Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

เอ็น

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
บทความนี้เกี่ยวกับโครงสร้างในร่างกาย สำหรับอักษรภาษาอังกฤษ ดูที่ N
บทความนี้เกี่ยวกับโครงสร้างยึดระหว่างกระดูก (ligament) สำหรับโครงสร้างยึดระหว่างกล้ามเนื้อและกระดูก (tendon) ดูที่ เอ็นกล้ามเนื้อ
เอ็น
(Ligament)
Knee diagram.svg
แผนภาพของข้อเข่าข้างขวา
Joint.svg
ข้อต่อ
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละติน ligamenta
MeSH D008022
TA98 A03.0.00.034
FMA 30319
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

เอ็น หรือ เอ็นยึด (อังกฤษ: ligament) เป็นคำกว้างๆ หมายถึง กลุ่มหรือมัดเส้นใยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งเรียงตัวในทิศทางเดียว เห็นได้ชัดและไม่มีกล้ามเนื้อยึดที่ปลาย ทั้งนี้เอ็นมีความหมายถึงโครงสร้างได้ 3 ชนิด โดยทั่วไปเอ็นหมายถึงเนื้อเยื่อเส้นใยที่ยึดระหว่างกระดูก เรียกว่า "เอ็นข้อต่อ" (articular ligament, articular larua) "เอ็นเส้นใย" (fibrous ligaments) หรือ "เอ็นแท้" (true ligaments)

นอกจากนี้ เอ็น อาจหมายถึง

  • เอ็นเยื่อบุช่องท้อง (peritoneal ligament) เป็นการพับทบกันของเยื่อบุช่องท้องหรือเนื้อเยื่อชนิดอื่นในช่องท้อง
  • เอ็นที่เป็นส่วนเหลือของทารกในครรภ์ (fetal remnant ligament) เป็นส่วนเหลือของโครงสร้างท่อในระยะทารกในครรภ์ที่ฝ่อลงเมื่อไม่ได้ถูกใช้งานกลายเป็นเนื้อเยื่อเส้นใย

วิชาที่ศึกษาเอ็น เรียกว่า วิทยาเอ็น (desmology) ภาษาอังกฤษมาจากรากศัพท์ภาษากรีกโบราณ δεσμός, desmos, "สาย"; และ -λογία, -logia "ความรู้")

เอ็นคล้ายคลึงกับเอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) และพังผืด (fasciae) ตรงที่ทั้งหมดประกอบด้วยคอลลาเจน แต่เอ็นยึดระหว่างกระดูกชิ้นหนึ่งกับกระดูกอีกชิ้นหนึ่ง แต่เอ็นกล้ามเนื้อยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูก และพังผืดเชื่อมกล้ามเนื้อมัดหนึ่งกับกล้ามเนื้ออีกมัดหนึ่ง

เอ็นข้อต่อ

โดยทั่วไป เอ็น หมายถึงแผ่นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนาแน่นและเป็นระเบียบ (dense regular connective tissue) เหนียวและสั้น ที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นเส้นใยคอลลาเจนยาวและเหนียว เอ็นทำหน้าที่ยึดเชื่อมกระดูกและกระดูกชิ้นอื่นเพื่อเกิดเป็นข้อต่อ (joint) (โครงสร้างที่ทำหน้าที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อและกระดูกคือ เอ็นกล้ามเนื้อ (tendon)) เอ็นบางตำแหน่งทำหน้าที่จำกัดและช่วยป้องกันการเคลื่อนไหวบางทิศทางของข้อต่อ

เอ็นแคปซูล (Capsular ligament) เป็นส่วนของแคปซูลข้อต่อ (articular capsule) ที่ล้อมรอบข้อต่อแบบซินโนเวียล (Synovial joint) ซึ่งทำหน้าที่เสริมแรง เอ็นนอกแคปซูล (Extra-capsular ligament) ทำหน้าที่เชื่อมกระดูกเข้าด้วยกันและช่วยรักษาเสถียรภาพของข้อต่อ เอ็นในแคปซูล (Intra-capsular ligaments) ทำหน้าที่รักษาเสถียรภาพของข้อแต่ยังทำให้ข้อต่อมีพิสัยการเคลื่อนไหวกว้างขึ้น

เอ็นยึดจะมีคุณสมบัติยืดหยุ่น เมื่อมีแรงตึงจะค่อยๆ ยืดออกเล็กน้อย และกลับสภาพเดิมเมื่อไม่มีแรงตึง (ต่างจากเอ็นกล้ามเนื้อซึ่งไม่มีความยืดหยุ่น) แต่หากแรงดึงมากเกินจุดหนึ่งหรือถูกทิ้งไว้จนเกินระยะเวลาหนึ่งเอ็นจะไม่สามารถกลับสภาพเดิม ด้วยเหตุนี้เมื่อเกิดข้อเคลื่อน (dislocation) แล้วต้องได้รับการรักษาโดยทันที ถ้าเอ็นถูกยืดมากเกินไป ข้อต่อก็จะอ่อนแอลงและมีแนวโน้มจะเกิดข้อเคลื่อนในอนาคต นักกรีฑา, นักยิมนาสติก, นักเต้นและผู้ฝึกฝนศิลปะการต่อสู้จึงต้องมีการออกกำลังกายแบบยืดหยุ่น (stretching exercise) เพื่อยืดเอ็นให้ข้อต่องอโค้งได้ง่าย

อาการข้อต่อเคลื่อนเกิน (hyperlaxity หรือ double-jointed) หมายถึงอาการที่ข้อต่อมีความยืดหยุ่นมากกว่าปกติ ทำให้ข้อต่อยืดและบิดได้มากขึ้น

เมื่อเกิดเอ็นฉีก (broken ligament) อาจทำให้ข้อต่อไม่เสถียร เอ็นฉีกทุกครั้งไม่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดก็ได้ เพียงแค่ให้ข้อต่ออยู่นิ่งก็ทำให้เอ็นมาต่อกันได้ แต่การผ่าตัดสามารถเย็บซ่อมเอ็นได้โดยตรง หากการรักษาดังกล่าวรักษาเอ็นฉีกไม่ได้ผลอาจต้องใช้หัตถการอื่นๆ เช่น Brunelli Procedure เพื่อรักษาเสถียรภาพของข้อ การทิ้งไว้โดยไม่รักษาเป็นเวลานานอาจทำให้กระดูกอ่อนสึกและทำให้ข้อเสื่อม (osteoarthritis) ได้

เอ็นเยื่อบุช่องท้อง

รอยทบของเยื่อบุช่องท้อง (peritoneum) บางตำแหน่งอาจเรียกว่า "เอ็น" ตัวอย่างเช่น

เอ็นที่เป็นส่วนเหลือของทารกในครรภ์

โครงสร้างที่มีลักษณะเป็นท่อในระยะทารกในครรภ์เมื่อถูกปิดลงและมีลักษณะเป็นสายหรือเส้น อาจเรียกว่า "เอ็น"

โครงสร้างในทารก ในผู้ใหญ่
ดักทัส อาร์เทอริโอซัส
ductus arteriosus
ลิกาเมนตุม อาร์เทอริโอซุม
ligamentum arteriosum
หลอดเลือดดำอัมบิลิคัลข้างซ้ายในทารก ส่วนที่อยู่นอกตับ
extra-hepatic portion of the fetal left umbilical vein
ลิกาเมนตุม เทเรส เฮปาติส (เอ็นกลมยาวของตับ)
ligamentum teres hepatis (the "round ligament of the liver")
หลอดเลือดดำอัมบิลิคัลข้างซ้ายในทารก ส่วนที่อยู่ในตับ (ดักทัส วีโนซัส)
intra-hepatic portion of the fetal left umbilical vein (the ductus venosus)
ลิกาเมนตุม วีโนซุม
ligamentum venosum
ส่วนปลายของหลอดเลือดแดงอัมบิลิคัลข้างซ้ายและขวาในทารก
distal portions of the fetal left and right umbilical arteries
มีเดียล อัมบิลิคัล ลิกาเมนต์
medial umbilical ligaments

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение