Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

กรดเอลลาจิก

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
กรดเอลลาจิก
Ellagic acid.svg
Ellagic acid 3D spacefill.png
ชื่อตาม IUPAC 2,3,7,8-เตตระไฮดรอกซี-โครเมโน[5,4,3-cde]โครมีน-5,10-ไดโอน
ชื่ออื่น 4,4′,5,5′,6,6′-กรดเฮกซะไฮดรอกซีไดฟีนิก 2,6,2′,6′-ไดแล็กโทน
เลขทะเบียน
เลขทะเบียน CAS [476-66-4][CAS]
PubChem 5281855
DrugBank DB08468
KEGG C10788
ChEBI 4775
SMILES
 
InChI
 
ChemSpider ID 4445149
คุณสมบัติ
สูตรเคมี C14H6O8
มวลต่อหนึ่งโมล 302.197 g/mol
ความหนาแน่น 1.67 g/cm3
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
สถานีย่อย:เคมี

กรดเอลลาจิก (อังกฤษ: ellagic acid) เป็นสารฟีนอลธรรมชาติและเป็นสารไดแล็กโทนของกรดเฮกซะไฮดรอกซีไดฟีนิก พืชสังเคราะห์กรดเอลลาจิกจากกระบวนการไฮโดรไลซิสสารกลุ่มแทนนิน เช่น เอลลาจิแทนนิน และเจรานิอิน ร่างกายมนุษย์สามารถย่อยสลายกรดเอลลาจิกได้ผ่านยูโรลิทิน

กรดเอลลาจิกถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1831 โดยอ็องรี บราคอนโน นักเคมีชาวฝรั่งเศส ต่อมาในปี ค.ศ. 1905 มักซีมีเลียน นีเรนสไตน์เตรียมสารนี้ได้จากพืชหลายชนิด เช่น ทับทิม สมอไทยและเปลือกต้นโอ๊คยูเลียส นิวบรอนเนอร์เป็นบุคคลแรกที่สังเคราะห์กรดเอลลาจิกจากการให้ความร้อนกรดแกลลิกกับกรดอาร์เซนิกหรือซิลเวอร์ออกไซด์

กรดเอลลาจิกพบในพืชหลายชนิดเช่น Myriophyllum spicatum เห็ดราชนิด Phellinus linteus และพืชสกุลโอ๊ค เช่น Quercus alba และ Quercus robur ในอาหาร พบมากในแบล็กเบอร์รี แครนเบอร์รี พีแคน ทับทิม แรสเบอร์รี สตรอว์เบอร์รี วอลนัต เก๋ากี่ องุ่นและลูกท้อ

กรดเอลลาจิกมีฤทธิ์ต้านการแบ่งตัวของเซลล์ที่ก่อมะเร็งและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดภาวะเครียดออกซิเดชัน และวางขายในรูปของอาหารเสริมที่มีคุณสมบัติต้านมะเร็งและโรคหัวใจ อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ประกาศว่าการโฆษณาว่ากรดเอลลาจิกสามารถรักษาโรคมะเร็งได้นั้นเป็นการละเมิดกฎหมาย

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение