Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
โรคลมเหตุร้อน
โรคลมเหตุร้อน (Heat stroke) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Sun stroke, siriasis |
ทหารอังกฤษขณะรับการรักษาด้วยสเปรย์น้ำเพื่อลดอุณหภูมิกาย ซึ่งเป็นการรักษาโรคลมเหตุร้อนวิธีหนึ่ง ถ่ายที่ประเทศอิรักในปี ค.ศ. 1943 | |
สาขาวิชา | เวชศาสตร์ฉุกเฉิน |
อาการ | อุณหภูมิกายสูง, ตัวแดง, ปวดศีรษะ, เวียนศีรษะ, สับสน, อาเจียน |
ภาวะแทรกซ้อน | ชัก, กล้ามเนื้อสลาย, ไตวาย |
ประเภท | คลาสสิก, จากการออกแรง |
สาเหตุ | อุณหภูมิภายนอกสูง, การออกแรงทางกาย |
ปัจจัยเสี่ยง | อายุที่สูงมาก, ยาบางชนิด, คลื่นความร้อน, ความชื้นสัมพัทธ์สูง, โรคเกี่ยวกับผิวหนัง, โรคหัวใจ |
วิธีวินิจฉัย | วินิจฉัยจากอาการ |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | กลุ่มอาการป่วยที่รุนแรงจากการใช้ยาจิตเวช, มาลาเรีย, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ |
การรักษา | ทำให้เย็นอย่างรวดเร็ว, การดูแลประคับประคอง |
พยากรณ์โรค | ความเสี่ยงการเสียชีวิต <5% (เหตุจากการออกแรง), จนถึง 65% (ไม่ใช่เหตุจากการออกแรง) |
การเสียชีวิต | > 600 รายต่อปี (สหรัฐ) |
โรคลมเหตุร้อน หรือ โรคลมแดด (อังกฤษ: heat stroke, heliosis, siriasis, หรือ sunstroke) เป็นอาการเจ็บป่วยจากความร้อนแบบรุนแรงอย่างหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีอุณหภูมิกายสูงเกิน 40.0 องศาเซลเซียสและมีอาการสับสน อาการอื่น เช่น ผิวหนังแดง ปวดศีรษะและวิงเวียน โดยโรคลมแดดโดยทั่วไปไม่มีเหงื่อ แต่สำหรับโรคลมแดดจากการออกแรงโดยทั่วไปมีเหงื่อ โรคลมแดดอาการอาจเป็นแบบฉับพลันหรือค่อยเป็นค่อยไปก็ได้ โรคนี้มีอันตรายถึงชีวิต เนื่องจากร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกินอย่างรุนแรงและการทำหน้าที่ของหลายอวัยวะผิดปกติเนื่องจากได้รับความร้อน ภาวะแทรกซ้อนอาจมีอาการชัก การสลายของกล้ามเนื้อลายและไตวายได้
โรคลมแดดเกิดจากอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมภายนอกสูงหรือการออกกำลังกายอย่างหนักเกินไป สำหรับผู้ที่มีโรคหรือภาวะประจำตัวบางอย่างจะมีความเสี่ยงสูงกว่าปกติ มักเกิดในผู้ที่ได้รับความร้อนสูงหรือออกแรงเป็นเวลานานซึ่งสามารถป้องกันได้ในบุคคลส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยที่มีกรรมพันธุ์แฝงบางอย่างมีความอ่อนไหวต่อโรคลมแดดมากผิดปกติทำให้เกิดอาการได้แม้ได้รับความร้อนที่ค่อนข้างเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก
วิธีป้องกันโรคลมแดด เช่น การดื่มน้ำให้เพียงพอและการเลี่ยงการสัมผัสความร้อนสูง การรักษาโรคลมแดด ได้แก่ การให้ความเย็นแก่ร่างกายและการรักษาประคับประคอง วิธีที่แนะนำ เช่น การพ่นน้ำใส่และใช้พัดลม การแช่ในน้ำแข็ง หรือให้สารน้ำเย็นทางหลอดเลือดดำ วิธีวางแพ็กน้ำแข็งบนตัวนั้นสมเหตุสมผล
โรคนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 600 คนต่อปีในสหรัฐ ซึ่งอัตรานี้เพิ่มขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1995 ถึง 2015 โรคนี้มีอัตราเสียชีวิตน้อยกว่าร้อยละ 5 ในผู้ป่วยโรคลมแดดจากการออกกำลังกาย และสูงถึงร้อยละ 65 ในผู้ป่วยที่ไม่ได้เกิดจากการออกกำลังกาย
ในภาษาอังกฤษเรียกภาวะนี้ว่า Heat Stroke ซึ่งคำว่า Stroke ในที่นี้เป็นการใช้คำผิดความหมาย โรคนี้ไม่มีความสัมพันธ์กับ โรคหลอดเลือดสมอง (stroke)
แหล่งข้อมูลอื่น
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: โรคลมเหตุร้อน |
- Heat stroke ที่ MedicineNet.com
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |