Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
การชัก
อาการชัก (Seizure) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Epileptic seizure, epileptic fit, fit, convulsions |
ผู้ป่วยกำลังมีอาการชักแบบเกร็ง | |
สาขาวิชา | ประสาทวิทยา, เวชศาสตร์ฉุกเฉิน |
อาการ | มีได้หลากหลาย แต่สัมพันธ์กับการทำงานมากผิดปกติของเซลล์สมอง |
ระยะดำเนินโรค | ส่วนใหญ่เป็นไม่เกิน 2 นาที |
ประเภท | แบบมีเหตุกระตุ้น และแบบไม่มีเหตุกระตุ้น |
สาเหตุ |
แบบมีเหตุกระตุ้น: น้ำตาลในเลือดต่ำ, ภาวะถอนพิษสุรา, โซเดียมในเลือดต่ำ, ไข้, การติดเชื้อในสมอง, สมองกระทบกระเทือน แบบไม่มีเหตุกระตุ้น (โรคลมชัก): ไม่พบสาเหตุ, การบาดเจ็บที่สมอง, เนื้องอกในสมอง, มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมอง |
วิธีวินิจฉัย | วินิจฉัยจากอาการ, การตรวจเลือด, การตรวจภาพรังสีระบบประสาท, การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | การเป็นลม, อาการชักเหตุจิตใจที่ไม่ใช่โรคลมชัก, tremor, ไมเกรน, สมองขาดเลือดชั่วครู่ |
การรักษา |
มีอาการไม่เกิน 5 นาที: ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงและจัดสภาพรอบๆ ให้ปลอดภัย มีอาการมากกว่า 5 นาที: รักษาแบบภาวะชักต่อเนื่อง |
ความชุก | ประชากรทั่วไปราว 10% (จะเคยมีอาการชักอย่างน้อยหนึ่งครั้ง) |
อาการชัก (อังกฤษ: seizure, epileptic seizure) คือภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการบางอย่างอยู่เป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการทำงานมากผิดปกติและไม่สัมพันธ์กันของเซลล์ประสาทในสมอง อาการภายนอกอาจมีได้หลากหลาย ตั้งแต่การเกร็งกระตุกทั่วร่างกายพร้อมกับหมดสติ (การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว), การเคลื่อนไหวผิดปกติเพียงบางส่วนของร่างกายโดยอาจไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับการรู้ตัว หรือมีในบางระดับ (การชักแบบเฉพาะที่), ไปจนถึงการหมดสติไปชั่วครู่โดยแทบไม่มีอาการปรากฏให้เห็น (การชักแบบเหม่อลอย) โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจะมีอาการเหล่านี้อยู่เพียงช่วงสั้นๆ ไม่เกิน 2 นาที และจะค่อยๆ ฟื้นกลับเป็นปกติโดยใช้เวลาระยะหนึ่ง ระหว่างที่มีอาการชักอาจมีอุจจาระราดหรือปัสสาวะราดได้
อาการชักมีทั้งที่เกิดขึ้นโดยมีสิ่งกระตุ้นและไม่มีสิ่งกระตุ้น โดยอาการชักแบบมีสิ่งกระตุ้นอาจเกิดขึ้นได้ชั่วคราวในภาวะต่างๆ เช่น น้ำตาลในเลือดต่ำ อาการถอนสุรา การดื่มสุราร่วมกับยาบางชนิด โซเดียมในเลือดต่ำ มีไข้ สมองติดเชื้อ หรือสมองกระทบกระเทือน เป็นต้น ส่วนอาการชักแบบไม่มีสิ่งกระตุ้นจะเกิดขึ้นโดยที่ไม่มีสาเหตุที่สามารถตรวจเจอหรือแก้ไขได้โดยตรง การชักแบบไม่มีสิ่งกระตุ้นอาจเกิดขึ้นได้บ่อยขึ้นในภาวะที่มีความเครียดหรืออดนอน หากผู้ป่วยมีอาการชักแบบไม่มีสิ่งกระตุ้นแล้วเกิดขึ้นซ้ำหรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นซ้ำจะให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชัก ภาวะอื่นๆ ที่แสดงอาการเหมือนอาการชัก เช่น การเป็นลมหมดสติ การชักทางจิตใจ และอาการสั่น เป็นต้น
แหล่งข้อมูลอื่น
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
ประชาน |
|
||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Emotional state | |||||||||||||||||||||
พฤติกรรม | |||||||||||||||||||||
การรับรู้/ sensation disorder |
|||||||||||||||||||||
|
ทั่วไป | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การรักษา |
|
||||||||
ความผิดปกติที่เกี่ยวข้อง | |||||||||
องค์กร | |||||||||
ประเด็นสำหรับโรคลมชัก | |||||||||
ประเภทของโรคลมชัก (หมวดหมู่) |
|||||||||
|
Inflammation |
|
||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Brain/ encephalopathy |
|
||||||||||||||||||||||||
Spinal cord/ myelopathy |
|||||||||||||||||||||||||
Both/either |
|
||||||||||||||||||||||||
|