Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

โรคพยาธิกีเนีย

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
โรคพยาธิกีเนีย (EN: Dracunculiasis)
Dracunculus medinensis.jpg
การใช้ก้านไม้ขีดเพื่อดึงพยาธิกีเนียออกจากขาผู้ป่วย
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10 B72
ICD-9 125.7
DiseasesDB 3945
eMedicine ped/616
MeSH D004320

โรคพยาธิกีเนีย (อังกฤษ: Dracunculiasis; GWD) เป็นการติดเชื้อจาก พยาธิกีเนีย คนติดเชื้อโรคนี้เมื่อดื่มน้ำที่มี ตัวไรน้ำ ที่มี ตัวอ่อนของพยาธิกีเนีย เริ่มแรกจะไม่มีอาการ แต่เมื่อประมาณหนึ่งปีผ่านไป ผู้ที่ติดเชื้อจะเริ่มมีความรู้สึกปวดแสบปวดร้อนจากแผลผุพองเนื่องจากพยาธิตัวเมียมาปล่อยตัวอ่อนที่บริเวณผิวหนัง ซึ่งโดยมากมักพบที่ขา ไม่กี่สัปดาห์หลังจากนั้นพยาธิก็จะโผล่ออกมาจากผิวหนัง ในช่วงเวลานี้ การเดินหรือการทำงานจะทำได้ยากลำบากมาก แทบไม่เคยพบการเสียชีวิตที่มีโรคนี้เป็นสาเหตุ

สาเหตุ

มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดเดียวเท่านั้นที่ทราบว่ามีการติดเชื้อพยาธิกีเนีย พยาธินี้กว้างประมาณหนึ่งหรือสองมิลลิเมตรและตัวเต็มวัยเพศเมียจะยาว 60 ถึง 100 เซนติเมตร(พยาธิตัวเมียจะสั้นกว่าตัวผู้มาก) ภายนอกร่างกายมนุษย์ ไข่พยาธิจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกินสามสัปดาห์ ไข่พยาธิเหล่านี้จะต้องถูกกินโดยตัวไรน้ำก่อนช่วงเวลานี้ ตัวอ่อนของพยาธิที่อยู่ภายในตัวไรน้ำจะมีชีวิตอยู่ได้นานถึงสี่เดือน ด้วยเหตุนี้ โรคนี้จึงเกิดขึ้นกับผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ ทุกๆ ปี โดยทั่วไปมักใช้อาการและอาการแสดงของโรคเป็นพื้นฐานในการวินิจฉัยโรค

การป้องกันและการรักษา

การป้องกันคือการวินิจฉัยโรคตั้งแต่เนิ่นๆ และจากนั้นจึงป้องกันโดยอย่าให้ผู้ติดเชื้อแช่แผลในน้ำที่ใช้ดื่ม การป้องกันวิธีอื่นๆ ได้แก่: การจัดหาแหล่งน้ำสะอาดหรือการกรองน้ำถ้าน้ำนั้นไม่สะอาด การกรองน้ำด้วยผ้าก็มักเพียงพอแล้ว การแก้ไขน้ำดื่มที่ปนเปื้อนก็อาจจะทำได้โดยใส่สารเคมีที่ชื่อว่า เทเมฟอส เพื่อฆ่าตัวอ่อน โรคนี้ไม่มียารักษาหรือวัคซีนป้องกัน พยาธิอาจจะถูกกำจัดออกจากร่ายกายได้อย่างช้าๆ โดยการใช้ก้านไม้ม้วนตัวพยาธิแล้วค่อยๆ ดึงออกมา ซึ่งอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ แผลจะเกิดจากการที่พยาธิโผล่ตัวออกมาซึ่งอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย ความเจ็บปวดอาจจะยังคงเกิดขึ้นต่อไปอีกเป็นเวลาหลายเดือนหลังจากที่พยาธิถูกกำจัดแล้ว

ข้อมูลทางระบาดวิทยาและประวัติ

ในปี 2556 มีการรายงานเกี่ยวกับโรคนี้จำนวน 148 ราย ซึ่งลดลงจากจำนวน 3.5 ล้านรายในปี 2529 โรคนี้ยังคงมีอยู่เฉพาะใน 4 ประเทศของแอฟริกาจากจำนวน 20 ประเทศในระหว่างปี 2523-2533 ประเทศที่มีจำนวนการติดเชื้อสูงสุดคือ ซูดานใต้ มีแนวโน้มว่าพยาธิชนิดนี้อาจจะเป็น พยาธิก่อโรค ชนิดแรกที่จะถูกกำจัดให้หมดสิ้น พยาธิกีเนียเป็นพยาธิที่รู้จักกันมาตั้งแต่ยุคโบราณ มันถูกกล่าวถึงในประวัติทางการแพทย์ของอียิปต์ ปาปิรุสเอแบส เมื่อประมาณ 1550 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ชื่อ dracunculiasis นี้ผันมาจาก ละติน ที่แปลว่า "ความเจ็บปวดจากมังกรตัวน้อย" ในขณะที่ชื่อ "พยาธิกีเนีย" เกิดขึ้นหลังจากที่ชาวยุโรปพบเห็นโรคที่ชายฝั่งของประเทศ กินี ของ แอฟริกาตะวันตก ในศตวรรษที่ 17 พยาธิที่เป็นสาเหตุของโรคในสัตว์อื่นๆ มีสายพันธ์ที่คล้ายคลึงกับพยาธิกีเนีย ซึ่งพยาธิเหล่านี้ไม่พบว่ามีการติดเชื้อในมนุษย์ โรคนี้ถูกจัดว่าเป็น โรคเขตร้อนที่ถูกละเลย


Новое сообщение