Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีล

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีล
โรงไฟฟ้าเชียร์โนบีล เมื่อปี พ.ศ. 2556 ในช่วงที่มีการสร้างโดมปิดกั้นรังสี
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีลตั้งอยู่ในประเทศยูเครน
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีล
พิกัดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีล
ที่ตั้ง ปริปยัต
พิกัด 51°23′23.47″N 30°5′38.57″E / 51.3898528°N 30.0940472°E / 51.3898528; 30.0940472พิกัดภูมิศาสตร์: 51°23′23.47″N 30°5′38.57″E / 51.3898528°N 30.0940472°E / 51.3898528; 30.0940472
สถานะ ไม่ใช้แล้ว
เริ่มสร้าง 15 สิงหาคม 1972
ประจำการ 1977
ปลดประจำการ 2000
เจ้าของ รัฐบาลยูเครน
ดำเนินการ State Agency in Administration of Exclusion Zone
เว็บไซต์
www.chnpp.gov.ua (ยูเครน)
www.chnpp.gov.ua/eng/ (อังกฤษ)
Reactor status:
  • เตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 ไม่ได้ใช้การ
  • เตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 ไม่ได้ใช้การ
  • เตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 ไม่ได้ใช้การ
  • เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 หลอมละลายและเกิดระเบิด ในระหว่างภัยพิบัติเชียร์โนบีล
  • เตาปฏิกรณ์หมายเลข 5 ยังก่อสร้างไม่เสร็จ
  • เตาปฏิกรณ์หมายเลข 6 ยังก่อสร้างไม่เสร็จ

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีล (ยูเครน: Державне спецiалiзоване пiдприємство "Чорнобильська АЕС", รัสเซีย: Чернобыльская АЭС) เป็นสถานีไฟฟ้านิวเคลียร์ปลดประจำการแล้วใกล้กับนครปรือปิยัจ (Pripyat) ประเทศยูเครน ห่างจากนครเชียร์โนบีลไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 18 กิโลเมตร ห่างจากชายแดนยูเครน-เบลารุส 16 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเคียฟไปทางเหนือราว 110 กิโลเมตร เครื่องปฏิกรณ์ที่ 4 เป็นจุดเกิดภัยพิบัติเชียร์โนบีลเมื่อ พ.ศ. 2529

สถานีไฟฟ้าวี.ไอ. เลนิน (รัสเซีย: Чернобыльская АЭС им. В.И.Ленина) ตามที่รู้จักกันในสมัยโซเวียต ประกอบด้วยเครื่องปฏิกรณ์ประเภทอาร์บีเอ็มเค-1000 สี่เครื่อง แต่ละเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 1,000 เมกะวัตต์ (พลังงานความร้อน 3.2 จิกะวัตต์) และเครื่องปฏิกรณ์ทั้งสี่เครื่องรวมกันผลิตกระแสไฟฟ้า 10% ของยูเครนในช่วงที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น ก่อสร้างขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2513 เป็นสถานีไฟฟ้านิวเคลียร์ประเภทอาร์เอ็มบีเคแห่งที่สามในสหภาพโซเวียต (หลังเลนินกราดและเคิสก์) และเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกบนแผ่นดินยูเครน

โรงไฟฟ้าเชียร์โนบิล มองจากอาคารหลังหนึ่งในเมืองปรือปิยัจ

วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2529 เกิดภัยพิบัติขึ้นที่เครื่องปฏิกรณ์ที่ 4 ซึ่งถูกขนานนามอย่างกว้างขวางว่าเป็นอุบัติเหตุครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์พลังงานนิวเคลียร์ ผลคือเครื่องปฏิกรณ์ที่ 4 ถูกทำลายลงสิ้นเชิง และนับแต่นั้นได้ถูกปิดผนึกในโลงหินและคอนกรีตเพื่อป้องกันการรั่วไหลของกัมมันตรังสีเพิ่มเติม พื้นที่ขนาดใหญ่ในยุโรปได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ เมฆรังสีแผ่ไปไกลถึงนอร์เวย์ในสแกนดิเนเวีย

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение