Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
การนับระยะปลอดภัย
การนับระยะปลอดภัย | |
---|---|
โอกาสของการการปฏิสนธิในจำนวนวันเทียบกับการตกไข่.
| |
ความรู้พื้นฐาน | |
ประเภทการคุมกำเนิด | พฤติกรรม |
เริ่มใช้ครั้งแรก | คริสต์ทศวรรษ 1950 (มูกช่องคลอด) คริสต์ทศวรรษ 1930 (อุณหภูมิร่างกายขณะพัก) คริสต์ทศวรรษ 1930 (Knaus-Ogino) โบราณ (ad hoc) |
อัตราการล้มเหลว (ในปีแรกของการใช้) | |
เมื่อใช้อย่างถูกต้อง | Symptothermal method: 0.4% Ovulation method: 3% TwoDay method: 4% Standard Days method: 5% |
เมื่อใช้แบบทั่วไป | 24% |
การใช้ | |
การย้อนกลับ | ใช่ |
สิ่งที่ผู้ใช้ควรรู้ | ผู้ใช้ต้องทำตามระเบียบวิธีอย่างเคร่งครัด |
ระยะการพบแพทย์ | ไม่มี |
ข้อดีข้อเสีย | |
ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ | ไม่ |
ประจำเดือน | เพิ่มประสิทธิภาพการทำนาย |
ข้อดี | ไม่มีผลกระทบข้างเขียง, สามารถช่วยในการมีลูกหากต้องการ, พัฒนาตนเอง, พัฒนาความสัมพันธ์กับคู่ครอง |
การนับระยะปลอดภัย (อังกฤษ: Fertility awareness, FA) หรือที่มักถูกเรียกว่า หน้า 7 หลัง 7 หมายถึงแนวการปฏิบัติที่ถูกใช้เพื่อบอกภาวะเจริญพันธุ์ในรอบประจำเดือนผู้หญิง วิธีการนับระยะปลอดภัยอาจใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ เพื่อให้ตั้งครรภ์ หรือเพื่อเป็นวิธีประเมินสุขภาพทางนรีเวชวิทยา
วิธีระบุวันที่ไม่เจริญพันธุ์ถูกใช้มาแต่โบราณ ทว่าความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นในศตวรรษที่ผ่านมาได้เพิ่มจำนวนและรูปแบบวิธี
ระบบของการนับระยะปลอดภัยขึ้นอยู่กับการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสัญญาณการเจริญพันธุ์ขั้นต้น (อุณหภูมิร่างกายขณะพัก มูกช่องคลอด และตำแหน่งปากมดลูก), การนับเวลารอบประจำเดือน และใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อระบุช่วงเวลาเจริญพันธุ์ สัญญาณอื่นได้แก่อาการเต้านมคัดตึงและอาการปวดจากไข่ตก (mittelschmerz), การตรวจปัสสาวะโดยชุดทำนายการตกไข่, และตรวจน้ำลายหรือมูกช่องคลอดด้วยกล้องจุลทรรศน์ นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือเฝ้าดูภาวะเจริญพันธุ์ด้วยคอมพิวเตอร์
ความเป็นมา
การพัฒนาของวิธีอิงปฏิทิน
ไม่มีใครรู้ว่าการทำนายช่วงเจริญพันธุ์และไม่เจริญพันธุ์ของผู้หญิงถูกค้นพบเมื่อใด คัมภีร์ตัลมุดบันทึกว่าผู้หญิงสามารถตั้งท้องเฉพาะช่วงหนึ่งของเดือนเท่านั้นซึ่งน่าจะหมายถึงช่วงตกไข่ ใน พ.ศ. 931 ออกัสตินแห่งฮิปโปเขียนเกี่ยวกับการงดเป็นช่วง เพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์
ใน พ.ศ. 2448 นักนรีเวชวิทยาชาวดัช Theodoor Hendrik van de Velde แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงตกไข่เพียงหนึ่งครั้งต่อรอบประจำเดือน ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 นักนรีเวชวิทยาชาวญี่ปุ่น Kyusaku Ogino และ Hermann Knaus ชาวออสเตรีย ต่างค้นพบว่าการตกไข่เกิดขึ้นประมาณ 14 วันก่อนประจำเดือนรอบต่อไป Ogino ใช้การค้นพบของเขาเพื่อพัฒนาสูตรสำหรับช่วยเหลือผู้หญิงที่มีลูกยาก โดยให้คำนวนเวลาในการมีเพศสัมพันธ์เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 แพทย์โรมันคาทอลิกจากเนเธอร์แลนด์ ใช้การค้พบนี้เพื่อสร้างวิธีเพื่อหลีกเลี่ยง การตั้งครรภ์
สัญญาณการเจริญพันธุ์
รอบประจำเดือนส่วนใหญ่มีสามช่วง ช่วงแรกเป็นช่วงไม่เจริญพันธุ์ (ก่อนการตกไข่) ตามมาด้วยช่วงเจริญพันธ์ และหลังจากนั้นจึงเป็นช่วงไม่เจริญพันธุ์อีกครั้งก่อนถึงรอบเดือนถัดไป (หลังการตกไข่) วันแรกที่มีประจำเดือนสีแดงนับเป็นวันแรกของรอบเดือน ระบบต่าง ๆ ของการนับระยะปลอดภัยใช้วิธีต่างกันเล็กน้อยเพื่อคำนวนวันเจริญพันธุ์โดยการใช้สัญญาณการเจริญพันธุ์, ประวัติของรอบเดือน, หรือใช้ทั้งสองอย่าง
สัญญาณการเจริญพันธุ์ขั้นต้น
สัญญาณการเจริญพันธุ์ขั้นต้นทั้งสามแบบได้แก่ อุณหภูมิร่างกายขณะพัก มูกช่องคลอด และฟ ผู้หญิงที่นับเวลาปลอดภัยโดยดูจากสัญญาณการเจริญพันธุ์อาจเลือกสังเกตุหนึ่ง สอง หรือทั้งสามสัญญาณ ผู้หญิงหลายคนยังมีสัญญาณการเจริญพันธุ์ขั้นตามที่สัมพันธ์กับระยะในรอบประจำเดือน เช่น อาการปวดท้องและแน่นท้อง, ปวดหลัง, เต้านมคัดตึง, และอาการปวดจากไข่ตก
อุณหภูมิร่างกายขณะพัก
สิ่งนี้มักหมายถึงอุณหภูมิที่วัดตอนตื่นนอนตอนเช้า (หรือหลังการนอนที่นานที่สุดในวันนั้น) อุณหภูมิร่างกายขณะพักที่แท้จริงวัดได้จากการเฝ้าดูอุณหภูมิร่างกายอย่างต่อเนื่อง การตกไข่จะทำให้อุณหภูมิร่างกายขณะพักสูงขึ้นระหว่าง 0.2º ถึง 0.5 °C จนถึงประจำเดือนรอบต่อไป การเปลี่ยนแปลงนี้สามารถใช้เพื่อบอกช่วงไม่เจริญพันธุ์หลังการตกไข่
มูกช่องคลอด
ลักษณะของมูกช่องคลอดและความรู้สึกในช่องคลอดมักถูกใช้เพื่อบอกถึงสัญญาณเดียวกัน มูกช่องคลอด มูกช่องคลอดผลิตจากปากมดลูกที่เชื่อมต่อมดลูกกับช่องคลอด มูกช่องคลอดในระยะเจริญพันธุ์ช่วยให้ตัวอสุจิมีชีวิตอยู่นานขึ้นโดยการลดความเป็นกรดของช่องคลอด และยังช่วยนำทางตัวอสุจิผ่านช่องคลอดไปยังมดลูก การผลิตมูกช่องคลอดในระยะเจริญพันธุ์เกิดขึ้นจากฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเดียวกับที่ทำให้ผู้หญิงตกไข่ ผู้หญิงสามารถสังเกตมูกช่องคลอดและความรู้สึกขณะมูกผ่านช่องคลอดเพื่อชี้เวลาที่ร่างกายกำลังเตรียมตัวตกไข่และเมื่อการตกไข่สิ้นสุด ขณะตกไข่การผลิตของเอสโตรเจนตกลงเล็กน้อยและการผลิตของโปรเจสเตอโรน (progesterone) สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคุณลักษณะและปริมาณของมูกที่สังเกตได้ในช่องคลอด
ตำแหน่งปากมดลูก
การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเดียวกันที่ทำให้มูกช่องคลอดเพิ่มขึ้นหรือลดลงยังส่งผลต่อตำแหน่งของปากมดลูก เมื่อผู้หญิงอยู่ในระยะไม่เจริญพันธุ์ปากมดลูกจะอยู่ในระดับต่ำในช่องคลอด และให้ความรู้สึกแน่นแข็งเมื่อสัมผัส (รู้สึกคล้ายปลายจมูก) และรูปากมดลูกแคบกว่าหรือที่เรียกว่า "ปิด" เมื่อผู้หญิงเริ่มเจริญพันธุ์มากขึ้น ปากมดลูกจะอยู่ในตำแหน่งสูงขึ้นในช่องคลอด และนิ่มลงเมื่อสัมผัส (รู้สึกคล้ายริมฝีปาก) และรูมดลูกจะกว้างขึ้น ขึ้นหลังการตกไข่ ปากมดลูกจะกลับไปสู่ตำแหน่งในระยะไม่เจริญพันธุ์
ข้อดีและข้อเสีย
การนับระยะปลอดภัยมีลักษณะเด่นดังนี้:
- การนับระยะสามารถใช้เพื่อประเมินอนามัยการเจริญพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงของวงจรอาจเป็นการเตือนถึงปัญหาทางนรีเวช การนับระยะยังสามารถใช้เพื่อช่วยในการวินิฉัยปัญหาทางนรีเวช เช่น การมีบุตรยาก
- การนับระยะมีประโยชน์หลากหลาย และสามารถใช้เพื่อทั้งหลีกเลี่ยงหรือช่วยในการตั้งครรภ์
- การใช้การนับระยะช่วยให้ผู้หญิงเข้าใจการทำงานของร่างกายตนเองมากขึ้น และอาจช่วยในการควบคุมดูแลการเจริญพันธุ์ขอตน
- ในการนับระยะปลอดภัยบางแบบที่ดูจากสัญญาณ ผู้หญิงจำเป็นต้องสังเกตหรือจับมูกช่องคลอดของตน ซึ่งผู้หญิงหลายคนอาจไม่สบายใจที่จะทำ
- ยาบางตัว เช่น decongestant อาจเปลี่ยนแปลงลักษณะของมูกช่องคลอด และส่งผลกระทบต่อการใช้ลักษณะมูกช่องคลอดเพื่อชี้ถึงระยะเจริญพันธุ์
- อุณหภูมิร่างกายขณะพักอาจได้รับผลกระทบจากการนอนไม่เป็นเวลา ดังนั้นคนบางกลุ่ม เช่น ผู้ที่ทำงานเป็นกะหรือผู้อาศัยกับเด็ก อาจไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้
- การนับระยะต้องใช้การบันทึกกิจกรรมเป็นประจำอย่างละเอียดทุกวัน ทำให้บางคนอาจคิดว่ามันซับซ้อนเกินไป
การใช้เพื่อคุมกำเนิด
ผู้หญิงและคู่ของเธอสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ โดยการจำกัดการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันไว้เฉพาะช่วงไม่เจริญพันธุ์ของรอบประจำเดือน ในช่วงเจริญพันธุ์ คู่รักอาจใช้การคุมกำเนิดแบบสิ่งกีดขวาง เช่น ถุงยางอนามัย หรืองดมีเพศสัมพันธ์
ข้อดี
- การนับระยะปลอดภัยไม่ต้องใช้ยา
- ไม่มีค่าใช้จ่ายหรือมีค่าใช้จ่ายน้อย ผู้ใช้อาจต้องเสียเงินให้กับผู้สอน ซื้อซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ หรือซื้อตาราง ปฏิทิน หรือเทอร์มอมิเตอร์ ค่าใช้จ่ายโดยตรงต่ำกว่าวิธีอื่น
- สามารถใช้กับการคุมกำเนิดแบบสิ่งกีดขวาง เช่น ถุงยางอนามัย เพื่อร่วมเพศในระยะเจริญพันธุ์ การนับระยะทำให้คู่รักสามารถใช้สิ่งกีดขวางเฉพาะเวลาจำเป็น
- ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนจากการหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์เป็นการมุ่งเพื่อให้ตั้งครรภ์ได้ทันทีเมื่อต้องการมีบุตร
ข้อเสีย
- ต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบอื่นช่วยขณะอยู่ในระยะเจริญพันธุ์ มิฉะนั้นจำเป็นต้องงดมีเพศสัมพันธ์ เพื่อลดโอกาสการตั้งครรภ์ให้ต่ำกว่า 1% ผู้ใช้จำเป็นต้องใช้วิธีคุมกำเนิดแบบอื่นหรืองดมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลาประมาณ 13 วันต่อรอบเดือน ผู้หญิงที่มีรอบเดือนไม่ปกติ เช่น ผู้ที่กำลังให้นมบุตร ผู้กำลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือ ผู้ที่มีอาการรังไข่มีถุงน้ำจำนวนมาก อาจต้องงดเว้นหรือใช้วิธีคุมกำเนิดแบบอื่นแต่ละครั้งเป็นเดือน ๆ
- ประสิทธิผลในการใช้ทั่วไปต่ำกว่าวิธีแบบอื่นส่วนใหญ่
- การนับระยะปลอดภัยไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ประสิทธิผล
ประสิทธิผลของการนับระยะปลอดภัย สามารถแยกออกเป็นการใช้อย่างถูกต้อง (perfect-use) ที่นับเฉพาะผู้ใช้ที่ทำตามกฎทั้งหมดของการสังเกต ระบุระยะเจริญพันธุ์อย่างถูกต้อง และงดการร่วมเพศโดยไม่ป้องกันในวันที่ระบุว่ากำลังเจริญพันธุ์ เช่นเดียวกับการคุมกำเนิดแบบอื่น และการใช้ทั่วไป (typical-use) ที่นับผู้หญิงทั้งหมดที่ใช้วิธีการนับระยะปลอดภัยเพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ รวมไปถึงพวกที่ไม่ได้ใช้อย่างถูกต้อง ประสิทธิผลที่แสดงมักมาจากการปีแรกของการใช้ดัชนีเพอร์ล (Pearl Index) มักถูกใช้เพื่อคำนวนประสิทธิผลทว่างานวิจัยบางงานใช้ตารางแสดงการลดลง (decrement table)
อัตราการล้มเหลวของการนับระยะปลอดภัยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับระบบที่ใช้ระบุวันเจริญพันธุ์ วิธีการสอน และประชากรที่ศึกษา บางงานวิจัยพบว่าอัตราการล้มเหลวเมื่อใช้แบบทั่วไปอยู่ที่ 25% ต่อปีหรือมากกว่า งานวิจัยอย่างน้อยหนึ่งงานพบอัตราการล้มเหลวที่ต่ำกว่า 1% ต่อปีเมื่อมีการฝึกสอนและการทบทวนรายเดือน และงานวิจัยอื่น ๆ พบอัตราการล้มเหลวเมื่อใช้จริงที่ 2%–3% ต่อปี
เมื่อได้รับการฝึกสอนอย่างสม่ำเสมอ (หรือเมื่อใช้อย่างถูกต้อง) หลายงานวิจัยพบว่าการนับระยะปลอดภัยมีประสิทธิผลถึง 99%
เหตุผลที่ลดประสิทธิผลของการใช้ทั่วไป
หลายปัจจัยมีส่วนทำให้ประสิทธิผลของกาใช้ทั่วไปต่ำกว่าการใช้แบบถูกต้อง:
- การตั้งใจไม่ทำตามคำนั่ง เช่น การร่วมเพศในวันที่ระบุว่าอยู่ในช่วงเจริญพันธุ์โดยไม่ป้องกัน
- ความผิดพลาดในส่วนของผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีใช้การนับระยะปลอดภัย เช่น การที่ผู้สอนให้ข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับกฎ
- ความผิดพลาดในส่วนของผู้ใช้ (เข้าใจกฎหรือแผนภูมิผิด)
เหตุผลหลักที่ลดประสิทธิผลของการใช้ทั่วไปไม่ได้อยู่ที่ความผิดพลาดของผู้สอนหรือผู้ใช้แต่อยู่ที่การตั้งใจฝ่าฝืนคำสั่ง กล่าวคือคู่รักรู้ว่าผู้หญิงมีโอกาสสูงที่กำลังอยู่ในช่วงเจริญพันธุ์แต่ก็ยังร่วมเพศ
ดูเพิ่ม
- Billings ovulation method
- Creighton Model FertilityCare System
- Fertility monitor
- Lactational amenorrhea method
- Kindara
การเปรียบเทียบ | |||||
---|---|---|---|---|---|
ทางพฤติกรรม |
|
||||
โดยใช้สิ่งกีดขวางกับ / หรือ สารฆ่าเชื้ออสุจิ |
|||||
โดยใช้ฮอร์โมน |
|
||||
ยาต้านเอสโตรเจน |
|
||||
หลังการร่วมเพศ |
|
||||
ห่วงอนามัยคุมกำเนิด |
|
||||
การทำแท้ง | |||||
การทำหมัน |
|
||||
อยู่ในขั้นทดลอง |
|