Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
โรคเมนิแยร์
โรคเมนิแยร์ (Ménière's disease) | |
---|---|
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | H81.0 |
ICD-9 | 386.0 |
OMIM | 156000 |
DiseasesDB | 8003 |
MedlinePlus | 000702 |
eMedicine | emerg/308 |
MeSH | D008575 |
โรคเมนิแยร์ (อังกฤษ: Ménière's disease) เป็นโรคอย่างหนึ่งของหูชั้นใน ผู้ป่วยจะมีอาการเวียนศีรษะหมุนเป็นระยะๆ ได้ยินเสียงผิดปกติในหู สูญเสียการได้ยิน และหูอื้อได้ ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงข้างเดียวในระยะแรก อาการครั้งหนึ่งมักคงอยู่ประมาณ 20 นาที ไปจนถึง 2-3 ชั่วโมง โดยแต่ละครั้งอาจเป็นนานไม่เท่ากันได้ อาการสูญเสียการได้ยินและอาการได้ยินเสียงผิดปกติในหูอาจเป็นมากขึ้น จนเป็นถาวรได้
สาเหตุของโรคเมนิแยร์ยังไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่าสัมพันธ์กับสาเหตุทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมประกอบกัน บางทฤษฎีเชื่อว่าสาเหตุของโรคสัมพันธ์กับการเกิดหลอดเลือดตีบ การติดเชื้อไวรัส และปฏิกิริยาแพ้ภูมิตนเอง ผู้ป่วย 10% มีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ด้วย อาการของโรคเชื่อว่าเกิดจากการที่มีสารน้ำคั่งกว่าปกติในโพรงเลบิรินท์ของหูชั้นใน การวินิจฉัยทำได้โดยการสัมภาษณ์อาการ การตรวจร่างกาย และการตรวจการได้ยิน โรคอื่นที่อาจทำให้มีอาการคล้ายกันได้แก่อาการเวียนศีรษะจากไมเกรนและภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาใดที่สามารถรักษาโรคเมนิแยร์ให้หายขาดได้ การรักษาจะมุ่งเน้นไปที่การบรรเทาอาการในแต่ละครั้งที่มีอาการกำเริบ ซึ่งทำได้ด้วยการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการเวียนศีรษะ อาการคลื่นไส้ และความกังวล วิธีที่แนะนำไว้ในการป้องกันการเกิดอาการกำเริบมีหลายวิธี แต่ละวิธียังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนว่าได้ผล ผู้ป่วยอาจใช้การลดปริมาณเกลือในอาการ การใช้ยาขับปัสสาวะ หรือยาสเตียรอยด์ได้ภายใต้การแนะนำของแพทย์ การทำกายภาพบำบัดอาจช่วยบรรเทาปัญหาการทรงตัวได้ และการรับคำปรึกษาอาจช่วยลดความกังวลได้ บางครั้งแพทย์อาจแนะนำให้รักษาด้วยการฉีดยาเข้าหูชั้นใน หรือการผ่าตัด หากรักษาด้วยวิธีอื่นๆ แล้วยังไม่ได้ผล แต่วิธีการรักษาเช่นนี้ก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้การวางท่อที่แก้วหูเป็นวิธีรักษาหนึ่งที่ทำกันมาก แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนว่าได้ผล
โรคเมนิแยร์ค้นพบครั้งแรกเมื่อช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ 1800 โดย Prosper Ménière มีความชุก 0.3-1.9 ต่อ 1000 ประชากร ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มมีอาการในช่วงอายุ 40-60 เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย หลังเริ่มมีอาการไปประมาณ 5-15 ปี อาการเวียนศีรษะหมุนมักลดลงจนไม่เป็นอีก คงเหลือเฉพาะอาการทรงตัวลำบากเล็กน้อย สูญเสียการได้ยินปานกลาง และมีเสียงผิดปกติในหู
หูชั้นนอก | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
หูชั้นกลางและโพรงกระดูกกกหู | |||||||||||||||
หูชั้นในและ ทางเดินประสาทส่วนกลาง |
|
||||||||||||||
|