Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
การควบคุมแบบอัลโลสเตอริก
ในทางชีวเคมี การควบคุมแบบอัลโลสเตอริก (อังกฤษ: allosteric regulation หรือ allosteric control) เป็นการควบคุมเอนไซม์ผ่านการติดโมเลกุลเอฟเฟกเตอร์ (effector) บนตำแหน่งอื่นที่นอกเหนือจากตำแหน่งกัมมันต์ (active site) ตำแหน่งที่ซึ่งเอฟเฟกเตอร์เข้าติดนั้นมีชื่อเรียกว่า ตำแหน่งอัลโลสเตอริก (allosteric site) หรือ ตำแหน่งควบคุม (regulatory site) ตำแหน่งอัลโลสเตอริกจะยินยอมให้เอฟเฟกเตอร์สามารเข้ายึดติดกับโปรตีนได้ ซึ่งมักส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของโปรตีน (conformational change) ซึ่งรสมถึงพลวัตของโปรตีน (protein dynamics) ด้วย เอฟเฟกเตอร์ที่ช่วยส่งเสริม (enhance) การทำงานของโปรตีนนั้นเรียกว่า ตัวกระตุ้นอัลโลสเตอริก (allosteric activators) ในขณะที่เอฟเฟกเตอร์ที่ลดทอนการทำงานของโปรตีนลงเรียกว่า ตัวยับยั้งอัลโลสเตอริก (allosteric inhibitors)
การควบคุมแบบอัลโลสเตอริกนั้นเป็นตัวอย่างในธรรมชาติของวงจรการควบคุม (control loops) เช่น การฟีดแบ็คในชีววิทยา (feedback) จากผลิตภัณฑ์ท้าย ๆ (downstream products) หรือการ ฟีดฟอร์เวิร์ด (feedforward) จากสารตั้งต้นแรก ๆ (upstream substrates) อัลโลสตอรีระยะไกล (Long-range allostery) นั้นจำเป็นยิ่งยวดในการส่งสัญญาณเซลล์
คำว่าอัลโลสเตอรี (allostery: รูปนามของอัลโลสเตอริก allosteric) นั้นมากจากภาษากรีก allos (ἄλλος), "อื่น" รวมกับ stereos (στερεὀς), "ของแข็ง (วัตถุ)"
ดูเพิ่ม
- ASD database
- Competitive inhibition
- Cooperative binding
- จลนพลศาสตร์ของเอนไซม์ (Enzyme kinetics)
- พลวัตของโปรตีน (Protein dynamics)
- ทฤษฎีรีเซปเตอร์ (Receptor theory)
แหล่งข้อมูลอื่น
- Instant insight introducing a classification system for protein allostery mechanisms from the Royal Society of Chemistry
การทำงาน | |
---|---|
การควบคุม | |
การจำแนก | |
จลศาสตร์ | |
ประเภท |
|