Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

โรคกลัวการขาดมือถือ

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
คุกมือถือที่ถูกใช้ในการเก็บมือถือไม่ให้นักเรียนใช้ในระหว่างการเรียนการสอน

โรคกลัวการขาดมือถือ (อังกฤษ: Nomophobia) หรือ โนโมโฟเบีย เป็นชื่อที่มีการเสนอของโรคกลัวชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยกลัวการไม่มีโทรศัพท์มือถือหรือการไม่ได้สัมผัสมือถือ แม้ว่าโรคนี้จะไม่มีอยู่ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 5 (DSM-5) แต่เบียนชิและฟิลลิปส์ได้อธิบายไว้ว่ามีปัจจัยทางจิตวิทยาที่มีผลต่อการใช้มือถือมากเกินไป คนที่มีความภูมิใจแห่งตนต่ำอาจใช้มือถือเพื่อสร้างความมั่นใจ และบุคคลที่มีลักษณะเปิดเผยอาจใช้มือถือมากเกินไป เป็นไปได้ที่อาการของโนโมโฟเบียอาจเกิดจากอาการทางจิตที่มีอยู่แล้ว และบุคคลที่มีความเสี่ยงมักเป็นโรคกลัวสังคม หรือโรควิตกกังวลเมื่อเข้าสังคม ความวิตกกังวลสังคม และโรคตื่นตระหนก

คำว่าโนโมโฟเบียย่อมาจาก โนโมบายโฟนโฟเบีย (no-mobile-phone phobia) จากการศึกษานักศึกษาชายระดับปริญญาตรีด้านบริการสุขภาพจำนวน 547 คนค้นพบว่าร้อย 23 เป็นโรคกลัวการขาดมือถือและกว่าร้อยละ 64 มีความเสี่ยง ในนักเรียนเหล่านี้ร้อยละ 77 เช็คมือถือมากกว่า 35 ครั้งต่อวัน มากกว่าครึ่งของผู้ที่มีอาการของโรคกลัวการขาดมือถือไม่เคยปิดเครื่อง

อาการและสัญญาณ

ความวิตกกังวลจะถูกกระตุ้นจากการทำมือถือหาย สัญญาณโทรศัพท์ไม่มีหรือแบตเตอรี่หมด อาการของโรครวมไปถึงการใช้มือถือมากเพื่อกันตัวเองจากการสนทนากับผู้อื่น และมีอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมากกว่าหนึ่งเครื่อง พกสายชาร์จตลอดเวลาและกังวลว่ามือถือจะหาย อาการอาจรวมไปถึงการลดการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นแบบต่อหน้าและชอบการสื่อสายผ่านเทคโนโลยี ไม่ปิดมือถือเวลานอนทั้งยังวางไว้ใกล้มือตลอดเวลา คอยเช็คมือถือตลอดเพื่อไม่ให้พลาดการรับสายหรือข้อความ โนโมโฟเบียอาจส่งผลให้เกิดการอาการเจ็บศอก มือ และคอเนื่องจากใช้มือถือบ่อย ๆ

อาการ

  • วิตกกังวล
  • ลมหายใจเปลี่ยน
  • สั่นเทา
  • เหงื่อออก
  • กระสับกระส่าย
  • งุนงงสับสน
  • หัวใจเต้นเร็ว

อาการทางอารมณ์

  • ซึมเศร้า
  • หวั่นวิตก
  • กลัว
  • การเสพติด
  • ถูกละทิ้ง
  • ความภาคภูมิต่ำ
  • เหงา

Новое сообщение