Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

โรคเท้าช้าง

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
โรคเท้าช้าง
(Elephantiasis)
Elephantiasis.jpg
ขาของผู้ป่วยโรคเท้าช้างจากฟิลาริเอสิส (filariasis)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10 B74.0
(ILDS B74.01)
I89
ICD-9 125.9, 457.1
DiseasesDB 4824
eMedicine derm/888
MeSH D004605

โรคเท้าช้าง (อังกฤษ: Elephantiasis) เป็นโรคที่มีลักษณะผิวหนังและเนื้อเยื่อข้างใต้หนาตัวขึ้น โดยเฉพาะบริเวณขาและอวัยวะเพศ ในบางครั้งอาจมีการบวมของอัณฑะ โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค

สาเหตุ

สาเหตุของโรคเท้าช้างมักมาจากหนอนพยาธิ เช่น Wuchereria bancrofti, Brugia malayi, และ B. timori ซึ่งมียุงเป็นพาหะ มักเกิดมากในเขตร้อนเช่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา โดยจะเกิดการอุดกั้นหลอดน้ำเหลือง น้ำเหลืองเกิดการคั่งและทำให้ลำตัวส่วนล่าง รวมทั้งขาและอวัยวะเพศบวม ในปัจจุบันสาเหตุของการอุดกั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเกิดจากตัวพยาธิเองหรือเกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อพยาธิ โรคเท้าช้างจากสาเหตุนี้มักเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ฟิลาริเอสิสของระบบน้ำเหลือง (lymphatic filariasis) เพราะมีสาเหตุมาจากหนอนพยาธิขนาดเล็ก โดยจะมีเฉพาะหนอนพยาธิตัวเต็มวัยเท่านั้นที่อาศัยในระบบน้ำเหลืองของมนุษย์

นอกจากนี้ โรคเท้าช้างอาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากพยาธิ เรียกว่าโรค Nonfilarial elephantiasis หรือ Podoconiosis ซึ่งมีรายงานการพบที่ประเทศยูกันดา แทนซาเนีย เคนยา รวันดา บุรุนดี ซูดาน และเอธิโอเปีย โดยประเทศที่พบโรคนี้มากที่สุดคือประเทศเอธิโอเปีย ซึ่งมีประชากรถึงร้อยละ 6 เป็นโรคนี้ในบริเวณที่มีการระบาด โรคนี้เชื่อว่าเกิดจากการสัมผัสดินที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินเหนียวสีแดง (red clay) ซึ่งอุดมไปด้วยโลหะอัลคาไลน์เช่นโซเดียมและโพแทสเซียม และมาจากหินภูเขาไฟ

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение