Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

โรคมินามาตะ

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
โรตมินามาตะ
สาขาวิชา พิษวิทยา, ประสาทวิทยา, จิตเวชศาสตร์
อาการ กล้ามเนื้อเสียสหการ, อาการชา และกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ภาวะแทรกซ้อน การสูญเสียการเห็นรอบนอก, การสูญเสียต่อการได้ยิน และการออกเสียง; ในกรณีร้ายแรง: ความวิกลจริต, อัมพาต, โคม่า หรืออาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์; สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมดูพิษจากสารปรอท
การตั้งต้น ภายหลังการบริโภคอาหารทะเลที่ได้รับพิษ
ระยะดำเนินโรค เรื้อรัง
สาเหตุ พิษจากสารปรอทอย่างรุนแรง
ปัจจัยเสี่ยง ได้รับพิษจากผู้ที่บริโภคปลาและหอยจากอ่าวมินามาตะ
วิธีวินิจฉัย ดูพิษจากสารปรอท
โรคอื่นที่คล้ายกัน ดูพิษจากสารปรอท
การป้องกัน การจัดการของเสียจากอุตสาหกรรมที่เหมาะสม
การรักษา ดูพิษจากสารปรอท
ยา ดูพิษจากสารปรอท
พยากรณ์โรค 35% อัตราตายของผู้ป่วยรายโรค; สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมดูพิษจากสารปรอท

โรคมินามาตะ (ญี่ปุ่น: 水俣病โรมาจิMinamata-byō) เป็นชื่อโรคที่เกิดจากพิษจากสารปรอท โดยมีอาการของเด็กขาดสารอาหาร มีอาการวิกลจริตอย่างอ่อน ๆ กรีดร้อง นัยน์ตาดำขยายกว้างเล็กน้อย ลิ้นแห้ง แต่ไม่พบสาเหตุของการผิดปกติ แขนขาเคลื่อนไหวลำบาก มีการกระตุกตัวแข็ง แขนขาบิดงออย่างรุนแรง เพราะโรคนี้แสดงผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โรคนี้ค้นพบครั้งแรกที่เมืองมินามาตะ จังหวัดคูมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 โดยเกิดจากการทิ้งน้ำเสียที่มีสารปรอทเจือปนออกมา กว่าที่โรคนี้จะเป็นที่ยอมรับทั้งสาเหตุและโรคนี้ ก็มีการต่อสู้ทางศาลระหว่างกลุ่มธุรกิจกับผู้ป่วยมาเป็นเวลานาน

ประวัติ

บริษัทชิซโซะเปิดโรงงานเคมีในมินามาตะเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1908 ในระยะแรกเป็นโรงงานผลิตปุ๋ย ต่อมาจึงขยายกิจการตามแผนพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีของประเทศญี่ปุ่นโดยเริ่มผลิตอะเซทิลีน อะซิทัลดีไฮด์ กรดอะซิติก ไวนิลคลอไรด์ ออกทานอล และสารเคมีอื่น ๆ ต่อมาจึงพัฒนาจนเป็นโรงงานที่มีความก้าวหน้ามากที่สุด ทั้งก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ของเสียจากโรงงานถูกปล่อยลงอ่าวมินามาตะผ่านระบบกำจัดน้ำเสียของโรงงาน มลภาวะเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การประมงได้รับผลกระทบทำให้จับปลาได้น้อยลง บริษัทฯ จึงได้เสนอข้อตกลงเพื่อการชดเชยกับสมาคมชาวประมงในปี 1926 และ 1943

การขยายตัวอย่างรวดเร็วของโรงงานเริ่มแผ่ขยายไปยังเศรษฐกิจท้องถิ่นทำให้ทั้งบริษัทฯ และเมืองมินามาตะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เมื่อประกอบกับการที่ไม่มีอุตสาหกรรมอื่น ๆ ในท้องถิ่น ทำให้บริษัทฯ มีอิทธิพลในมินามาตะอย่างมาก ถึงขั้นที่มีช่วงหนึ่งซึ่งครึ่งหนึ่งของภาษีที่เก็บได้ในเขตเมืองมินามาตะมาจากบริษัทชิซโซะและพนักงาน บริษัทฯ และหน่วยงานย่อยเป็นหน่วยงานที่ทำให้เกิดการจ้างงานถึงหนึ่งในสี่ของพื้นที่ ถึงกับมีการกล่าวว่าบริษัทฯ เป็นวังของพื้นที่ เหมือนอย่างวังขุนนางในยุคเอโดะ

โรงงานเริ่มผลิตอะซิทัลดีไฮด์ในปี 1932 โดยในปีนั้นมีผลผลิต 210 ตัน เมื่อถึงปี 1951 ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 6,000 ตันต่อปี และสูงสุดที่ 45,245 ตันในปี 1960 รวมทั้งหมดแล้วโรงงานของชิซโซะมีผลผลิตอะซิทัลดีไฮด์อยู่ระหว่างหนึ่งในสี่ถึงหนึ่งในสามของผลผลิตทั้งประเทศญี่ปุ่น ปฏิกิริยาที่ใช้ในการผลิตอะซิทัลดีไฮด์นั้นมีการใช้เมอร์คิวรี (II) ซัลเฟตเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ปฏิกิริยาข้างเคียงของกระบวนการเร่งปฏิกิริยานั้นได้ผลผลิตเป็นสารปรอทชีวภาพจำนวนเล็กน้อย ชื่อว่าเมทิลเมอร์คิวรี เป็นสารที่มีพิษอย่างมาก และถูกปล่อยลงอ่าวมินามาตะตั้งแต่เริ่มผลิตในปี 1932 ถึง 1968 เมื่อวิธีผลิตนี้ถูกยกเลิก


Новое сообщение