Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

โรคแคงเกอร์

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
โรคแคงเกอร์ในบัตเตอร์นัต (butternut canker) เป็นโรคร้ายแรงของต้นบัตเตอร์นัต ซึ่งไม่มีวิธีรักษา

โรคแคงเกอร์ในพืช, โรคแอนแทรคโนส, โรคจุดดำ หรือ โรคเน่าในพืช (อังกฤษ: canker, anthracnose หรือ black spot) เป็นโรคพืชที่พบเห็นเป็นจุดหรือหย่อมขนาดเล็กของเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว ซึ่งจะขยายตัวอย่างช้า ๆ เกิดบ่อยครั้งและอาจกินเวลาหลายปี โรคแคงเกอร์บางชนิดมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่บางชนิดเป็นอันตรายร้ายแรงอย่างยิ่งแก่พืชให้ยืนต้นตาย ซึ่งอาจมีนัยสำคัญทางเศรษฐกิจต่อการเกษตรพืชสวน สาเหตุของโรคอาจเกิดได้จากจุลินทรีย์ (เชื้อก่อโรคในพืช) หลายประเภท ได้แก่ เชื้อรา แบคทีเรีย มัยโคพลาสมา และไวรัส ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้ส่วนใหญ่มีลักษณะทำให้เกิดโรคกับพืชชนิดหรือสกุลที่เฉพาะเจาะจง เช่น โรคแคงเกอร์ในพืชวงศ์ส้ม (citrus canker) แต่มีน้อยชนิดที่โจมตีพืชชนิดหรือสกุลอื่น สภาพอากาศและสัตว์สามารถช่วยหรือเป็นพาหะการแพร่ระบาดได้ แต่ทั้งนี้เป็นอันตรายต่อพืชให้แพร่ระบาดในพื้นที่เพียงเล็กน้อย

เชื้อก่อโรคแคงเกอร์ในไม้ต้นที่เข้าทำลายเนื้อเยื่อบริเวณลำต้นและกิ่ง มักเข้าทางปากแผลและโดยเฉพาะในช่วงที่พืชอ่อนแอในฤดูหนาวหรือมีความเครียดจากบาดแผลขนาดใหญ่ ค่อย ๆ เติบโตคล้ายเป็นปมไม้ แต่มีสีคล้ำกว่าเปลือกโดยปกติ

แม้ว่าสารฆ่าเชื้อราหรือสารฆ่าเชื้อแบคทีเรียสามารถรักษาโรคแคงเกอร์บางชนิดได้ แต่โดยทั่วไปที่วิธีที่ง่ายและได้ผลคือการทำลายต้นพืชที่ติดเชื้อเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค

ลักษณะอาการ

อาการของโรคแคงเกอร์หรือโรคแอนแทรคโนส ที่ผลเริ่มจากจุดแผลแห้งเล็ก ๆ สีน้ําตาลแล้วค่อย ๆ เข้มขึ้นขยายออกเป็นวงกลมหรือวงรีซ้อนกันเป็นชั้น ๆ อาการของโรคจะเห็นชัดเจนในระยะที่ผลเริ่มสุกเมื่อมีความชื้นสูง จะพบการสร้างกลุ่มของสปอร์สีส้มหรือสีชมพู มีหยดเหลวข้นบริเวณแผลโรคแอนแทรคโนสที่เกิดบนใบ ถ้าเกิดกับใบอ่อนทําให้ใบหงิกงออาการเริ่มจากจุดสีเทาและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เข้มอยู่กระจัดกระจาย เนื้อเยื่อกลางแผลบางและฉีกขาดเป็นรู นอกจากนี้โรคแอนแทรคโนสยังสามารถเข้าทําลายกิ่ง ทําให้เกิดอาการไหม้

ตัวอย่างชนิด

โรคแคงเกอร์ในพืช (ขวา) เกิดจากการบาดเจ็บของเปลือกไม้ซึ่งทำให้เชื้อก่อโรคหรือแมลงเข้าไปติดต้นได้ เปรียบเทียบต้นไม้ที่แข็งแรงและส่วน (ซ้าย)ภาพเล็ก เปรียบเทียบภาพตัดเนื้อไม้แข็งแรง และต้นไม้ที่ติดเชื้อและมีโรคแคงเกอร์ ตามลำดับ
  • โรคแคงเกอร์ในแอปเปิล — เกิดจากรา Neonectria galligena
  • โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลจันทร์ทอง หรือ โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลแอช — ปัจจุบันเข้าใจว่าเกิดจากแบคทีเรีย Pseudomonas savastanoi มากกว่าที่จะเป็นแบคทีเรีย Pseudomonas syringae ซึ่งเป็นชนิดใหม่จากการศึกษา DNA
  • โรคแคงเกอร์ในบัตเตอร์นัต — เกิดจากรา Sirococcus clavigignenti-juglandacearum
  • โรคแคงเกอร์ในเกาลัดม้า (พืชสกุลเดียวกับมะเนียงน้ำ) — เกิดจากแบคทีเรีย Pseudomonas syringae pv. aesculi มีอาการยางแดงไหลคล้ายเลือดออก (bleeding canker)
  • โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลส้ม — เกิดจากแบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis
  • โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลสนไซเพรส (ได้แก่ สนดินสอ) — เกิดจากรา Seiridium cardinale
  • โรคแคงเกอร์ฟองขาวในพืชสกุลก่อ (โอ๊ก) — เกิดจากรา Geosmithia putterillii มีอาการยางสีขาวไหลออกและเป็นฟอง
  • โรคแอนแทรคโนสในด็อกวูด Dogwood anthracnose— เกิดจากรา Discula destructiva
  • โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลองุ่น — เกิดจากรา Eutypa lata ในประเทศไทยมักพบเกิดขึ้นบนผลองุ่น และเรียกโรคผลเน่านี้ว่า "โรคอีบุบ หรือ โรคลุกบุบ"
  • โรคแคงเกอร์ในฮันนีโลคัส — เกิดจากรา Thyronectria austro-americana
  • โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลสนลาร์ช — เกิดจากรา Lachnellula willkommii
  • โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลหม่อน — เกิดจากรา Gibberella baccata
  • โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลก่อ (โอ๊ก) — เกิดจากรา Diplodia quercina
  • โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลสน — เกิดจากรา Fusarium circinatum
  • โรคแอนแทรคโนสในพืชสกุลเพลทเทนุส — เกิดจากรา Apiognomonia veneta
  • โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลป็อปลาร์ — เกิดจากแบคทีเรีย Xanthomonas populi
  • โรคแคงเกอร์ในผักกาดก้านขาว — เกิดจากราดำ Leptosphaeria maculans
  • โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลกุหลาบ — เกิดจากรา Leptosphaeria coniothyrium และ Cryptosporella umbrina
  • โรคแคงเกอร์สคลีโรเดอริสในพืชประเภทสน — เกิดจากรา Gremmeniella abietina
  • โรคแคงเกอร์ตะวันตกเฉียงใต้ — เกิดจากสภาพอากาศ (อากาศเย็นและแสงแดด)
  • โรคแอนแทรคโนสในมะเขือเทศ — เกิดจากรา Colletotrichum coccodes
  • โรคแอนแทรคโนสในพืชสกุลหลิว — เกิดจากรา Marssonina salicicola

การจัดการควบคุม

ไม่มีการรักษาทางเคมีที่มีประสิทธิภาพสำหรับต้นไม้ที่ติดเชื้อโรคแคงเกอร์ อย่างไรก็ตามการตัดกิ่งที่ติดเชื้อออก โดยตัดให้ต่ำกว่าแผลเปื่อย 1 นิ้ว หลังจากการตัดแต่ละครั้ง ให้ฆ่าเชื้อเครื่องมือตัดแต่งกิ่งโดยการแช่น้ำยาฟอกขาว (คลอรีน) หนึ่งส่วนต่อน้ำ 9 ส่วน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายการติดเชื้อไปยังส่วนที่แข็งแรงของต้นไม้ การตัดแต่งกิ่งกิ่งที่ติดเชื้ออาจยืดอายุต้นไม้ได้ แต่ไม่อาจหยุดการติดเชื้อได้ และอาจเป็นการเพิ่มความเครียดให้ต้นไม้นั้น การกำจัดต้นพืชที่มีอาการรุนแรงทิ้ง เช่น ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ยืนต้นตาย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของการติดเชื้อไปยังต้นไม้ที่แข็งแรงรอบข้าง ต้นไม้ที่ไม่ได้รับความเครียดจากความแห้งแล้ง แมลงศัตรูพืช หรือการขาดสารอาหารมักจะมีโอกาสติดเชื้อน้อยกว่า

ดูเพิ่ม


Новое сообщение