Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
กลุ่มอาการโชเกรน
กลุ่มอาการโชเกรน | |
---|---|
ชื่ออื่น | Sjögren's syndrome, sicca syndrome |
ภาพจากกล้องจุลทรรศน์แสดงการแทรกซึมของลิมฟอยด์เฉพาะจุดในต่อมน้ำลายน้อย ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการโชเกรน | |
การออกเสียง |
|
สาขาวิชา | วิทยาภูมิคุ้มกัน, วิทยารูมาติก |
อาการ | ปากแห้ง, ตาแห้ง, ภาวะแห้งในอวัยวะอื่น |
ภาวะแทรกซ้อน | มะเร็งต่อมน้ำเหลือง |
การตั้งต้น | วัยกลางคน |
ระยะดำเนินโรค | ระยะยาว |
สาเหตุ | โรคภูมิต้านตนเอง (ไม่ทราบสาเหตุ) |
วิธีวินิจฉัย | การตัดเนื้อออกตรวจ, การตรวจเลือด |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | ผลเคียงข้างจากยา, ความวิตกกังวล, โรคซาร์คอยด์, โรคแอมิลอยด์ |
การรักษา | น้ำตาเทียม, ยาแก้อักเสบ, การผ่าตัด |
พยากรณ์โรค | การคาดหมายคงชีพปกติ |
ความชุก | ~0.7% |
กลุ่มอาการโชเกรน (อังกฤษ: Sjögren syndrome, Sjögren's syndrome; ย่อ SjS, SS) เป็นโรคภูมิต้านตนเองระยะยาวที่ส่งผลต่ออวัยวะผลิตของเหลวในร่างกายอย่างต่อมน้ำตาและต่อมน้ำลาย กลุ่มอาการโชเกรนยังส่งผลกระทบร้ายแรงต่ออวัยวะอื่น เช่น ปอด ไตและระบบประสาท อาการหลัก ได้แก่ ปากแห้ง ตาแห้ง เจ็บปวดและล้า อาการอื่นรวมถึงผิวแห้ง ช่องคลอดแห้ง ไอเรื้อรัง ชาที่แขนและขา รู้สึกเหนื่อย ปวดกล้ามเนื้อและข้อ และต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยกลุ่มอาการโชเกรนมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมากขึ้น 15%
ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของกลุ่มอาการโชเกรน แต่คาดว่าเป็นกรรมพันธุ์ร่วมกับสิ่งกระตุ้นทางสิ่งแวดล้อมอย่างการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย กลุ่มอาการโชเกรนสามารถเกิดเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพอื่น (กลุ่มอาการโชเกรนปฐมภูมิ) หรือเป็นผลจากโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (กลุ่มอาการโชเกรนทุติยภูมิ) กลุ่มอาการโชเกรนอาจเกี่ยวข้องกับโรคภูมิต้านตนเองอื่น ๆ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (RA) ลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง (SLE) และโรคหนังแข็งทั่วร่าง การวินิจฉัยใช้การเก็บตัวอย่างต่อมน้ำลายเพื่อหาลิมโฟไซต์และการตรวจเลือดเพื่อหาสารภูมิต้านทาน
แม้กลุ่มอาการโชเกรนจะเป็นหนึ่งในโรคภูมิต้านตนเองที่พบได้ทั่วไป แต่ยังไม่มีการตรวจวินิจฉัยโรคแบบไม่ล่วงล้ำที่เฉพาะเจาะจง การรักษาเป็นการจัดการกับอาการผู้ป่วย เช่น การใช้น้ำตาเทียมหรือผ่าตัดอุดท่อน้ำตาเพื่อลดการอักเสบจากตาแห้ง การเคี้ยวหมากฝรั่ง (โดยเฉพาะชนิดไม่มีน้ำตาล) การจิบน้ำหรือใช้สารทดแทนน้ำลายในการบรรเทาอาการปากแห้ง อาจมีการหยุดใช้สารต้านฮิสตามีนซึ่งก่อให้เกิดภาวะแห้ง
เฮนริก โชเกรน จักษุแพทย์ชาวสวีเดนอธิบายโรคนี้ในปี ค.ศ. 1933 อย่างไรก็ตามยัน มิคุลิช-ราเดกคี ศัลยแพทย์ชาวเยอรมัน–โปแลนด์บรรยายถึงอาการผู้ป่วยก่อนหน้านี้ในปี ค.ศ. 1892 ประชากรประมาณ 0.2–1.2% ป่วยเป็นกลุ่มอาการโชเกรน โดยครึ่งหนึ่งเป็นแบบปฐมภูมิ อีกครึ่งหนึ่งเป็นแบบทุติยภูมิ กลุ่มอาการโชเกรนพบได้ทั่วไปในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 10 เท่า อาการมักแสดงในช่วงวัยกลางคน ผู้ป่วยกลุ่มอาการโชเกรนมีการคาดหมายคงชีพปกติ
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: กลุ่มอาการโชเกรน |
Type I/allergy/atopy (IgE) |
|
||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Type II/ADCC (IgM, IgG) |
|
||||||||
Type III (Immune complex) |
|
||||||||
Type IV/cell-mediated (T-cells) |
|
||||||||
Unknown/ multiple |
|
||||||||
|