Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

เอนเทอโรไวรัส

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
Enterovirus
Journal.pntd.0003044.g005 cropped.jpg
Enterovirus A71 capsid
แบ่งสายตามสี
การจำแนกชนิดไวรัส e
ไม่ได้จัดลำดับ: ไวรัส
Realm: Riboviria
อาณาจักร: Orthornavirae
ไฟลัม: Pisuviricota
ชั้น: Pisoniviricetes
อันดับ: Picornavirales
วงศ์: Picornaviridae
สกุล: เอนเทอโรไวรัส
Species

ดูข้างล่าง

เอนเทอโรไวรัส (อังกฤษ: Enterovirus) เป็นไวรัส อาร์เอ็นเอ สายเดี่ยว ขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-30 นาโนมิเตอร์ เป็น ไวรัสเปลือย ( non-enveloped virus หรือ naked virus ) ทำให้ทนทานต่อสารละลายไขมัน เช่น แอลกอฮอล์ และ อีเทอร์ เชื้อไวรัส กลุ่มนี้ เกือบทั้งหมดอยู่ในลำไส้ของมนุษย์ โดยแสดงอาการของโรคต่างกัน ไวรัสชนิดนี้ สามารถแพร่กระจายติดต่อถึงกันได้โดยตรงผ่านทางของเหลวต่างๆของร่างกาย ที่สำคัญ คือ การปนเปื้อนมาในอุจจาระของผู้ป่วย ( fecal-oral transmission ) ซึ่งถือได้ว่า เป็นการติดต่อที่สำคัญของไวรัสกลุ่ม เอนเทอโรไวรัส ทั้งหมด ( คำว่า เอนเทอโร หมายถึง ทางเดินอาหาร , ติดต่อโดย ระบบทางเดินอาหารนั่นเอง ) ถึงแม้ ไวรัสกลุ่มนี้จะเจริญได้ดีในทางเดินอาหาร แต่สามารถทำให้เกิดโรคได้หลายๆ อวัยวะที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร แล้วแต่ละ โรคอาจจะมีได้ตั้งแต่ความรุนแรงต่ำ โรคหายได้เองจนถึงความรุนแรงโรคสูงเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้

โรคที่เกิดขึ้น

เอนเทอโรไวรัสเป็นสาเหตุของการเกิดโรค เช่น กล้ามเนื้ออัมพาตแบบเฉียบพลัน , เยื่อหุ้มสมองอักเสบ , สมองอักเสบ , กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน , เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ , ไข้ออกผื่น , เริม ,โรคมือ เท้า และปาก , เยื่อตาอักเสบ

การจำแนกชนิด

ในปัจจุบันมีการจัดจำแนก เอนเทอโรไวรัส ที่มี กลุ่มไวรัส ชนิดนี้ทั้งหมด 68 ชนิด คือ

ระยะการฟักตัว

ระยะฟักตัวของเชื้อเมื่อเข้าสู่ร่างกายโดยปกติประมาณ 3 - 5 วัน แต่อาจนานถึง 2 สัปดาห์ แต่ถ้าได้รับผ่านทางน้ำนมมารดาที่มีการติดเชื้อ จะสามารถอยู่ในทางเดินอาหาร และ ปนอยู่ในอุจจาระของเด็กที่ป่วยได้นานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน และ คงอยู่ในทางเดินหายใจได้นาน 1-3 สัปดาห์ก่อนที่ไวรัสจะถูกขับออกมา ทางอุจจาระได้นานถึงหลายสัปดาห์

ล้กษณะของอาการ

(1) nonspecific febrile illness ซึ่งเป็นลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุด และ น่ากังวลที่สุด เนื่องจากเมื่อเกิดใน เด็กทารก จะมี ไข้สูง และ ดูป่วยหนัก ทำให้ต้องตรวจเลือด และ การตรวจอื่นๆ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ใช่ bacterial sepsis

(2) อาการของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคหวัด คอหอยอักเสบ แผลร้อนใน หลอดลมฝอยอักเสบ ปอดบวม และ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ ทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกเวลาหายใจเข้าออก

(3) อาการทางผิวหนัง ได้แก่ โรคมือ เท้า และปาก ซึ่งเกิดจาก EV-71โรคของเล็บ ที่ทำให้เล็บหลุดบ่อยๆ (periodic shedding of nails) และ ไข้ออกผื่นแบบต่างๆ (nonspecific exanthems)

(4) อาการทางสมอง ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส สมองอักเสบ) และ อัมพาตของแขนขา

(4.1) มีรายงานชายไทย อายุ 16 ปี อาศัยที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว มีอาการ ไข้สมองอักเสบ เข้ารับการรักษาเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม เบื้องต้นมีไข้ อาเจียน ไม่มีตุ่มผื่น แต่มี ปอดบวมน้ำ และ ไข้สมองอักเสบ ซึ่งตรวจพบว่ามาจากเชื้อ EV-71

(4.2) การที่ผู้ป่วยข้างต้นมีอาการทางสมองร่วมกับอาการทางปอด ซึ่งเป็น complication ของโรคที่เรียกว่า neurorespiratory syndrome ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก ได้ระบุไว้ใน guideline ว่าให้เฝ้าระวังอาการดังกล่าวด้วย

(5) อาการของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อาเจียน ท้องร่วง ปวดท้อง ตับอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ

(6) อาการของระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ อัณฑะอักเสบ

(7) อาการที่ตา ได้แก่ การอักเสบของเยื่อตาและมีเลือดออกใต้เยื่อตาอย่างฉับพลัน และ ผนังลูกตาชั้นกลางอักเสบ

(8) อาการที่หัวใจ ได้แก่ เยื่อหุ้มหัวใจ และ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

(8.1) อาการนี้เป็นอาการที่พบในเด็กวัย 2 ขวบ 8 เดือน ที่กำลังเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้ โดยเข้ารับการรักษายังโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี และ เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ ๑๖ กค. และ เป็นการเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว กระทรวงสาธารณสุขได้ยืนยันว่ามีการติดเชื้อ enterovirus จริง คือ EV-71 (genotype B5) เด็กรายนี้มีโรคประจำตัวคือ โรคหอบหืด อาการของ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เกิดขึ้นโดยไม่มีอาการของไข้ รวมทั้งไม่มีผื่น และ แผลในช่องปาก แรกๆ มีอาการ ไอ หายใจลำบาก ซึม ต่อมามีความดันเลือดสูง เหนื่อยหอบ การหายใจล้มเหลวต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเม็ดเลือดขาว มีปริมาณสูง หัวใจเต้นเร็ว ตรวจเอนไซม์พบว่ากล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ไม่พบเชื้อในอุจจาระและน้ำไขสันหลัง ต่อมาได้เก็บตัวอย่างเชื้อจากคอและตรวจด้วยวิธี PCR จึงพบเชื้อ (หมายเหตุ ข้อความส่วนนี้เขียนเพิ่มเติมขึ้นในวันที่ 25 กค. 2555)

(9) อาการที่กล้ามเนื้อ ได้แก่ กล้ามเนื้ออักเสบ

(10) ในเด็กแรกเกิด โดยเฉพาะที่ไม่ได้รับภูมิคุ้มกันจากมารดา มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการของโรคที่รุนแรง ได้แก่ ภาวะเลือดเป็นพิษ, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน , ตับอักเสบ, การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ และ ปอดบวม

การติดต่อ

เอนเทอโรไวรัส เข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุของคอหอยและ ลำไส้ และ จะขยายเพิ่มจำนวนที่ทอนซิลและเนื้อเยื่อของระบบน้ำเหลืองบริเวณ ลำไส้ ซึ่งมีเชื้อนี้อยู่ และ เชื้อจะออกมากับอุจจาระ ดังนั้น การติดต่อจึงมักเกิดจาก การกินเชื้อเข้าสู่ปากโดยตรวจจากมือที่ปนเปื้อน อุจจาระ น้ำลาย น้ำมูก หรือ น้ำในตุ่มพอง หรือ แผล ของผู้ป่วย หรืออาจเกิดจากการ ไอ จาม รดกัน (การแพร่ ติดต่อ มักเกิดขึ้นได้ง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย ซึ่งมีเชื้อออกมามาก) ส่วนการติดต่อทางน้ำหรืออาหารมีโอกาสเกิดได้น้อย และ โรคนี้ไม่ติดต่อโดยการหายใจ

การระบาดวิทยาของไวรัส

เชื้อเอนเทอโรไวรัส เกิดขึ้นทั่วโลก มีลักษณะเกิดกระจัดกระจายหรือระบาดเป็นครั้งคราว มักมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูร้อนต่อต้นฤดูฝน ( พฤษภาคม - มิถุนายน ) มักเป็นกับเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ไม่ค่อยพบในวัยรุ่น การระบาดมักเกิดขึ้นบ่อยในกลุ่มเด็ก เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาล กลุ่มเสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะกลุ่มอายุต่ำกว่า 15 ปี และ พบสูงสุดในเด็กกลุ่มอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อยู่กันอย่างแออัด และ มีฐานะยากจน และ ถ้ามีการระบาดเป็นระยะเวลานานจะทำให้มีโอกาสที่จะแพร่ไปสู่เด็กที่มีอายุมากขึ้นจนถึงวัยรุ่น และ ความรุนแรงของโรคก็จะเพิ่มมากขึ้น ประเทศไทยได้ดำเนินการเฝ้าระวังโรคจาก enterovirus ทางห้องปฏิบัติการตั้งแต่มิถุนายน 2541 โดยสำนักระบาดวิทยาทำการสอบสวนโรคและเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งในระยะแรกเป็นการเฝ้าระวังเฉพาะพื้นที่ใน 14 โรงพยาบาล และ ขยายเป็นการเฝ้าระวังทั่วประเทศใน พ.ศ. 2544

ความไวรับและความต้านทานต่อโรค : โดยทั่วไปจะไวรับต่อการติดเชื้อได้ ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจะจำเพาะต่อเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุโดยที่อาจมีหรือไม่มีอาการก็ได้ แต่ไม่ทราบช่วงเวลา การติดเชื้อครั้งที่สองอาจเกิดได้จากการติดเชื้อ คอกแซคกี เอ ชนิดที่ต่างไป ซึ่งโรคที่พบมากที่สุด คือ

อาการโรค มือ เท้า และปากรอบครอบปากของผู้ป่วยเด็กชายอายุ 11 เดือน

การป้องกันและควบคุมการระบาด

  • มาตรการป้องกัน ลดการสัมผัส คนสู่คน เท่าที่จะทำได้ โดย ไม่ควรนำเด็กเล็กไปในที่ชุมชนสาธารณที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมากๆ เช่น สนามเด็กเล่น และ ห้างสรรพสินค้า ตลาด สระว่ายน้ำ ควรอยู่ในที่ที่มีการระบายถ่ายเทอากาศได้ดี หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยและระมัดระวังการ ไอ จาม รดกันให้ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังเตรียมอาหาร แลt รับประทานอาหาร และ ภายหลังการขับถ่าย ใช้ช้อนกลาง และ หลีกเลี่ยงการใช้แก้วน้ำหรือหลอดดูดน้ำร่วมกัน
  • การควบคุมผู้ป่วย ผู้สัมผัส และสิ่งแวดล้อม :- การรายงานโรค ระบบเฝ้าระวังโรค สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุขการแยกผู้ป่วย ระวังสิ่งขับถ่ายของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยในหอผู้ป่วยแม่ และ เด็กเกิดอาการเจ็บป่วยที่ บ่งชี้ว่าจะเป็นการติดเชื้อ enterovirus จะต้องระวังเรื่องสิ่งขับถ่ายอย่างเข้มงวด เพราะอาจทำให้ทารกติดเชื้อและเกิดอาการรุนแรงได้ ห้ามญาติหรือเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลผู้ป่วยที่สงสัยว่าติดเชื้อ enterovirus เข้ามาในหอผู้ป่วยหรือหอเด็กแรกเกิด หรือห้ามเข้าใกล้ทารกหรือหญิงท้องแก่ใกล้คลอด การทำลายเชื้อ ต้องทำลายเชื้อในน้ำมูก น้ำลาย อุจจาระ ของผู้ป่วยอย่างรวดเร็วปลอดภัย ล้างทำความสะอาด หรือทำลายสิ่งของปนเปื้อน หลังสัมผัสสิ่งของปนเปื้อนหรือสิ่งขับถ่าย การกักกัน ไม่ต้องการให้ ภูมิคุ้มกันแก่ผู้สัมผัส ไม่มี การสอบสวนผู้สัมผัส และ ค้นหาแหล่งโรค ค้นหา ติดตามผู้ป่วยและผู้สัมผัสโรคอย่างใกล้ชิดในกลุ่มเด็กอนุบาลหรือสถานเลี้ยงเด็ก
  • มาตรการเมื่อเกิดการระบาด วิเคราะห์สถานการณ์เป็นรายวัน จำแนก และ แยกผู้ป่วยนอก ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม เฝ้าระวังผู้สัมผัสอย่างใกล้ชิด ทำการควบคุม ป้องกัน โดยทำลายสารคัดหลั่งต่างๆจากผู้ป่วยทั้งในบ้าน สถานรับเลี้ยงเด็ก และ โรงพยาบาล
  • มาตรการควบคุมโรคระหว่างประเทศ ยังไม่มีมาตรการควบคุมใดๆที่เป็นทางการแพทย์
  • โอกาสที่เกิดการระบาดใหญ่ ในสถานรับเลื้ยงเด็ก หากมีผู้ป่วยในสถานรับเลี้ยงเด็ก มีโอกาสแพร่ระบาดได้

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение