Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
การฆ่าทารกหญิงในประเทศจีน
จีนมีประวัติศาสตร์ของการฆ่าทารกหญิงเป็นระยะเวลากว่า 2,000 ปี เมื่อมิชชันนารีคริสต์ศาสนาเดินทางถึงจีนในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 พวกเขาเห็นทารกเพิ่งเกิดถูกโยนลงแม่น้ำหรือกองขยะ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 มัตเตโอ ริชชีบันทึกถึงว่ามีการปฏิบัติดังกล่าวเกิดขึ้นในหลายมณฑลของจีน ซึ่งเหตุผลหลักมาจากความยากจน การปฏิบัติเช่นนี้ยังดำเนินต่อมาจนถึงช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และลดลงเป็นอย่างมากในยุคคอมมิวนิสต์ แต่กลับมาเป็นประเด็นอีกครั้งจากการใช้นโยบายลูกคนเดียวในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 สำมะโนใน ค.ศ. 1990 แสดงให้เห็นถึงอัตราส่วนโดยรวมของชายต่อหญิงอยู่ที่ 1.066 ขณะที่อัตราส่วนปกติของทุกช่วงอายุควรต่ำกว่า 1.02
ประวัติศาสตร์
คริสต์ศตวรรษที่ 19
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการปฏิบัติเช่นนี้อย่างกว้างขวาง เมื่ออ่านจากเอกสารในสมัยราชวงศ์ชิง พบความชุกของคำว่า ni nü (ทำให้เด็กหญิงจมน้ำ) และการทำให้จมน้ำเป็นวิธีที่ใช้มากสุดโดยทั่วไปในการฆ่าเด็กหญิง วิธีการอื่น ๆ ที่ใช้เช่น ทำให้ขาดอากาศหายใจและการปล่อยให้อดอยาก อีกวิธีหนึ่งที่ทำกันคือปล่อยให้ตากแดดด้วยการนำเด็กใส่ไว้ในตระกร้าแล้วนำไปไว้บนต้นไม้ สำนักชีในพุทธศาสนาได้สร้าง "หอคอยเด็ก" เพื่อให้คนได้ทิ้งเด็ก ที่เจียงซีใน ค.ศ. 1845 มิชชันนารีได้เขียนถึงการที่เด็กเหล่านี้มีชีวิตรอดถึงสองวันขณะที่ถูกปล่อยให้เผชิญกับสภาพอากาศ และผู้ที่ผ่านไปมาต่างเพิกเฉยต่อเสียงร้องของเด็ก มิชชันนารี David Abeel ได้รายงานใน ค.ศ. 1844 ว่าประมาณหนึ่งในสามถึงหนึ่งในสี่ของเด็กหญิงที่เกิดทั้งหมดถูกฆ่าหลังคลอดหรือหลังจากนั้นในเวลาไม่นาน
ใน ค.ศ. 1878 มิชชันนารีเยซูอิตชาวฝรั่งเศส Gabriel Palatre ตรวจทานเอกสารจาก 13 มณฑล และ Annales de la Sainte-Enfance ยังพบถึงหลักฐานการฆ่าทารกในชานซีและเสฉวน ตามข้อมูลที่เรียบเรียงโดย Palatre พบว่าการปฏิบัติเช่นนี้เห็นได้อย่างกว้างขวางในมณฑลทางตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคแม่น้ำแยงซีล่าง (Lower Yangzi River region)
คริสต์ศตวรรษที่ 20
ใน ค.ศ. 1930 Rou Shi สมาชิกขบวนการ 4 พฤษภาคมได้เขียนเรื่องสั้นเรื่อง A Slave-Mother ซึ่งเขาได้แสดงภาพความยากจนสุดขีดในชุมชนชนบทอันเป็นสาเหตุให้เกิดการฆ่าทารกหญิง
เอกสารที่ตีพิมพ์โดยรัฐบาลจีนใน ค.ศ. 1980 ได้ระบุถึงการปฏิบัติฆ่าทารกหญิงว่าเป็น "ความชั่วร้ายยุคศักดินา" ภาครัฐมีการพิจารณาอย่างเป็นทางการว่าการปฏิบัติดังกล่าวมาจากยุคศักดินา ไม่ใช่ผลของนโยบายลูกคนเดียวของรัฐ Jing-Bao Nie กล่าวว่า "มันเป็นการประหลาดที่จะเชื่อว่าไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างนโยบายการวางแผนครอบครัวของรัฐกับการฆ่าทารกหญิง
ในวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1980 ในจดหมายเปิดผนึก โปลิตบูโรของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ร้องขอให้สมาชิกพรรคและสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์เป็นตัวอย่างนำในการมีลูกคนเดียว ตั้งแต่ช่วงต้นของการใช้นโยบายลูกคนเดียว ได้มีความกังวลว่าอาจนำไปสู่ความไม่สมดุลของอัตราส่วนเพศ ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 เจ้าหน้าที่ระดับสูงมีความกังวลเพิ่มขึ้นจากรายงานการทอดทิ้งและฆ่าทารกหญิงโดยพ่อแม่ที่ต้องการมีลูกชาย ใน ค.ศ. 1984 รัฐบาลได้พยายามที่จะจัดการปัญหาด้วยการปรับนโยบายลูกคนเดียว โดยคู่สมรสที่มีลูกคนแรกเป็นลูกสาว สามารถมีลูกคนที่สองได้
สถานการณ์ปัจจุบัน
คู่รักชาวจีนหลายคู่ปราถนาที่จะได้ลูกชายเพื่อสนับสนุนและเป็นความมั่นคงให้กับพ่อแม่ที่ชรา ในทางตรงกันข้าม เป็นที่คาดการณ์ว่าลูกสาวจะออกจากครอบครัวหลังจากการสมรสและดูแลครอบครัวฝ่ายสามี ในครอบครัวชนบทที่ใน ค.ศ. 2014 นับเป็นจำนวนถึงครึ่งหนึ่งของประชากรจีน ผู้ชายจะมีคุณค่าเพิ่มเติมในฐานะแรงงานในภาคการเกษตร
ในการสำรวจระหว่างช่วงสำมะโนใน ค.ศ. 2005 แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความแตกต่างระหว่างอัตราส่วนเพศของแต่ละมณฑล ซึ่งมีค่าพิสัยระหว่าง 1.04 ในทิเบต และ 1.43 ในเจียงซี ในการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการขาดเด็กผู้หญิงของจีนของ Banister (2004) ได้ชี้แนะให้เห็นถึงการกลับมาอย่างแพร่หลายของการฆ่าทารกหญิงหลังจากการนำนโยบายลูกคนเดียวมาใช้ ในทางกลับกันก็มีนักวิจัยจำนวนมากที่โต้แย้งว่าการฆ่าทารกหญิงเป็นสิ่งหายากในประเทศจีนทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการที่รัฐบาลให้การกระทำดังกล่าวผิดกฎหมาย Zeng และคณะ (1993) ได้มีตัวอย่างของสาเหตุที่อัตราส่วนเพศไม่สมดุล เช่น อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของภาวะไม่สมดุลของจำนวนเพศมาจากข้อมูลที่ขาดหายไปของการเกิดของเด็กหญิง เป็นต้น
Geneva Centre for the Democratic Control of Armed Forces (DCAF) ได้กล่าวถึงการลดลงทางประชากรของทารกหญิงที่เกิดจากปัญหาที่เกี่ยวกับเพศอยู่ในพิสัยเดียวกันกับการเสียชีวิตจำนวน 191 ล้านคน จากข้อขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ใน ค.ศ. 2012 ได้มีการเผยแพร่สารคดีเรื่อง It's a Girl: The Three Deadliest Words in the World ซึ่งเน้นไปที่การฆ่าทารกหญิงในประเทศอินเดียและประเทศจีน
คำอธิบายเพิ่มเติม
บรรณานุกรม
- Abeel, David (13 May 1844). "Infanticide In China". Signal of Liberty. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2014. สืบค้นเมื่อ 16 November 2013.
- Coale, Ansley J.; Banister, Judith (1994). "Five decades of missing females in China". Demography. 31 (3): 459–479. doi:10.2307/2061752. JSTOR 2061752. PMID 7828766. S2CID 24724998. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-01. สืบค้นเมื่อ 2019-09-11.
- DeLugan, Robin Maria (2013). "Exposing Gendercide in India and China (Davis, Brown, and Denier's It's a Girl—the Three Deadliest Words in the World)". Current Anthropology. 54 (5): 649–650. doi:10.1086/672365. JSTOR 10.1086/672365.
- Harrison, Henrietta (2008). "A penny for the little Chinese: The French Holy Childhood Association in China, 1843–1951" (PDF). American Historical Review. 113 (1): 72–92. doi:10.1086/ahr.113.1.72. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-04. สืบค้นเมื่อ 2018-11-04.
- Johnson, Kay Ann (1985). Women, the Family, and Peasant Revolution in China. University of Chicago Press. ISBN 978-0226401898.
- Lee, Bernice J. (1981). "Female Infanticide in China". Historical Reflections / Réflexions Historiques. 8 (3): 163–177. JSTOR 41298766.
- Milner, Larry S (2000). Hardness of Heart/hardness of Life: The Stain of Human Infanticide. University Press of America. ISBN 978-0761815785.
- Mungello, D. E. (2012). The Great Encounter of China and the West, 1500–1800. Rowman & Littlefield. ISBN 9781442219755.
- Mungello, D. E. (2008). Drowning Girls in China: Female Infanticide in China since 1650. Rowman & Littlefield. ISBN 978-0742555310.
- Nie, Jing-Bao (2005). Behind the Silence: Chinese Voices on Abortion. Rowman & Littlefield. ISBN 978-0742523715.
- White, Tyrene (2006). China's Longest Campaign: Birth Planning in the People's Republic, 1949–2005. Cornell University Press. ISBN 978-0801444050.
- Winkler, Theodor H. (2005). "Slaughtering Eve The Hidden Gendercide" (PDF). Women in an Insecure World. Geneva Centre for the Democratic Control of Armed Forces. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-10-07. สืบค้นเมื่อ 2021-11-05.