Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
โรงพยาบาลสนาม
โรงพยาบาลสนาม (อังกฤษ: field hospital) เป็นโรงพยาบาลชั่วคราวหรือหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ที่ดูแลผู้บาดเจ็บ ณ สถานที่นั้น ก่อนที่จะสามารถเคลื่อนย้ายไปยังสถานพยาบาลถาวรได้อย่างปลอดภัย คำนี้ได้รับการใช้ครั้งแรกในเวชศาสตร์ทหาร (เช่น โรงพยาบาลศัลยกรรมกองทัพบกเคลื่อนที่ หรือ MASH) แต่ได้รับการสืบทอดมาเพื่อใช้ในสถานการณ์พลเรือน เช่น ภัยพิบัติและเหตุการณ์สำคัญ
โรงพยาบาลสนามประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่มีชุดเครื่องมือแพทย์เคลื่อนที่ และมักมีที่พักพิงแบบเต็นท์กว้าง (บางครั้งเป็นโครงสร้างแบบพองได้ในการใช้งานสมัยใหม่) เพื่อให้สามารถจัดตั้งขึ้นได้ง่าย ใกล้กับแหล่งที่มาของการบาดเจ็บล้มตาย ส่วนในสภาพแวดล้อมในเมือง โรงพยาบาลสนามมักตั้งอยู่ในอาคารที่เข้าถึงได้ง่ายและมองเห็นได้ชัดเจน (เช่น คฤหาสน์ขุนนาง, ภัตตาคาร, โรงเรียน และอื่น ๆ) ในกรณีของโครงสร้างที่ส่งโดยทางอากาศ ชุดเครื่องมือแพทย์เคลื่อนที่มักจะได้รับการวางในคอนเทนเนอร์ปกติ ซึ่งคอนเทนเนอร์นั้นถูกใช้เป็นที่กำบัง โรงพยาบาลสนามโดยทั่วไปมีขนาดใหญ่กว่าที่พยาบาลชั่วคราว แต่เล็กกว่าโรงพยาบาลทหารถาวร
ทั้งนี้ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ เช่น อนุสัญญาเจนีวา หมายรวมถึงข้อห้ามในการโจมตีแพทย์, รถพยาบาล, เรือพยาบาล หรือโรงเรือนโรงพยาบาลสนามที่แสดงกาชาด, เสี้ยววงเดือนแดง หรือสัญลักษณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับขบวนกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงนานาชาติ
โรงพยาบาลสนามแบ่งตามประเทศ
ฝรั่งเศส
โรงพยาบาลสนามในประเทศฝรั่งเศสบริหารจัดการโดยซามู (บริการการแพทย์ฉุกเฉินของฝรั่งเศส) ซึ่งใช้ชุดเครื่องมือแพทย์เคลื่อนที่สองประเภท (poste sanitaire mobile หรือ PSM) ได้แก่:
- ชุดเครื่องมือแพทย์เคลื่อนที่ระดับหนึ่ง (PSM1): สามารถรองรับผู้บาดเจ็บหนักได้ 25 รายบนสนามทุกประเภท ซึ่งมีอุปกรณ์และยาประมาณ 400 กก. บรรจุใน 10 ถัง พร้อมอุปกรณ์โลจิสติกส์ (เทรลเลอร์, เต็นท์พอง, อุปกรณ์ติดตั้งการส่องแสงสว่าง, หน่วยกำเนิด) โดยมีชุดเครื่องมือแพทย์เคลื่อนที่ระดับหนึ่ง 42 แห่งในประเทศฝรั่งเศส
- ชุดเครื่องมือแพทย์เคลื่อนที่ระดับสอง (PSM2): สามารถดูแลผู้ป่วยให้ฟื้นคืนได้ 500 คน ซึ่งมีอุปกรณ์และยา 8 ตัน (อ้างอิง 200 รายการ) ในถัง 150 ถัง โดยสามารถแบ่งออกได้ (เป็นไปได้ที่จะจัดตั้งหลายชุดเครื่องมือแพทย์เคลื่อนที่ระดับสองย่อย) นอกจากอุปกรณ์โลจิสติกส์ตามปกติของชุดเครื่องมือแพทย์เคลื่อนที่ระดับหนึ่งแล้ว ชุดเครื่องมือแพทย์เคลื่อนที่ระดับสองยังมีเครือข่ายการกระจายเสียงวิทยุยุทธวิธี และระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการ โดยมีชุดเครื่องมือแพทย์เคลื่อนที่ระดับสอง 21 แห่งในประเทศฝรั่งเศส
ทั้งนี้ ชุดเครื่องมือแพทย์เคลื่อนที่ดังกล่าวได้รับการเก็บไว้ในโรงพยาบาลที่มีบริการช่วยเหลือทางการแพทย์อย่างเร่งด่วน ตลอดจนบริการฉุกเฉินและช่วยชีวิตเคลื่อนที่
เปแอมอาจัดเป็นสี่โซน ได้แก่:
- โซนรับและตรวจร่างกาย ภายใต้ความรับผิดชอบของแพทย์คัดแยก; ผู้บาดเจ็บจะได้รับการคัดแยก และจัดส่งตามความสาหัสของอาการ;
- สองโซนสำหรับการรักษาพยาบาล ได้แก่:
- โซนฉุกเฉินแน่นอน (UA: urgences absolues): หน่วยกู้ชีพก่อนถึงโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่สาหัสมาก ได้แก่: เหตุฉุกเฉินที่ร้ายแรงมาก (EU: extrème urgence) และการบาดเจ็บหนัก (U1);
- โซนฉุกเฉินโดยอนุโลม (UR: urgences relatives): สำหรับผู้ป่วยสาหัส (U2) และบาดเจ็บเล็กน้อย (U3)
- โซนเก็บศพ (dépot mortuaire) สำหรับผู้เสียชีวิต โซนนี้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของตำรวจศาล
ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่จริง ๆ อาจมีหลายเปแอมอา โดยการอพยพไม่ได้ไปที่โรงพยาบาลโดยตรง แต่ไปที่โรงพยาบาลสนามขนาดใหญ่อีกแห่งที่เรียกว่า "ศูนย์การส่งกลับสายแพทย์" (centre médical d'évacuation, CME) เพื่อหลีกเลี่ยงการล้นโรงพยาบาล
ในกรณีของแผนแดง เปแอมอาอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของแพทย์ที่ได้รับเลือกจากผู้อำนวยการหน่วยกู้ภัยทางการแพทย์ (DSM) และเขาจะได้รับความช่วยเหลือจากนักผจญเพลิงที่ได้รับเลือกจากผู้บัญชาการปฏิบัติการกู้ภัย (COS) โดยนักผจญเพลิงมีหน้าที่ในการระบุผู้บาดเจ็บและงานเลขานุการ ซึ่งเป้าหมายของเปแอมอาคือการเรียงลำดับและรักษาเสถียรภาพของผู้บาดเจ็บก่อนจะส่งไปยังโรงพยาบาล
ระบบที่คล้ายคลึงกันสามารถกำหนดเป็นมาตรการป้องกันสำหรับงานใหญ่ ๆ บางอย่างได้ (การแข่งกีฬา, งานวัฒนธรรม, คอนเสิร์ต...) แต่จัดการโดยสมาคมการปฐมพยาบาล โดยเรียกว่า "สถานพยาบาลที่เชื่อมโยง" (poste associatif médicalisé, PAM) (สำหรับการจัดงานเล็ก ๆ น้อย ๆ จะมีการจัดตั้งจุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยมีเพียงอาสาสมัครผู้เผชิญเหตุคนแรกที่ผ่านการรับรอง และไม่มีเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ที่ได้จัดเตรียม)
ส่วนหน่วยทหารป้องกันพลเรือน (Unité d'instruction et d'intervention de la sécurité civile, UIISC) มีโรงพยาบาลสนามส่งทางอากาศ ระบบทั่วไปเรียกว่าดีกา (détachement d'intervention de catastrophe aéroporté คือหน่วยบรรเทาภัยพิบัติส่งทางอากาศ) และเชี่ยวชาญด้ายการค้นหาและกู้ภัย รวมถึงเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ซึ่งสามารถเสริมได้โดยหน่วยแพทย์ป้องกันพลเรือนเคลื่อนที่เร็ว ที่เรียกว่าแอ็สกรีม (élément de sécurité civile rapide d'intervention médicale) แอ็สกรีมนั้นเป็นหน่วยผ่าตัด (detachement d'appui chirurgical) ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยช่วยเหลือทางการแพทย์ (DAMHo, détachement d'appui médical et d'hospitalisation) โดยหน่วยหลังมีความเชี่ยวชาญในการดูแลก่อนและหลังการผ่าตัด และอนุญาตให้รักษาตัวในโรงพยาบาล 48 ชั่วโมง หน่วยทหารป้องกันพลเรือนยังมีเปแอมอา (คือโครงสร้างการแยกกลุ่ม, การรักษาเสถียรภาพ และการอพยพ) เมื่อโครงสร้างพื้นฐานโรงพยาบาลของประเทศเพียงพอแล้ว
นามิเบีย
กองทัพนามิเบียดำเนินการโรงพยาบาลสนามเคลื่อนที่ผ่านคณะกรรมการบริการสุขภาพกลาโหม โดยรัฐบาลเยอรมันได้บริจาคให้นามิเบียในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2013 เดิมเป็นโรงพยาบาลระดับสองขององค์การสหประชาชาติแต่ตอนนี้ได้รับการอัปเกรดเป็นระดับหนึ่ง โรงพยาบาลสนามบรรจุในเต็นท์ สามารถรองรับผู้ป่วยนอกได้สี่สิบคนต่อวัน และสามารถรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลสนามได้ยี่สิบคน โดยมีหน่วยอภิบาลสองหน่วย, ห้องปฏิบัติการ, หน่วยรังสีเอกซ์ และเครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา ส่วนแผนกทันตกรรมสามารถรักษาได้ 20 คนต่อวันและสามารถดำเนินการได้สี่ครั้งต่อวัน โดยมีปีกอาคารที่สนับสนุนด้านโลจิสติกส์เคลื่อนที่ของตัวเอง ซึ่งประกอบด้วยห้องครัว, เครื่องกรองน้ำ, ถังเก็บน้ำ, โถส้วมและฝักบัว, เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการทิ้งน้ำเสียและของเสีย
ในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19 ได้มีการส่งโรงพยาบาลดังกล่าวไปยังท่าอากาศยานนานาชาติโฮเซอา คูทาโก เพื่อช่วยการตอบสนองของประเทศ
สหรัฐ
ในกรมแพทย์ของกองทัพบกสหรัฐ คำว่า "โรงพยาบาลสนาม" ถูกใช้เป็นคำทั่วไปสำหรับสถานพยาบาลที่ปรับใช้ได้ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ ค.ศ. 1906 จนถึงปัจจุบัน กรมได้จัดให้มีหน่วยงานเฉพาะที่เรียกว่า "โรงพยาบาลสนาม" โดยมีการหยุดชะงักเล็กน้อย หน่วยติดเลขเหล่านี้ เช่น โรงพยาบาลสนามที่ 10 มีตารางการจัดสถานประกอบการและอุปกรณ์, ขีดความสามารถ และหลักนิยมเฉพาะสำหรับกิจกรรม ซึ่งทั้งหมดจะแตกต่างกันไปตามช่วงเวลา ผู้อ่านควรระมัดระวังไม่ให้สับสนระหว่างโรงพยาบาลสนามอเมริกันทั่วไปกับโรงพยาบาลสนามที่ XX ที่มีหมายเลขเฉพาะ เนื่องจากทั้งสองไม่สามารถใช้แทนกันได้ ทั้งนี้ โรงพยาบาลอพยพ, โรงพยาบาลศัลยกรรมกองทัพบกเคลื่อนที่ (MASH), โรงพยาบาลสนับสนุนการรบ (CSH), โรงพยาบาลสนาม และโรงพยาบาลทั่วไปที่มีหมายเลขเป็นโรงพยาบาลสนามทั้งหมด—แต่โรงพยาบาลศัลยกรรมกองทัพบกเคลื่อนที่, โรงพยาบาลสนับสนุนการรบ, โรงพยาบาลทั่วไป หรือโรงพยาบาลสนามจะใช้แทนกันได้
สวิตเซอร์แลนด์
ในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19 กองทัพสวิสได้ระดมกำลังเพื่อสนับสนุนโรงพยาบาลพลเรือนในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมาตรการที่คล้ายกันได้รับการนำมาใช้ในประเทศอื่น ๆ
ดูเพิ่ม
- บทความนี้รวมเอางานสาธารณสมบัติจากเว็บไซต์หรือเอกสารของ United States Army "Portable Surgical Hospitals" โดย John T. Greenwood
อ่านเพิ่ม
- Clouston, Ann (2018). Centenary History of 201 Field Hospital. The Memoir Club.
แหล่งข้อมูลอื่น
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โรงพยาบาลสนาม
- The Nurses of the 51st Evac Hospital In WWII เก็บถาวร 2006-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Supplier of field hospitals to the US Army
- Utilis SAS, Designer and Supplier of field hospitals
- SMU's Frank J. Davis World War II Photographs