Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
โรคหลอดเลือดหัวใจ
(Coronary artery disease)
ชื่ออื่น Atherosclerotic heart disease, atherosclerotic vascular disease, coronary heart disease
RCA atherosclerosis.jpg
ภาพ micrograph แสดงหลอดเลือดหัวใจที่มีรูปแบบที่พบบ่อยที่สุดของโรคหลอดเลือดหัวใจ (atherosclerosis) ให้เห็นถึงช่องภายในหลอดเลือดที่แคบลง. เป็นรูปสามสีของ Masson.
สาขาวิชา Cardiology, cardiac surgery
อาการ Chest pain, shortness of breath
ภาวะแทรกซ้อน Heart failure, abnormal heart rhythms, myocardial infarction (heart attack), cardiogenic shock, cardiac arrest
สาเหตุ Atherosclerosis of the arteries of the heart
ปัจจัยเสี่ยง High blood pressure, smoking, diabetes, lack of exercise, obesity, high blood cholesterol
วิธีวินิจฉัย Electrocardiogram, cardiac stress test, coronary computed tomographic angiography, coronary angiogram
การป้องกัน Healthy diet, regular exercise, maintaining a healthy weight, not smoking
การรักษา Percutaneous coronary intervention (PCI), coronary artery bypass surgery (CABG)
ยา Aspirin, beta blockers, nitroglycerin, statins
ความชุก 110 million (2015)
การเสียชีวิต 8.9 million (2015)

โรคหลอดเลือดหัวใจ (อังกฤษ: Coronary artery disease (CAD)) หรือที่เรียกว่าโรคหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง (อังกฤษ: atherosclerotic heart disease หรือ atherosclerotic cardiovascular disease หรือ coronary heart disease) หรือ โรคหัวใจขาดเลือด (อังกฤษ: ischemic heart disease (IHD)) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดของโรคหัวใจ และ สาเหตุของโรคหัวใจล้มเหลว. โรคนี้มีสาเหตุมาจากการสร้างคราบตะกอน (อังกฤษ: plaque) ขึ้นตามผนังด้านในของหลอดเลือดแดงของหัวใจ ทำให้หลอดเลือดแดงแคบลงและลดการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจ.

สาเหตุ

เกิดจากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัว หรือมีไขมันไปเกาะผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากหลอดเลือดแดงตีบแคบมากจนอุดตัน จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้

ความเสี่ยงของหลอดเลือดแดงตีบเพิ่มขึ้นตามอายุ, การสูบบุหรี่, คอเลสเตอรอลในเลือดสูง, โรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, และพบมากในผู้ชายและผู้ที่มีญาติใกล้ชิดกับ CAD. สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ หลอดเลือดหัวใจหดเกร็ง (อังกฤษ: coronary vasospasm), อาการกระตุกของเส้นเลือดของหัวใจ, ปกติมักจะเรียกมันว่าโรคหลอดเลือดหัวใจตีบของ Prinzmetal (อังกฤษ: Prinzmetal's angina).

การวินิจฉัยของโรคหัวใจขาดเลือดสามารถทำได้โดยการวัดหัวใจด้วยคลื่นไฟฟ้า, การทดสอบเลือด (cardiac marker), การทดสอบความเครียดหัวใจหรือภาพรังสีหลอดเลือด (อังกฤษ: coronary angiogram). ขึ้นอยู่กับอาการและความเสี่ยง, การรักษาอาจจะใช้ยา, การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (อังกฤษ: percutaneous coronary intervention) (ศัลยกรรมตกแต่งหลอดเลือด (อังกฤษ: angioplasty)) หรือการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ (อังกฤษ: coronary artery bypass surgery (CABG)).

ณ ปี 2012 โรคนี้เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของการตายในโลก และเป็นสาเหตุสำคัญของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. มีหลักฐานที่จำกัดสำหรับการตรวจคัดกรองประชากร แต่การป้องกัน (ด้วยอาหารสุขภาพและบางครั้งยาสำหรับโรคเบาหวาน, คอเลสเตอรอลและความดันโลหิตสูง) ถูกนำมาใช้ทั้งในการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน

อาการ

ในขณะที่อาการและสัญญาณของโรคหลอดเลือดหัวใจแสดงออกในสภาวะที่ก้าวหน้าแล้วของโรค, บุคคลส่วนใหญ่ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจจะไม่แสดงหลักฐานการเป็นโรคเป็นเวลาหลายสิบปีขณะที่โรคก้าวหน้าไปก่อนที่จะเริ่มมีอาการครั้งแรก, ซึ่งมักจะเป็นโรคหัวใจแบบ "ฉับพลัน" เสียแล้ว. อาการของโรคหัวใจขาดเลือดคงที่จะรวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (อังกฤษ: angina) (อาการเจ็บหน้าอกขณะออกแรง) และความอดทนกับการออกกำลังกายลดลง.

โรคหัวใจขาดเลือด (IHD) ที่ไม่เสถียรจะมีอาการเจ็บหน้าอกหรืออาการอื่นๆในขณะอยู่เฉยๆ, หรือเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่เลวลงอย่างรวดเร็ว. มักแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น เจ็บกลางหน้าอกบริเวณเหนือลิ้นปี่ขึ้นมาเล็กน้อย เจ็บแบบจุกแน่น คล้ายมีอะไรมาบีบหรือกดทับไว้

อาการเจ็บมักลามไปที่คอหรือขากรรไกรหรือไหล่ซ้ายมักเป็นมากขณะออกกำลังกายหรือทำงาน เป็นอยู่นานครั้งละ 2-3 นาที อาการจะดีขึ้นถ้าได้หยุดพัก หรืออมยาขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ บางคนอาจมีอาการจุกแน่นลิ้นปี่เหมือนอาหารไม่ย่อย บางคนอาจมีอาการใจสั่น หอบเหนื่อย ร่วมด้วย

การรักษา

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

ที่ได้รับนิยม มักจะใช้วิธีการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือที่รู้จักกันว่า “การทำบายพาส”

           โดยแพทย์จะใช้เส้นเลือดภายในทรวงอกด้านซ้าย และเส้นเลือดแดงบริเวณแขนซ้าย หรือเส้นเลือดดำบริเวณขา ตั้งแต่ข้อเท้าด้านในจนถึงโคนขาด้านใน  มาเย็บต่อเส้นเลือดเพื่อนำเลือดแดงจากเส้นเลือดแดงใหญ่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ขาดเลือดโดยข้ามผ่านเส้นเลือดส่วนที่ตีบ

“กรณีแพทย์ตัดสินใจทำการผ่าตัด ส่วนใหญ่จะทำเมื่อเส้นเลือดตีบและอุดตันแล้วประมาณ 70% ขึ้นไป แต่หากมีไขมันมาเกาะโดยไม่มีหินปูน และมีอายุ 30-40 ปี อาจรักษาด้วยการทานยาอาจช่วยให้ไขมันลดลง หรือกรณีที่อุดตันเส้นเดียว ก็ทานยา หรือ ใส่ขดลวดบอลลูนได้”

           สำหรับการทำผ่าตัดบายพาสโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันในปัจจุบัน มี 2 วิธี  คือ

การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ โดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (Off-Pump CABG) หรือ แบบ “ไม่ต้องหยุดหัวใจ” การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ แบบต้องใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (On Pump CABG) เพื่อ “หยุด” การทำงานของหัวใจทั้งหมด

เมื่อมีการตรวจโดยแน่ชัดด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การตรวจโดยการเดินออกกำลังกายบนสายพานหรือโดยวิธีการใส่สายสวนหัวใจเข้าทางหลอดเลือดเลือดแดงบริเวณขาหนีบ และฉีดดูตำแหน่งการตีบตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ เป็นต้น แพทย์จะประเมินภาวะความรุนแรงของโรคและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น

  • 1. การใช้ยาขยายหลอดเลือด มีทั้งชนิดอมใต้ลิ้น, ยารับประทาน และให้ทางหลอดเลือดดำ
  • 2. การให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือยาต้านเกล็ดเลือดแข็งตัว เช่น แอสไพริน
  • 3. การให้ยาลดการบีบตัวของหัวใจ เพื่อลดการทำงานของหัวใจ และลดการใช้ออกซิเจน

การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องควบคู่ไปกับการรักษาทางยาส่วนใหญ่มักได้ผลดี แต่ในภาวะรุนแรงหรือไม่ตอบสนองต่อยา แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาโดยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจที่ตีบ หรือผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือด เพื่อให้เลือดเดินทางผ่านจุดที่อุดตัน โดยใช้เส้นเลือดที่บริเวณแขนหรือขา

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

  • 1. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และมาตรวจตามนัดทุกครั้ง
  • 2. รับประทานผัก ผลไม้และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร
  • 3. รับประทานอาหารแต่พออิ่ม และควรพักหลังอาหารประมาณ 1/2-1 ชั่วโมง
  • 4. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการออกกำลังกายที่ดีที่สุด คือการเดิน เริ่มโดยการเดินช้า ๆ ก่อนแล้วค่อยๆ เพิ่มระยะทาง แต่อย่าให้เกินกำลังตนเอง
  • 5. ทำจิตใจให้สงบ หาโอกาสพักผ่อน และหาวิธีลดความเครียด หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตื่นเต้น เช่น การดูเกมการแข่งขันที่เร้าใจ
  • 6. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงและเค็มจัด
  • 7. งดดื่มสุรา น้ำชา กาแฟ และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • 8. หลีกเลี่ยงงานหนัก งานรีบเร่ง และงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องนาน ๆ
  • 9. เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอก ให้หยุดกิจกรรมนั้น ๆ ทันทีและอมยาใต้ลิ้น 1 เม็ด

ถ้าอาการยังไม่ทุเลาลงให้อมยาใต้ลิ้นซ้ำได้อีก 1 เม็ด ห่างกัน 5 นาที แต่ไม่ควรเกิน 3 เม็ด หากอาการไม่ดีขึ้นใน 15-20 นาที ให้รีบไปพบแพทย์ได้ทันที

  • 10. การมีเพศสัมพันธ์ไม่ควนหักโหม ควรอมยาใต้ลิ้นก่อนมีเพศสัมพันธ์ ถ้ามีอาการใจสั่น หายใจขัด หรือเจ็บหน้าอกนานเกิน 15 นาทีหลังมีเพศสัมพันธ์ ควรปรึกษาแพทย์


การป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

  • 1. หลีกเลี่ยงอาหารหวาน อาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวผ่านกรรมวิธี - ทำให้มีการสะสมไขมันในหลอดเลือด ก่อให้เกิดแผ่นคราบไขมันตามมา
  • 2. ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย เช่น ผัก ปลา ผลไม้ และอาหารที่มีกากมาก ๆ เช่น รำข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ฯลฯ
  • 3. ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง นานครั้งละ 20 นาที แล้วค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาและเพิ่มความถี่ในการออกกำลังกาย
  • 4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะในบุหรี่มีสารนิโคตินและสารอื่น ๆ ที่จะทำอันตรายต่อผนังบุด้านในหลอดเลือด การสูบบุหรี่ ยังทำให้หลอดเลือดหัวใจหดตัว
  • 5. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียดกับงานควรทำสมาธิหรือฟังเพลงเบา ๆ
  • 6. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน โดยใช้วิธีออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่ถูกต้อง เช่น งดขนมหวาน , ผลไม้รสหวานจัด เพราะหัวใจของคนอ้วนต้องทำงานมากกว่าปกติ
  • 7. ตรวจเช็คสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่ถ้ามีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเป็น ๆ หาย ๆ ควรปรึกษาแพทย์

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

Новое сообщение