารหล่อเย็น (coolant) และใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมพอลิเอสเทอร์

การผลิต

ในปี ค.ศ. 1860 นักเคมีชาวฝรั่งเศส ชาร์ล-อาดอลฟ์ เวิตซ์เตรียมเอทิลีนไกลคอลจากปฏิกิริยาไฮเดรชันของเอทิลีนออกไซด์ ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เยอรมนีเตรียมเอทิลีนไกลคอลจากการสังเคราะห์ 1,2-ไดคลอโรอีเทนเพื่อใช้แทนกลีเซอรอลในอุตสาหกรรมวัตถุระเบิด ในสหรัฐอเมริกา มีการเริ่มผลิตเอทิลีนไกลคอลกึ่งพาณิชย์ในปี ค.ศ. 1917 และเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ในปี ค.ศ. 1925 โดยโรงงานของบริษัทยูเนียนคาร์ไบด์ในเมืองเซาท์ชาร์ลสตัน รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย

ปัจจุบันได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างเอทิลีนออกไซด์และน้ำ ตามสมการ:

C2H4O + H2O → HO−CH2CH2−OH

มีการประมาณการว่ามีการผลิตเอทิลีนไกลคอล 6.7 พันล้านกิโลกรัมต่อปี

ความเป็นพิษ

เอทิลีนไกลคอลมีค่า LD50 สำหรับมนุษย์ (ทางปาก) เท่ากับ 786 มิลลิกรัม/กิโลกรัม อันตรายส่วนใหญ่มาจากรสชาติหวานซึ่งทำให้มนุษย์และสัตว์เข้าใจผิดได้ เมื่อรับประทานเข้าไป เอทิลีนไกลคอลจะเปลี่ยนรูปเป็นกรดออกซาลิกซึ่งเป็นพิษ ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง หัวใจและไต จึงมีการแนะนำให้ใช้โพรพิลีนไกลคอลเป็นสารป้องกันน้ำแข็งตัวแทน เพราะรสชาติไม่ดีและเมื่อรับประทานเข้าไป จะเปลี่ยนรูปเป็นกรดแล็กติก ซึ่งเป็นสารทั่วไปที่ได้จากกระบวนการเมตาบอลิซึม

ในปี ค.ศ. 2012 ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาเสนอให้มีการเติมดีนาโทเนียมเบนโซเอต สารรสขมจัดลงในสารป้องกันน้ำแข็งตัวเพื่อป้องกันการรับประทาน ในเดือนธันวาคม ปีเดียวกัน ผู้ผลิตสารป้องกันน้ำแข็งตัวในสหรัฐฯ ยอมรับในข้อเสนอดังกล่าว

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение