Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
การขายไตในประเทศอิหร่าน
การค้าขายไตมนุษย์เพื่อแลกกับผลประโยชน์ทางธุรกิจในประเทศอิหร่านเป็นเรื่องถูกกฎหมายและมีการควบคุมโดยรัฐบาล ปีหนึ่ง ๆ มีชาวอิหร่านราว 1400 คนที่ขายไตข้างหนึ่งให้กับผู้รับที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ปัจจุบัน อิหร่านเป็นประเทศเดียวบนโลกที่อนุญาตให้มีการขายไตของตนโดยแลกกับค่าตอบแทน อิหร่านจึงเป็นประเทศไม่ประสบปัญหาการต้องรอเป็นเวลานานเพื่อรับการบริจาคไตเพื่อปลูกถ่าย
ภูมิหลัง
การปลูกถ่ายไตครั้งแรกในภูมิภาคตะวันออกกลางมีขึ้นในอิหร่านเมื่อปี 1967 และเริ่มเป็นหัตถการที่พบได้ไม่ยากในราวกลางทศวรรษ 1980s อิหร่านยินยอมให้มีการนำไตมาปลูกถ่ายจากทั้งร่างของผู้เสียชีวิตที่มีเจตจำนงบริจาคร่างกายและผู้บริจาคอวัยวะเพื่อแลกกับค่าตอบแทน ปัจจุบันมีการประมาณว่าราว 13 เปอร์เซ็นต์ของการบริจาคไตมรจากร่างผู้เสียชีวิต ลดลงจากก่อนกฎหมายอนุญาตให้มีการค้าไตจะผ่านในปี 2000 ซึ่งมีการพึ่งพาไตจากร่างผู้บริจาคที่เสียชีวิตแล้วอยู่ที่เกือบ 99 เปอร์เซ็นต์ ผู้สนับสนุนรายใหญ่ของตลาดอย่างสถาบันแคโต อ้างว่านับตั้งแต่มีการนำเสนอแรงจูงใจทางธุรกิจเข้ามาในตลาดค้าไต อิหร่านสามารถกำจัดการรอคิวรับบริจาคไตเพื่อปลูกถ่ายได้ภายในปี 1999 อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบโดยละเอียดจะพบว่าชาวอิหร่านจำนวนมากที่ป่วยด้วยโรคไตระยะสุดท้ายไม่ได้รับการวินิจฉัย ไม่ได้รับการส่งไปเพื่อรับการฟอกไต และฉะนั้นจึงไม่มีสิทธิ์รับการปบูกถ่ายไตตั้งแต่แรก แอแฮด ฆอดส์ (Ahad Ghods) จากโรงพยาบาลไตแฮเชมี เนแญด (Hashemi Nejad Kidney Hospital) ระบุว่า "นี่เป็นสาเหตุหลักว่าทำไมอิหร่านจึงประสบความสำเร็จในการกำจัดการรอคิวปลูกถ่ายไตได้อย่างรวดเร็ว"
การควบคุม
การค้าและซื้อไตนั้นดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่แบะองค์กรเพื่อการกุศล โดยมีผู้รับไตและรัฐบาลจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้บริจาคไต รวมถึงมีองค์กรการกุศลอื่น ๆ ที่คอยอุดหนุนค่าใช้จ่ายให้กับผู้ต้องปลูกถ่ายไตแต่ขาดทุนทรัพย์
องค์การการกุศลเพื่อการสนับสนุนผู้ป่วยไต (Charity Association for the Support of Kidney Patients; CASKP) และ มูลนิธิการกุศลเพื่อโรคพิเศษ (CFSD) ภายใต้กระทรวงสาธารณสุขและแพทยศาสตร์ศึกษาเป็นผู้ควบคุมการค้าขายใตภายใน้การสนับสนุนของรัฐบาล โดยมีองค์กรทั้งสองเป็นผู้จับคู่ผู้ให้กับผู้รับ จัดการตรวจสอบทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อป้องกันไม่ให้มีความไม่โปร่งใสหรือการฉ้อโกงเกิดขึ้น รัฐบังมีมาตรการ “ไม่ให้สถานปลูกถ่ายหรือแพทย์ผู้ทำการปลูกถ่ายเลือกผู้บริจาคไต” ค่าตอบแทนของการบริจาคไตในอิหร่านแตกต่างกันไปตามสถานการณ์ โดยทั่วไปอยู่ที่ 2,000 ถึง 4,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 60,000 ถึง 120,000 บาท) ต่อการค้าไตหนึ่งข้าง ในทางกลับกัน ไตหนึ่งข้างที่ค้าขายในตลาดมืดระดับโลก อาจราคาสูงได้ถึง 160,000 ดอลลาร์สหรัฐ (4,800,000 บาท) ในบางกรณี
มุมมองในศาสนาอิสลาม
ในปี 1996 สถาบันนิติศาสตร์มุสลิมแห่งสหราชอาณาจักรเคยออกฟัตวาอนุญาตให้มีการปลูกถ่ายอวัยวะได้ ในฐานะการบริจาคเพื่อช่วยชีวิตผู้อื่น ไม่ใช่เพื่อการค้าขาย