Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

โรคไตเรื้อรัง

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
โรคไตเรื้อรัง
(Chronic kidney disease)
ชื่ออื่น Chronic renal disease, kidney failure, impaired kidney function
Peritoneální dialýza.jpg
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรับการรักษาด้วยการชำระเลือดผ่านเยื่อบุช่องท้อง
สาขาวิชา วักกวิทยา
อาการ ระยะแรก: ไม่มีอาการ
ระยะหลัง: ขาบวม, อ่อนเพลีย, อาเจียน, เบื่ออาหาร, สับสน
ภาวะแทรกซ้อน โรคระบบหัวใจหลอดเลือด, ความดันเลือดสูง, โลหิตจาง
ระยะดำเนินโรค ระยะยาว
สาเหตุ เบาหวาน, ความดันเลือดสูง, ไตอักเสบ, โรคไตมีถุงน้ำจำนวนมาก
วิธีวินิจฉัย การตรวจเลือด, การตรวจปัสสาวะ
การรักษา การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต, ใช้ยาปรับความดันเลือด, น้ำตาล, คอเลสเตอรอล, การบำบัดทดแทนไต, การปลูกถ่ายไต
ความชุก 753 ล้านคน (ค.ศ. 2016)
การเสียชีวิต 1.2 ล้านคน (ค.ศ. 2015)

โรคไตเรื้อรังคือภาวะซึ่งค่อย ๆ มีการเสื่อมของการทำงานของไตเป็นเวลานาน อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี ในช่วงแรกมักไม่มีอาการ หรือมีอาการซึ่งไม่มีความจำเพาะ อาจมีอาการเพียงความรู้สึกไม่สบายตัวหรือไม่รู้สึกอยากอาหารได้ ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่ โรคระบบหัวใจหลอดเลือด ความดันเลือดสูง โรคกระดูก และโลหิตจาง

สาเหตุของโรคมีหลายอย่าง ที่สำคัญได้แก่ เบาหวาน ความดันเลือดสูง ไตอักเสบ และโรคไตมีถุงน้ำจำนวนมาก เป็นต้น ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือการมีคนในครอบครัวป่วยโรคไตเรื้อรัง การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจเลือดเพื่อคำนวณหาค่าอัตราการกรองของไตโดยประมาณ และการตรวจหาโปรตีนอัลบูมินในปัสสาวะ ในบางครั้งอาจจำเป็นต้องตรวจอัลตราซาวด์หรือตรวจชิ้นเนื้อไตเพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง โรคนี้มีความรุนแรงได้หลากหลาย โดยมีระบบจัดระดับความรุนแรงของโรคที่ใช้กันแพร่หลายอยู่หลายระบบ

ทางการแพทย์แนะนำให้ผู้มีความเสี่ยงเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคไตโดยไม่ต้องรอให้มีอาการ การรักษาในระยะแรกเริ่มอาจเป็นการใช้ยาลดความดัน ยาเบาหวาน และยาลดไขมันในเลือดหากมีข้อบ่งชี้ โดยส่วนใหญ่แนะนำให้ใช้ยาลดความดันในกลุ่มสารยับยั้งเอซีอีและแองกิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล๊อคเกอร์เป็นกลุ่มแรก เนื่องจากมีผลช่วยชะลอการเสื่อมของไตและลดโอกาสเกิดโรคหัวใจหลอดเลือดได้ อาจต้องใช้ยาขับปัสสาวะชนิดออกฤทธิ์ที่ลูปหากมีอาการบวมน้ำหรือยังควบคุมความดันเลือดไม่ได้ ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ คำแนะนำอื่น ๆ เช่น มีกิจกรรมทางกายที่กระฉับกระเฉงอยู่เสมอ ปรับเปลี่ยนอาหาร เช่น ลดอาหารที่มีโซเดียม กินโปรตีนให้เหมาะสมไม่มากไม่น้อยเกินไป หากมีภาวะแทรกซ้อน เช่น โลหิตจาง หรือโรคกระดูก อาจต้องได้รับการรักษาตามอาการ กรณีเป็นรุนแรงอาจจำเป็นต้องใช้การบำบัดทดแทนไต ได้แก่ การฟอกเลือดทางเส้นเลือด การฟอกเลือดผ่านเยื่อบุช่องท้อง หรือการปลูกถ่ายไต

ข้อมูล ค.ศ. 2016 ระบุว่า ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังราว 753 ล้านคน เป็นผู้ชาย 336 ล้านคน และเป็นผู้หญิง 417 ล้านคน ข้อมูล ค.ศ. 2015 ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคไตเรื้อรัง 1.2 ล้านคน เพิ่มจากข้อมูล ค.ศ. 1990 ที่พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคไตเรื้อรัง 409,000 คน โรคที่พบร่วมกันเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตที่พบมากที่สุดคือความดันเลือดสูง 550,000 คน ตามมาด้วยเบาหวาน 418,000 คน และไตอักเสบ 238,000 คน

แหล่งข้อมูลอื่น


การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

Новое сообщение