Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
แม่ชีเทเรซา
นักบุญเทเรซาแห่งกัลกัตตา | |
---|---|
พรหมจารี, นักพรตหญิง | |
เกิด | 26 สิงหาคม ค.ศ. 1910 สกอเปีย จักรวรรดิออตโตมัน |
เสียชีวิต | 5 กันยายน ค.ศ. 1997 (อายุ 87 ปี) โกลกาตา ประเทศอินเดีย |
นิกาย | โรมันคาทอลิก |
เป็นนักบุญ | 4 กันยายน ค.ศ. 2016 จัตุรัสนักบุญเปโตร โดย สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส |
วันฉลอง | 5 กันยายน |
แม่ชีเทเรซา หรือ คุณแม่เทเรซา (26 สิงหาคม พ.ศ. 2453 – 5 กันยายน พ.ศ. 2540) เป็นนักพรตหญิงในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ท่านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้ช่วยเหลือและผู้ต่อสู้เพื่อคนยากไร้ทั้งในประเทศที่ยากจนและร่ำรวย จนเมื่อปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) ท่านจึงได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และหลังจากมรณกรรมก็ได้รับการประกาศเป็นบุญราศีโดยสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 มีนามว่า "บุญราศีเทเรซาแห่งกัลกัตตา" ต่อมาในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559 สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสได้ประกาศให้ท่านเป็น "นักบุญเทเรซาแห่งกัลกัตตา"
ประวัติ
วัยเยาว์
คุณแม่เทเรซา เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) ที่สกอเปีย จักรวรรดิออตโตมัน (ปัจจุบันคือเมืองหลวงของประเทศมาซิโดเนียเหนือ) (ภายหลังคุณแม่ถือวันที่ 27 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันที่คุณแม่ทำพิธีศีลล้างบาปเป็นวันเกิดที่แท้จริง) เป็นบุตรคนสุดท้องของบิดานิโกลา (Nikola) กับมารดา ดราเน (Drane Bojaxhiu) ครอบครัวชนชั้นกลางเชื้อสายแอลเบเนีย เธอมีชื่อเดิมว่า "แอ็กเนส กอนจา โบยาจู" (Agnes Gonxha Bojaxhiu) มีบิดาเป็นชาวคริสต์ที่เคร่งครัดในหลักศาสนา ซึ่งทำให้ตั้งแต่วัยเด็กแอ็กเนสชอบไปโบสถ์ฟังบาทหลวงเทศน์มาโดยตลอด
ขณะแอ็กเนสมีอายุ 9 ปี ในปี พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) บิดาของเธอได้เสียชีวิตลง แต่ความอบอุ่นภายในครอบครัวที่แอ็กเนสได้รับก็ไม่ได้ลดลง ด้วยเพราะมารดายังให้ความรักความอบอุ่นและการเลี้ยงดูที่ดีมาตลอด แอ็กเนสเติบโตขึ้นเป็นเด็กร่าเริง และมีสุขภาพดี และไม่นานต่อมาเธอก็ได้รู้จักกับประเทศอินเดีย แต่ก็ได้รู้ว่าอินเดียในขณะนั้นมีระบบสาธารณูปโภคที่ยังล้าหลังอยู่มาก มีคนยากไร้มากมายในประเทศที่ต้องทนทรมาน และเริ่มสงสัยว่า จะมีวิธีใดบ้างไหมที่เธอจะได้ช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากในอินเดีย ซึ่งในช่วงเวลานี้นี่เองที่แอ็กเนสเริ่มมีความคิดที่จะบวชเป็นแม่ชี
ในปี พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) แอ็กเนสตัดสินใจขออนุญาตครอบครัวเพื่อขอบวชเป็นแม่ชี ตอนแรกครอบครัวคัดค้าน แต่ต่อมาไม่กี่วันทางครอบครัวก็ยอมให้เธอบวช แอ็กเนสเดินทางไปบวชที่อารามโลเรโต (Loreto Abbey) ในกรุงดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งการลาจากจากครอบครัวของเธอในครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่เธอจะได้เห็นหน้าของแม่และน้องสาว แอ็กเนสตั้งใจศึกษาเล่าเรียนวิชาที่นักพรตหญิงพึงได้เรียนเป็นเวลา 1 เดือน หลังจากนั้นจึงเดินทางไปยังประเทศอินเดียในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน และได้เริ่มออกเผยแผ่คำสอนในเมืองดาร์จีลิง รัฐสิกขิม ทางเหนือของประเทศอินเดีย โดยเธอได้พักอยู่ที่อารามโลเรโตที่ตั้งอยู่ที่เมืองดาร์จีลิง
พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) แอ็กเนสตัดสินใจเข้าพิธีปฏิญาณตนเป็นนักพรตหญิงคณะภคินีพระนางมารีย์พรหมจารีที่อารามโลเรโต ในเมืองดาร์ลีจิงเป็นครั้งแรก และตอนนี้เองที่แอ็กเนสได้รับศาสนนาม (ชื่อทางศาสนา) ว่าภคินีเทเรซา ซึ่งมาจากนามของนักบุญเทเรซาแห่งพระกุมารเยซู และได้ปฏิญาณตนตลอดชีพในปี พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937)
หลังจากปฏิญาณตนตลอดชีพแล้ว แม่ชีเทเรซาได้เข้าเป็นครูวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ในโรงเรียนสตรีเซนต์มาเรีย ในเมืองเอนทาลี นครกัลกัตตา ไม่นาน ก็ได้เป็นครูใหญ่ของโรงเรียนสตรีเซนต์มาเรีย พาตนเองและเหล่านักเรียนผ่านเหตุการณ์เลวร้าย ที่เกิดจากผลกระทบของเหตุการณ์รุนแรงและสงครามที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในอินเดียมาได้ด้วยดี
คณะธรรมทูตแห่งเมตตาธรรม
เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) ขณะที่แม่ชีเทเรซากำลังนั่งรถไฟกลับไปยังอารามที่ทาร์จีลิง ระหว่างทางเธอก็ได้ยินพระวจนะของพระเจ้า ซึ่งเนื้อหาที่พระเจ้าพูดกับแม่ชีเทเรซาในขณะนั้น ทำให้แม่ชีเทเรซาตัดสินใจขออนุญาตไปทำงานในสลัม เพื่อช่วยเหลือคนยากจน แต่การทำแบบนั้นถ้าหากทำโดยไม่ได้รับการอนุญาตเป็นพิเศษจะถือว่ามีความผิดทางศาสนา แม่ชีเทเรซาจึงขอให้ท่านมุขนายก ขอร้องไปยังพระสันตะปาปา ให้อนุญาตแม่ชีเทเรซาเป็นกรณีพิเศษ
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) แม่ชีเทเรซาได้รับอนุญาตเป็นพิเศษให้ไปทำงานในสลัมได้ แต่ก่อนนั้นต้องให้มีความรู้เพียงพอเสียก่อน ซึ่งเธอก็ได้เดินทางไปศึกษาวิชาพยาบาลที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองปัตนา รัฐพิหาร เมื่อศึกษาจบแม่ชีเทเรซาก็ได้ก่อตั้งโรงเรียนกลางแจ้งในสลัม มีเด็กๆ ให้ความสนใจมาเรียนเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นไม่นานก็เริ่มมีศิษย์เก่าจากโรงเรียนสตรีเซนต์มาเรียมาขอบวชเป็นผู้ช่วยแม่ชีเทเรซา โดยคนแรกที่มาขอบวช คือ "สวาชินี ดาส" เมื่อบวชแล้วได้รับสมญาทางศาสนาว่า "ภคินีอักเนส" และไม่นานก็มีศิษย์เก่ามาบวชเพิ่มอีกถึง 10 คน
ในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) ท่านอาร์ชบิชอปได้ตั้งกลุ่มของแม่ชีเทเรซาให้เป็นคณะนักบวชคาทอลิก มีชื่อว่า "คณะธรรมทูตแห่งเมตตาธรรม" (Missionaries of Charity) โดยแม่ชีเทเรซาได้เป็นมหาธิการิณี ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมาผู้คนส่วนใหญ่มักเรียกแม่ชีเทเรซาว่า คุณแม่เทเรซา (Mother Teresa)
วันหนึ่งแม่ชีเทเรซาได้คิดที่จะสร้างบ้านหลังหนึ่ง เพื่อให้ผู้หิวโหยที่นอนรอความตายอยู่ข้างถนนนั้นได้มานอนตายอย่างสงบ และด้วยเหตุนี้ท่านจึงขอยืมเทวสถานพระแม่กาลีของศาสนาฮินดูใช้เป็น "บ้านของผู้รอความตาย" (Home for the Dying) โดยเริ่มเปิดใช้ในปี พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) แต่ชาวฮินดูพอสมควรที่ไม่เห็นด้วยกับการที่คุณแม่เทเรซาซึ่งเป็นชาวคริสต์ จะมาใช้เทวสถานของชาวฮินดูเป็นสถานที่ แต่เมื่อผู้บัญชาการตำรวจเข้าไปคุยกับคุณแม่เทเรซา ก็ได้ผลสรุปว่าคุณแม่เทเรซายังใช้สถานที่เทวสถานกาลีอยู่ได้ต่อ
เมื่อปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) มีผู้ใจบุญบริจาคบ้านให้แก่คณะธรรมทูตแห่งเมตตาธรรมเพื่อให้ทางคณะฯ ได้ใช้งานบ้านให้เป็นประโยชน์ต่อคุณแม่เทเรซาและส่วนรวม คุณแม่เทเรซาได้ตัดสินใจใช้บ้านหลังนี้ในการรับเลี้ยงเด็กกำพร้า ตั้งชื่อว่า "บ้านเด็กดวงหทัยนิรมล" (Children's Home of the Immaculate Heart)
พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) คุณแม่เทเรซาเริ่มใช้รถพยาบาลเคลื่อนที่ออกรักษาผู้ป่วยที่เป็นชาวไร่ชาวนา โดยโรคที่ชาวไร่ชาวนาป่วยมากที่สุดคือ โรคเรื้อน แต่ในช่วงนั้นสังคมอินเดียยังมองเห็นผู้ป่วยโรคเรื้อนเป็นสิ่งน่ารังเกียจ ผู้ป่วยโรคเรื้อนจึงคิดว่าคนเองไม่มีค่า คุณแม่เทเรซาจึงเริ่มคิดถึงปัญหานี้
พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) ที่ทำการของแม่ชีเทเรซาที่อยู่นอกประเทศอินเดียเริ่มเปิดทำการ มีทั้งในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย
ไม่กี่ปีต่อมา ผู้ว่าการรัฐเบงกอลตะวันตกได้ให้คุณแม่เทเรซายืมใช้แปลงที่ดินที่เมืองอาซันซอลขนาด 140,000 ตารางเมตร (ประมาณ 87.5 ไร่) เพื่อให้ใช้เป็นสถานสงเคราะห์ผู้ป่วยโรคเรื้อน คุณแม่เทเรซาได้แบ่งสรรที่ดินไว้อย่างลงตัว แต่ไม่มีเงินจะสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ได้ออกแบบไว้ คุณแม่เทเรซานั่งครุ่นคิดอยู่สักพักก็นึกขึ้นได้ว่าพระสันตะปาปาเคยมอบรถยนต์เปิดประทุนสีขาวบริสุทธิ์ชั้นดี ถ้าขายเฉยๆ จะได้ราคา 100,000 รูปี (ประมาณ 400,000 บาท) แต่นั่นยังไม่เพียงพอ คุณแม่เทเรซาตัดสินใจทำสลาก โดยเอารถคันนั้นเป็นรางวัล ทำสลาก 5,000 ใบ ขายสลากใบละ 100 รูปี (ประมาณ 400 บาท) ใครถูกรางวัลจะได้รับรถพระสันตะปาปาไป การขายสลากแบบนี้ คณะมิชชันนารีของคุณแม่เทเรซา ได้รับเงินถึง 500,000 รูปี (ประมาณ 2,000,000 บาท) ในที่สุดคณะมิชชันนารีของคุณแม่เทเรซาก็ได้สร้างที่ดินขนาดกว่า 80 ไร่ ให้เป็นหมู่บ้านในฝันของผู้ป่วยโรคเรื้อนได้สำเร็จใน พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) ตั้งชื่อว่า "หมู่บ้านสันติสุข" มีทั้งโรงพยาบาลและที่อยู่ทั้งสำหรับเหล่าแม่ชีและเหล่าผู้ป่วย มีผู้ป่วยโรคเรื้อนขอเข้ารับการรักษาที่หมู่บ้านสันติสุขนี้มากกว่า 15,000 คน
ไม่นานหลังจากนั้น แม่ชีเทเรซา ก็เปิดที่ทำการอีกแห่งหนึ่ง คราวนี้เป็นการนำกาบมะพร้าวมีรีไซเคิล โดยนำใยมะพร้าวด้านในมาผลิตเป็นสินค้า ตั้งแต่แปรงขัดหม้อ จนถึงพรมนุ่ม ๆ สินค้าบางชิ้นมีคุณภาพดี ก็สามารถนำไปขายในเมืองได้
ไม่นานต่อมา คุณแม่เทเรซาเมื่อรู้ว่า สายการบินต่างๆ จะจัดการอาหารที่ผู้โดยสารกินเหลือโดยการทิ้งทั้งหมด จึงไปขอให้บริษัทสายการบินแอร์อินเดีย มอบอาหารที่ผู้โดยสารกินเหลือมาเป็นอาหารแก่เด็กๆ ใน บ้านเด็กใจบุญ
ในปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) คุณแม่เทเรซาได้รับเกียรติให้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ในฐานะ "สำหรับการอาสาต่อสู้เพื่อลดความยากจนทุกข์ยากซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการนำไปสู่ความสงบสุขและสันติ" (for work undertaken in the struggle to overcome poverty and distress, which also constitute a threat to peace.) นอกจากนี้ คุณแม่เทเรซาปฏิเสธงานเลี้ยงฉลองที่ท่านได้รับรางวัลโนเบล และขอให้ผู้ที่ทำเค้กฉลองมาแล้ว นำเค้กไปมอบให้คนยากคนจน
คุณแม่เดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) ซึ่งก็ได้ตระเวนปราศรัยไปตามที่ต่างๆ ในประเทศ เนื้อหาส่วนใหญ่คือ ความเหลื่อมล้ำในสังคม การรังเกียจคนจรจัด การกลั่นแกล้งประทุษร้ายกันในญี่ปุ่น
พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) อิสราเอลมีสงครามกับองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ จนเกิดการสู้รบรุนแรงในแถบเอเชียตะวันตก คุณแม่เทเรซาก็เดินทางเข้าไปเพื่อช่วยเหลือเด็กๆ ที่ติดค้างในสถานที่ต่างๆ มาได้ 37 คน
บั้นปลายชีวิต
พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) ขณะคุณแม่เทเรซาไปเยี่ยมสถานสงเคราะห์แห่งหนึ่งในอิตาลี ท่านก็เริ่มป่วยเป็นโรคหัวใจ และมีอาการกำเริบครั้งแรก โดยมีหัวใจเต้นอ่อนเกินไป แต่ปลอดภัย หลังจากนั้น คุณแม่เทเรซาก็ทำงานอยู่เหมือนปกติ แต่อาการโรคหัวใจก็มาเยือนอยู่เรื่อยๆ จนในที่สุด คุณแม่เทเรซา ได้ยื่นจดหมายต่อพระสันตะปาปา ว่า ขอลาออกจากตำแหน่งมหาธิการิณีคณะธรรมทูตแห่งเมตตาธรรม พร้อมกับอยากให้มีการเลือกตั้งขึ้นเพื่อเลือกผู้ที่จะมาสืบทอดตำแหน่งจากตน ตอนแรกเหล่าภคินีต่างคัดค้าน แต่เมื่อรู้ว่าคุณแม่เทเรซาจะให้จัดการเลือกตั้งผู้สืบทอดตำแหน่ง จึงเทคะแนนเสียงให้คุณแม่เทเรซา แล้วผลการเลือกตั้งก็คือคุณแม่เทเรซาก็ได้รับเลือกตั้งกลับมาเป็นมหาธิการิณีคณะฯ อีกครั้ง
การทำงานของท่านก็มีอาการโรคหัวใจกำเริบมารบกวนท่านบ่อยขึ้น อาการป่วยในระดับหนักมากเกิดขึ้นกับแม่ชีเทเรซาอีกใน พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) และอีกครั้งใน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) หลังจากนั้น คุณแม่เทเรซา ก็ป่วยหนักถึงขนาดล้มหมอนนอนเสื่อ ลุกนั่งไม่ได้
เมื่อคุณแม่เห็นว่าตนคงไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ในวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) จึงได้ลาออกจากตำแหน่งมหาธิการิณีคณะธรรมทูตแห่งเมตตาธรรมอีกครั้ง ครั้งนี้เหล่าแม่ชีเห็นว่า คุณแม่เทเรซาควรได้พักผ่อน เพื่อต่อสู้กับโรคร้าย จึงไม่คัดค้านในการลาออกของคุณแม่เทเรซา และไม่เทคะแนนเสียงให้คุณแม่เทเรซา เพื่อให้คุณแม่ได้พักรักษาตัวไม่ต้องมีภารกิจ ดังนั้นภคินี นิรมลาจึงได้รับเลือกเป็นมหาธิการิณีคณะธรรมทูตแห่งเมตตาธรรมแทนคุณแม่เทเรซา
5 เดือนครึ่งต่อมา ในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) คุณแม่เทเรซาได้ถึงแก่กรรมลงที่บ้านของคุณแม่ในอินเดีย ขณะอายุ 87 ปี กับอีก 10 วัน โดยคำพูดคำสุดท้ายที่คุณแม่ได้พูดออกมาคือ "หายใจไม่ออกแล้ว" ทางการอินเดียได้จัดพิธีศพของคุณแม่เทเรซาอย่างยิ่งใหญ่ เป็นงานศพระดับชาติ (งานศพของบุคคลที่ทุ่มเทอุทิศตนเพื่อประเทศนั้นๆ) ของทางการอินเดีย
ในช่วงเวลาที่คุณแม่เสียชีวิต คณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้ามีแม่ชีมากว่า 4,000 คนและอาสาสมัครกว่าอีก 1 แสนคน ซึ่งอัตรานี้ครอบคลุมไปถึงกว่า 610 แห่ง 123 ประเทศทั่วโลก ปัจจุบันร่างของแม่ชีนอนหลับอยู่ที่บ้านคุณแม่ในอินเดีย
เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ได้ประกาศให้คุณแม่เป็นบุญราศี ต่อมาในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสได้ประกาศให้คุณแม่เป็นนักบุญ
หนังสืออ่านเพิ่ม
- Alpion, Gezim. Mother Teresa: Saint or Celebrity?. London: Routledge Press, 2007. ISBN 0-415-39247-0
- Benenate, Becky and Joseph Durepos (eds). Mother Teresa: No Greater Love (Fine Communications, 2000) ISBN 1-56731-401-5
- Bindra, Satinder (2001-09-07). "Archbishop: Mother Teresa underwent exorcism". CNN.com World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-17. สืบค้นเมื่อ 2006-10-23.
- Chatterjee, Aroup. Mother Teresa: The Final Verdict (Meteor Books, 2003). ISBN 81-88248-00-2, introduction and first three chapters of fourteen (without pictures) เก็บถาวร 2009-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Critical examination of Agnes Bojaxhiu's life and work.
- Chawla, Navin. Mother Teresa. Rockport, Mass: Element Books, 1996. ISBN 1-85230-911-3
- Chawla, Navin. Mother Teresa: The Authorized Biography, Diane Pub Co. (March 1992), ISBN 978-0-7567-5548-5.
- Chawla, Navin. The miracle of faith, article in the Hindu dated 25 August 2007 " The miracle of faith" เก็บถาวร 2007-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Chawla, Navin. Memories of Mother Teresa, article in the Hindu dated 26 August 2006 " Memories of Mother Teresa" เก็บถาวร 2011-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Chawla, Navin. Touch the Poor... – article in India Today dated 15 September 1997 " Touch the Poor..." เก็บถาวร 2010-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Chawla, Navin. The path to Sainthood, article in The Hindu dated Saturday, 4 October 2003 " The path to Sainthood " เก็บถาวร 2008-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Chawla, Navin. In the shadow of a saint, article in The Indian Express dated September, 05, 2007 " In the shadow of a saint " เก็บถาวร 2008-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Chawla, Navin. Mission Possible, article in India Today dated 21 April 2008 "Mission Possible"
- Chawla, Navin. Mother Teresa and the joy of giving, article in The Hindu dated 26 August 2008 " Mother Teresa and the joy of giving" เก็บถาวร 2008-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Clucas, Joan. Mother Teresa. New York: Chelsea House, 1988. ISBN 1-55546-855-1
- Dwivedi, Brijal. Mother Teresa: Woman of the Century
- Greene, Meg. Mother Teresa: A Biography, Greenwood Press, 2004. ISBN 0-313-32771-8
- Hitchens, Christopher. The Missionary Position: Mother Teresa in Theory and Practice. London: Verso, 1996. ISBN 1-85984-054-X
- Le Joly, Edward. Mother Teresa of Calcutta. San Francisco: Harper & Row, 1983. ISBN 0-06-065217-9.
- Muggeridge, Malcolm. Something Beautiful for God. ISBN 0-06-066043-0.
- Muntaykkal, T.T. Blessed Mother Teresa: Her Journey to Your Heart. ISBN 1-903650-61-5. ISBN 0-7648-1110-X. "Book Review". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-09. สืบค้นเมื่อ 2011-05-30..
- Scott, David. A Revolution of Love: The Meaning of Mother Teresa. Chicago: Loyola Press, 2005. ISBN 0-8294-2031-2.
- Sebba, Anne. Mother Teresa: Beyond the Image. New York: Doubleday, 1997. ISBN 0-385-48952-8.
- Slavicek, Louise. Mother Teresa. New York: Infobase Publishing, 2007. ISBN 0-7910-9433-2.
- Spink, Kathryn. Mother Teresa: A Complete Authorized Biography. New York: HarperCollins, 1997. ISBN 0-06-250825-3
- Teresa, Mother et al., Mother Teresa: In My Own Words. Gramercy Books, 1997. ISBN 0-517-20169-0.
- Teresa, Mother & Kolodiejchuk, Brian, Mother Teresa: Come Be My Light, New York: Doubleday, 2007. ISBN 0-385-52037-9.
- Williams, Paul. Mother Teresa. Indianapolis: Alpha Books, 2002. ISBN 0-02-864278-3.
- Wüllenweber, Walter. "Nehmen ist seliger denn geben. Mutter Teresa—wo sind ihre Millionen?" Stern (illustrated German weekly), 10 September 1998. English translation.
- Navin Chawla. Mother Teresa: The Authorized Biography. Diane Pub Co. (March 1992). ISBN 978-0-7567-5548-5. First published by Sinclair-Stevenson, U.K. (1992), since translated into 14 languages in India and abroad. Indian language editions include Hindi, Bengali, Gujarati, Malayalam, Tamil, Telugu, and Kannada. The foreign language editions include French, German, Dutch, Spanish, Italian, Polish, Japanese, and Thai. In both Indian and foreign languages, there have been multiple editions. The bulk of royalty income goes to charity.
- Eileen Egan and Kathleen Egan, OSB. Prayertimes with Mother Teresa: A New Adventure in Prayer, Doubleday, 1989. ISBN 978-0-385-26231-6.
- Brian Kolodiejchuk (ed.). Mother Teresa: Come be My Light, Doubleday, 2007, ISBN 978-0-385-52037-9.
- Raghu Rai and Navin Chawla. Faith and Compassion: The Life and Work of Mother Teresa. Element Books Ltd. (December 1996). ISBN 978-1-85230-912-1. Translated also into Dutch and Spanish.
- Vimla Mehta & Veerendra Raj Mehta, ‘’Mother Teresa Inspiring Incidents’’, Publications division, Ministry of I&B, Govt. of India, 2004, ISBN 81-230-1167-9.
แหล่งข้อมูลอื่น
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: แม่ชีเทเรซา |
- Mother Teresa of Calcutta Center, India – Official Site
- Missionaries of Charity Brothers (Active Branch)
- Mother Teresa and her patron saint, St. Therese of Lisieux เก็บถาวร 2020-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Mother Teresa Memorial Page
- Mother Teresa Women`s University, Kodaikanal, Tamil Nadu, India - Official site
- Nobel Laureate Biography (Nobel Foundation)
- Complete Mother Teresa Quotations
- Mother Teresa: Angel of Mercy (CNN) เก็บถาวร 2008-12-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The TIME 100: The Most Important People of the Century—Mother Teresa เก็บถาวร 2009-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Missionaries of Charity Fathers (MC Fathers / MC Priests) – Official Website: Biography of Mother Teresa เก็บถาวร 2012-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Mother Teresa's Crisis of Faith (TIME.com) เก็บถาวร 2013-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Speech at National Prayer Breakfast, Washington, D.C. 3 February 1994
- Peggy Noonan, "Still, Small Voice," Crisis, 1 February 1998 (account of the National Prayer Breakfast speech)
- Mother Teresa ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- Missionaries of Charity Active and Contemplative Sisters with U.S. contact information (CMSWR member page) เก็บถาวร 2007-08-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- India to give Mother Teresa state funeral, CNN
- "The Illusory vs The Real Mother Teresa", by Michael Hakeem, is a review of Christopher Hitchens' The Missionary Position. Published in Freethought Today, August 1996.
- Christopher Hitchens' articles "Saint to the rich" เก็บถาวร 2000-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน in Salon.com, September 1997 and "Mommie Dearest" in Slate.com, 20 October 2003, both by Christopher Hitchens.
- "The squalid truth behind the legacy of Mother Teresa" เก็บถาวร 2011-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Donal MacIntyre in the New Statesman, 22 August 2005
- "Mother Teresa: Where are her millions?", Stern 10 September 1998.
- "Mother Teresa's House of Illusions" by Susan Shields
- "Mother Teresa of Calcutta" เก็บถาวร 2006-05-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Website of Sally Warner
- "Mother Teresa, John Paul II, and the Fast-Track Saints" เก็บถาวร 2012-04-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Michael Parenti, CommonDreams.org, 22 October 2007
- Biography: Mother Teresa