Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

แผลบูรูลี

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
Buruli ulcer
Buruli ulcer left ankle EID.jpg
แผลบูรูลีที่ตาตุ่มของชาวกาน่าผู้หนึ่ง
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10 A31.1 (ILDS A31.120)
ICD-9 031.1
DiseasesDB 8568
MeSH D009165

แผลบูรูลี (หรือที่รู้จักในชื่อของ แผลแบนสเดล แผลเซอลส์ หรือ แผลเดนทรี) เป็นโรคติดเชื้อ สาเหตุมาจากแบคทีเรียที่ชื่อ ไมโคแบคทีเรียม อัลเซอแรนส์. อาการเริ่มแรกของการติดเชื้อจะมีตุ่มเล็กหรือบวมที่ผิวแต่ไม่รู้สึกเจ็บ ตุ่มนี้จะกลายเป็น แผลเปื่อย. แผลเปื่อยใต้ชั้นผิวหนังจะมีขนาดใหญ่กว่าบริเวณผิวหนัง และบริเวณรอบๆ แผลจะมีอาการบวม เมื่ออาการหนักยิ่งขึ้น จะมีการติดเชื้อที่กระดูก แผลบูรูลีส่วนมากจะพบการติดเชื้อในบริเวณแขนหรือขา ปกติจะไม่มีไข้

เชื้อแบคทีเรีย เอ็ม อัลเซอแรนส์ จะปล่อยสารพิษที่มีชื่อว่า ไมโคแลกโทน ซึ่งจะลด การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และส่งผลให้เนื้อเยื่อตาย การตาย. แบคทีเรียจากตระกูลเดียวกันนี้เป็นสาเหตุของ วัณโรค และ โรคเรื้อน (เอ็ม ทูเบอร์คูโลซิส และ เอ็ม เลแปรตามลำดับ) วิธีการกระจายของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด แหล่งน้ำอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระจายของโรค จนถึงปี 2013 ยังไม่พบวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรค

หากได้รับการรักษาในช่วงแรกของการติดเชื้อ โดยการรับประทานยาปฏิชีวนะ เป็นเวลาแปดสัปดาห์จะได้ผลถึง 80% การรักษามักจะใช้ยา ไรแฟมพิซิน และ สเตรปโตมัยซิน บางครั้งอาจจะใช้ยาคลาริโธมัยซิน หรือ มอกซิฟลอกซาซิน แทนสเตรปโตมัยซิน การรักษาวิธีอื่น ได้แก่ การตัด แผลเปื่อยออกไป หลังจากได้รับการรักษาแผลที่ติดเชื้อ โดยทั่วไปบริเวณผิวหนังจะเป็นแผลเป็น

แผลบูรูลีจะเกิดในพื้นที่ชนบทโดยส่วนใหญ่ของ แอฟริกาใต้สะฮารา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศ โกตดิวัวร์และยังเกิดขึ้นในเอเชีย แปซิฟิกตะวันตกและทวีปอเมริกา พบการเกิดโรคในประเทศต่างๆ มากกว่า 32 ประเทศ ในแต่ละปีจะพบผู้ติดเชื้อประมาณ ห้าถึงหกพันราย ยังพบว่าโรคนี้นอกจากจะเกิดขึ้นมนุษย์แล้วยังเกิดขึ้นสัตว์ด้วยเช่นกัน อัลเบิร์ต รัสกิน คุก เป็นบุคคลแรกที่อธิบายเกี่ยวกับโรคแผลบูลูรีในปี 1897


Новое сообщение