Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
โครงสร้างนิยม
ในทางสังคมวิทยา, มานุษยวิทยา, โบราณคดี, ประวัติศาสตร์ และ ภาษาศาสตร์ โครงสร้างนิยม (อังกฤษ: Structuralism) เป็นทฤษฎีทั่วไปของวัฒนธรรมและวิธีวิทยา ซึ่งส่อความว่าองค์ประกอบของวัฒนธรรมของมนุษย์จะต้องทำความเข้าใจผ่านวิถีของความสัมพันธ์กับระบบที่ใหญ่กว่า การศึกษาแบบโครงสร้างนิยมมีเป้าหมายในการหาโครงสร้างที่อยู่ภายใต้ทุกสิ่งที่มนุษย์ทำ, คิด, รับรู้ และ เข้าใจ
นักปรัชญา ไซมอน แบล็กเบิร์น สรุปในอีกทางว่าโครงสร้างนิยมคือ:
ความเชื่อว่าปรากฏการณ์ในชีวิตมนุษย์ไม่สามารถเข้าใจได้ ยกเว้นแต่[จะเข้าใจได้]ผ่านความสัมพันธ์ระหว่างกัน (interrelations) ความสัมพันธ์เหล่านี้ก่อร่างขึ้นเป็นโครงสร้าง (structure) และเบื้องหลังของความหลากหลายทางท้องถิ่นในปรากฏการณ์ผิวเผินล้วนมีกฎที่มั่นคงของโครงสร้างซึ่งเป็นนามธรรม
โครงสร้างนิยมในยุโรปเริ่มมีวิวัฒนาการในต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะในฝรั่งเศสกับจักรวรรดิรัสเซีย ในฐานะภาษาศาสตร์โครงสร้างนิยมชองแฟร์ดีน็อง เดอ โซซูร์ และสำนักภาษาศาสตร์แบบปรากในยุคถัดมามอสโก และ โคเปนเฮเกน ส่วนในฐานะขบวนการทางวิชาการ โครงสร้างนิยมกลายมาเป็นสกุลความคิดที่มาสืบทอดอัตถิภาวนิยม (existentialism) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นักวิชาการสายมนุษยศาสตร์จำนวนมากได้นำเอาแนวคิดแบบโซซูร์มาใช้ในสายวิชาการของตน นักมานุษยวิทยา คลอด เลวี-สทรอส เป็นคนแรกที่ก่อให้เกิดความสนใจในโครงสร้างนิยมอย่างกว้างขวาง
การให้เหตุผลด้วยวิธีแบบโครงสร้างนิยมได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในสาขาต่าง ๆ นับจากนั้น ทั้งในมานุษยวิทยา, สังคมวิทยา, จิตวิทยา, การวิจารณ์วรรณกรรม, เศรษฐศาสตร์ และ สถาปัตยกรรม นอกจากเลวี-สทรอส แล้ว นักคิดคนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างนิยมยังมี รอมัน จาโคบซัน และ นักจิตวิเคราะห์ แฌค เลค็อง
ในช่วงปลายทศวรรษ 1960s หลักการพื้นฐานจำนวนมากของโครงสร้างนิยมเริ่มถูกโจมตีโดยกระแสนักปรัชญาและนักวิชาการซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวฝรั่งเศส เช่น นักประวัติศาสตร์ มิแช็ล ฟูโกต์, แฌค เดรีดา, นักปรัชญาสายมากซิสต์ ลุยส์ อัลท์ฮัสเซอร์ และนักวิจารณ์วรรณกรรม โรลันด์ บาตส์ ในท้ายที่สุด แนวคิดของบุคคลเหล่านี้ได้ถูกเรียกว่าเป็นสกุลความคิดหลังโครงสร้างนิยม (Post-structuralism) ผู้สนับสนุนโครงสร้างนิยมเช่นเลค็อง ยังคงมีอิทธิพลต่อปรัชญาภาคพื้นทวีป และมีบางส่วนเสนอว่าแนวคิดแบบหลังโครงสร้างนิยมเป็นการสืบต่อของแนวคิดโครงสร้างนิยมเดิม
อ่านเพิ่ม
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: โครงสร้างนิยม |
- Angermuller, Johannes. 2015. Why There Is No Poststructuralism in France: The Making of an Intellectual Generation. London: Bloomsbury.
- Roudinesco, Élisabeth. 2008. Philosophy in Turbulent Times: Canguilhem, Sartre, Foucault, Althusser, Deleuze, Derrida. New York: Columbia University Press.
แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ
- Althusser, Louis. Reading Capital.
- Barthes, Roland. S/Z.
- Deleuze, Gilles. 1973. "À quoi reconnaît-on le structuralisme?" Pp. 299–335 in Histoire de la philosophie, Idées, Doctrines. Vol. 8: Le XXe siècle, edited by F. Châtelet. Paris: Hachette
- de Saussure, Ferdinand. 1916. Course in General Linguistics.
- Foucault, Michel. The Order of Things.
- Jakobson, Roman. Essais de linguistique générale.
- Lacan, Jacques. The Seminars of Jacques Lacan.
- Lévi-Strauss, Claude. The Elementary Structures of Kinship.
- —— 1958. Structural Anthropology [Anthropologie structurale]
- —— 1964–1971. Mythologiques
- Wilcken, Patrick, ed. Claude Levi-Strauss: The Father of Modern Anthropology.