Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

โฮลี

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
ผู้เข้าร่วมเทศกาลในสหรัฐ
ผงสี

โฮลี (อังกฤษ: Holi; ฮินดี: होली; เนปาล: होली; ปัญจาบ: ਹੋਲੀ; สินธ์: هولي) คำว่า "โฮลี" หมายถึง "การส่งท้ายปีเก่า" เป็นเทศกาลฉลองรื่นเริงที่มีพื้นเพมาจากความเชื่อในศาสนาฮินดูในช่วงฤดูใบไม้ผลิ โดยชาวฮินดูจะออกมาเล่นสาดสีใส่กัน

โฮลีจัดขึ้น 2 วันในช่วงเดือนมีนาคม (แรม 1 ค่ำ เดือน 4) เทศกาลนี้เรียกอีกอย่างว่า "เทศกาลแห่งสีสัน" เนื่องจากผู้คนจะออกมาเฉลิมฉลองด้วยการสาดสีหรือป้ายสี ซึ่งเป็นฝุ่นผงใส่กัน ด้วยสีสันต่าง ๆ อย่างสนุกสนาน ซึ่งการสาดสีใส่กันนี้สันนิษฐานว่า เป็นพื้นเพที่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับมา และปรับเปลี่ยนเป็นการสาดน้ำใส่กันแทน คือ สงกรานต์

ฝุ่นผงสีที่ใช้สาดกันนั้นจะทำมาจากธรรมชาติ เช่น ดอกทองกวาว, บีทรูท, ขมิ้น อันเป็นนัยที่บ่งบอกถึงการสิ้นสุดของฤดูหนาวและเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ มีขนมที่ทำเพื่อรับประทานโดยเฉพาะในเทศกาลนี้ ที่ทำมาจากนมและนมเปรี้ยวเป็นหลัก เชื่อกันว่าหากได้รับประทานขนมด้วยจิตใจเบิกบานจะเป็นนิมิตรหมายที่ดีของการเริ่มต้นปีใหม่

การสาดสีใส่กันนั้น เชื่อว่า เป็นการปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย มีปกรณัมมากมายเกี่ยวกับที่มาของเทศกาลนี้ แต่ที่เชื่อกันมากที่สุด คือ การเฉลิมฉลองที่พระวิษณุ หนึ่งในตรีมูรติ เอาชนะนางมารโฮลิกะ ซึ่งเป็นน้องสาวของหิรัณยกศิปุ ที่ดูหมิ่นผู้ที่นับถือพระองค์ ทำให้นางมารถูกไฟแผดเผาจนมอดไหม้ วันก่อนการสาดสีจะมีการก่อกองไฟเพื่อชำระล้างสิ่งไม่ดีไปจากจิตใจ

การสาดสีจะเล่นกันเฉพาะช่วงเช้าจนถึงเที่ยงวันเท่านั้น จากนั้น ผู้คนก็จะแยกย้ายไปพักผ่อน เมื่อตกเย็นจะออกมาพบปะสังสรรค์กัน แจกขนมหวานและสวมกอดกัน เทศกาลโฮลีจึงถือเป็นเทศกาลแห่งมิตรภาพ มิตรสหายได้แสดงไมตรีเข้าสวมกอดกัน ผู้ที่เคยขัดแย้งกันก็จะได้ปรับความเข้าใจกัน

โฮลีมักจัดในประเทศอินเดียและเนปาลเป็นหลัก แต่ยังมีการเฉลิมฉลองโดยชาวฮินดูกลุ่มน้อยในบังกลาเทศและปากีสถานด้วย เช่นเดียวกับประเทศที่มีประชากรเชื้อสายอินเดียพลัดถิ่นขนาดใหญ่ที่นับถือศาสนาฮินดู เช่น ซูรินาม มาเลเซีย กายอานา แอฟริกาใต้ ตรินิแดดและโตเบโก สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา มอริเชียส ฟิจิ และไทย

แหล่งข้อมูลอื่น



Новое сообщение