Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

การทำลายล้างวัตถุระเบิด

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
"ทางเดินยาว ๆ":เอทีโอของกองทัพบกสหราชอาณาจักรเข้าหาอุปกรณ์ต้องสงสัยในไอร์แลนด์เหนือ

การทำลายล้างวัตถุระเบิด (อังกฤษ: bomb disposal) เป็นวิชาชีพด้านวิศวกรรมวัตถุระเบิดโดยใช้กระบวนการที่ทำให้อุปกรณ์ระเบิดอันตรายมีความปลอดภัย การทำลายล้างวัตถุระเบิดเป็นคำที่ครอบคลุมทุกด้านเพื่ออธิบายแยก แต่การปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กันในด้านการทหารของหน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด (EOD) และการทำลายวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง (IEDD) รวมถึงบทบาทความปลอดภัยสาธารณะของการทำลายล้างวัตถุระเบิดเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ และหน่วยเก็บกู้ระเบิด

ประวัติ

หน่วยเก็บกู้ระเบิดอาชีพฝ่ายพลเรือนแรกก่อตั้งขึ้นโดยวิเวียน เดอริง มาเจนดี ในฐานะพันตรีแห่งกองทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์ มาเจนดีได้ทำการตรวจสอบการระเบิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1874 ในคลองรีเจนท์'ส คาแนล เมื่อเรือบาร์จ 'ทิลเบอรี' ได้บรรทุกปิโตรเลียมหกบาร์เรลและดินปืนห้าตันได้ระเบิดขึ้น โดยแรงระเบิดได้สังหารลูกเรือและทำลายสะพานแม็คเคิลฟิลด์ และที่คุมขังซึ่งอยู่ใกล้กับสวนสัตว์ลอนดอน

ในปี ค.ศ. 1875 เขาวางกรอบ 'พระราชบัญญัติวัตถุระเบิด' ซึ่งเป็นกฎหมายสมัยใหม่ฉบับแรกสำหรับการควบคุมวัตถุระเบิด นอกจากนี้เขายังเป็นผู้บุกเบิกเทคนิคการทำลายล้างวัตถุระเบิดจำนวนมาก รวมถึงวิธีการระยะไกลสำหรับการจัดการและการรื้อถอนวัตถุระเบิด คำแนะนำของเขาในระหว่างการทัพไดนาไมต์เฟเนียนในปี ค.ศ. 1881–85 ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการว่ามีส่วนร่วมในการช่วยชีวิตได้หลายคน หลังจากที่สถานีวิกตอเรียถูกวางระเบิดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1884 เขาได้ทำการปลดชนวนระเบิดด้วยระบบกลไกของนาฬิกาที่ซึ่งอาจจะมีการระเบิดขึ้นในทันใด

กรมตำรวจนครนิวยอร์กได้จัดตั้งหน่วยเก็บกู้ระเบิดเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1903 รู้จักกันในฐานะ "อิตาเลียนสควอด" (Italian Squad) ภารกิจหลักคือการจัดการกับระเบิดไดนาไมต์ที่ใช้โดยมาเฟียเพื่อข่มขู่พ่อค้าและผู้อพยพชาวอิตาลี ซึ่งภายหลังจะเป็นที่รู้จักในฐานะ "แอนาคิสต์สควอด" (Anarchist Squad) และ "แรดิคอลสควอด" (Radical Squad)

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ


บรรณานุกรม
  • Major Saadat sherwani ATO, UXO! AN UNPERCEIVED THREAT (unpublished manuscript) c.2007.
  • Jeffrey M. Leatherwood, Nine from Aberdeen: Colonel Thomas J. Kane and the Genesis of U.S. Army Bomb Disposal in World War II. [Master's Thesis] Western Carolina University. Department of History, c. 2004.
  • Christopher Ransted, Bomb Disposal and the British Casualties of WW2, c. 2004.

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение