Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
เอลิซาเบธ เฟลชแมน
Другие языки:

เอลิซาเบธ เฟลชแมน

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
เอลิซาเบธ เฟลชแมน ผู้บุกเบิกรังสีเอกซ์ชาวอเมริกัน (ค.ศ. 1899)

เอลิซาเบธ เฟลชแมน-อัชไฮม์ (อังกฤษ: Elizabeth Fleischman-Aschheim; 5 มีนาคม ค.ศ. 1867 – 3 สิงหาคม ค.ศ. 1905) เป็นนักรังสีการแพทย์ชาวอเมริกันซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกรังสีเอกซ์ เฟลชแมนเป็นผู้หญิงคนแรกที่เสียชีวิตจากผลของการทำงานกับรังสีเอกซ์

ชีวิตช่วงแรก

เอลิซาเบธ เฟลชแมน เกิดที่เทศมณฑลเอลโดราโด รัฐแคลิฟอร์เนีย (อาจเป็นที่เมืองแพลเซอร์วิล) เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1867 โดยเป็นลูกสาวของผู้อพยพชาวยิวจากออสเตรีย แคทเธอรีน เลอซันสกี ซึ่งเป็นแม่ของเธอเกิดที่ปรากและมีสมาชิกในครอบครัวหลายคนที่เป็นแพทย์ในที่ตอนนี้คือสาธารณรัฐเช็ก ส่วนเจค็อบ เฟลชแมน ซึ่งเป็นพ่อของเธอเป็นคนทำขนมปัง โดยเอลิซาเบธเป็นหนึ่งในลูกที่มีอยู่ทั้งหมดห้าคน

โดยใน ค.ศ. 1876 ครอบของเธอครัวย้ายไปอยู่ที่ซานฟรานซิสโก ซึ่งพ่อของเอลิซาเบธ ทำงานเป็นคนทำขนมปังเป็นอาชีพแรก และต่อมาก็กลายเป็นพ่อค้าขายของกระจุกกระจิกและซิการ์ต่าง ๆ เอลิซาเบธ เฟลชแมน เข้าเรียนที่ไฮสกูลสตรี และลาออกในปีสุดท้ายของเธอเมื่อ ค.ศ. 1882 เพื่อช่วยสนับสนุนครอบครัวของเธอ จากนั้นเธอเรียนหลักสูตรการทำบัญชีกับการจัดการสำนักงาน และครั้งหนึ่งเธอทำงานเป็นคนทำบัญชีที่ฟรีดแลนเดอร์แอนด์มิเทา ผู้ผลิตชุดชั้นในซานฟรานซิสโก

เมื่อแม่ของเธอเสียชีวิต เฟลชแมนย้ายไปอยู่กับน้องสาวของเธอ เอสเทล ซึ่งแต่งงานกับแพทย์และศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ ไมเคิล โจเซฟ เฮนรี วูล์ฟ เฟลชแมนทำงานในสำนักงานการแพทย์ของวูล์ฟในฐานะคนทำบัญชี ที่ซึ่งเขาได้แบ่งปันและสนับสนุนความอยากรู้ในเทคโนโลยีใหม่ทางการแพทย์ของรังสีเอกซ์

ผู้บุกเบิกรังสีเอกซ์

ใน ค.ศ. 1896 เฟลชแมนได้อ่านการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของวิลเฮล์ม เรินต์เกน ในด้านการถ่ายภาพรังสีเอกซ์ที่เวียนนา ประเทศออสเตรีย ที่ชื่อ "การค้นพบภาพถ่ายครั้งใหม่" ซึ่งจุดประกายความสนใจของเธอในการถ่ายภาพรังสี ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1896 ธอเข้าร่วมการบรรยายในที่สาธารณะและนำเสนอเกี่ยวกับอุปกรณ์รังสีเอกซ์โดยอัลเบิร์ต ฟาน เดอร์ เนลเลน ในซานฟรานซิสโก ต่อมาในปีนั้น เธอลงทะเบียนเรียนในโรงเรียนวิศวกรรมฟาน เดอร์ เนลเลน และเรียนหลักสูตรวิทยาศาสตร์ไฟฟ้า โดยส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากการบรรยายของฟาน เดอร์ เนลเลน และกำลังใจจากพี่เขยผู้เป็นแพทย์

เมื่อสำเร็จหลักสูตรการศึกษา เธอยืมเงินจากพ่อของเธอเพื่อจัดซื้อเครื่องรังสีเอกซ์ และรังสีทรรศน์ เฟลชแมนแสดงความสนใจอย่างรวดเร็ว และมีความเชี่ยวชาญในส่วนเครื่องมือต่าง ๆ ที่จำเป็นในการผลิตรังสีเอกซ์

ภายใน ค.ศ. 1897 หนึ่งปีหลังจากการค้นพบรังสีเอกซ์โดยเรินต์เกน เธอได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการรังสีเอกซ์ที่ซัตเตอร์สตรีต ในซานฟรานซิสโก ที่นั่นเธอได้ตรวจคนไข้ในนามของแพทย์ท้องถิ่น ซึ่งงานนี้ต้องใช้ความเชี่ยวชาญทั้งด้านกายวิภาคและการถ่ายภาพเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจน

ในปี ค.ศ. 1898 หนังสือพิมพ์อเมริกันรายงานผลงานของเธอในการขายอาหารที่ค้าขายในเชิงพาณิชย์ด้วยรังสีเอกซ์ เพื่อตรวจหาว่ามีหรือไม่มี "การปลอมปน" จากสิ่งเจือปน นอกจากนี้ เธอยังเริ่มถ่ายภาพรังสีเอกซ์ของสัตว์และวัตถุทั่วไป เช่น ภายในรองเท้า

ภาพบนฟิล์มรังสีเอกซ์โดยเอลิซาเบธ เฟลชแมน จากกะโหลกศีรษะของพลทหาร จอห์น เกรตเซอร์ จูเนียร์ แสดงกระสุนที่ติดอยู่ในสมอง

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1898 เธอเริ่มให้บริการในฐานะผู้ถ่ายภาพบนฟิล์มรังสีเอกซ์ให้แก่กองทัพบกสหรัฐ ซึ่งได้ส่งทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากเขตสงครามแปซิฟิกของสงครามสเปน–อเมริกา กลับไปยังสหรัฐผ่านทางซานฟรานซิสโก

ผลของรังสีและการเสียชีวิต

เฟลชแมนเป็นคนที่สองและเป็นผู้หญิงคนแรกที่เสียชีวิตเนื่องจากการได้รับรังสีเอกซ์ หลังการเสียชีวิตของคลาเรนซ์ ดาลลี ซึ่งเป็นนักเป่าแก้วชาวอเมริกันและผู้ช่วยทอมัส เอดิสัน ในงานรังสีเอกซ์ ผู้ที่เสียชีวิตเมื่อปีก่อน

  • Fleischman, Elizabeth. (1898). Description of Plates: Plate LV: American Frog. Archives of the Roentgen Ray. 3(2): 62.
  • Borden, William Cline, & Sternberg, George Miller. (1900). The Use of the Röntgen Ray by the Medical Department of the United States Army in the War with Spain. Washington, D.C. Government Printing Office.
  • Senn, Nicholas. (1900). The X-ray in Military Surgery. Philadelphia Medical Journal. 5: 36–37.

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение