Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
การปฏิเสธโรงเรียน
การปฏิเสธโรงเรียน (อังกฤษ: school refusal) หรือ โรคกลัวโรงเรียน (school phobia) เป็นคำที่ใช้ครั้งแรกในสหราชอาณาจักร เพื่ออธิบายการปฏิเสธเข้าศึกษาในโรงเรียน เนื่องจากความความบีบคั้นทางอารมณ์ โรคกลัวโรงเรียนต่างจากการหนีเรียน (truant) ตรงที่เด็กที่กลัวโรงเรียนรู้สึกกังวลหรือกลัวโรงเรียน ขณะที่เด็กหนีเรียนโดยทั่วไปไม่รู้สึกกลัวโรงเรียน แต่มักรู้สึกโกรธหรือเบื่อโรงเรียนมากกว่า โรงพยาบาลเด็กบอสตันมีแผนภูมิแสดงความแตกต่างระหว่างโรคกลัวโรงเรียนกับการหนีเรียน
คำว่า "การปฏิเสธโรงเรียน" ถูกประดิษฐ์ขึ้นใช้แทน "โรคกลัวโรงเรียน" ซึ่งเคยใช้อธิบายเยาวชนเหล่านี้ในอดีต การปฏิเสธโรงเรียนเป็นคำที่มีความหมายกว้างกว่า ที่ยอมรับว่า เด็กมีปัญหาในการเข้าโรงเรียนด้วยเหตุผลหลากหลาย อย่างไรก็ดี เหตุผลเหล่านี้อาจมิใช่การแสดงความกลัวที่แท้จริง เช่น การแยกหรือกังวลต่อการเข้าสังคม อาจจะเพราะครูโหดเกินไป
เด็กวัยเรียนประมาณร้อยละ 1 ถึง 5 ปฏิเสธโรงเรียน พบมากที่สุดในเด็กอายุ 5, 6, 10 และ 11 ขวบ การปฏิเสธโรงเรียนนี้พบบ่อยครั้งกว่าในช่วงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในชีวิตเด็ก เช่น การเข้าเรียนอนุบาล หรือการเปลี่ยนจากโรงเรียนประถมเป็นโรงเรียนมัธยมต้น ปัญหาดังกล่าวอาจเริ่มจากการปิดภาคเรียน วันหยุด หรือการป่วยสั้น ๆ ที่เด็กกลับไปอยู่บ้านชั่วระยะเวลาหนึ่ง การปฏิเสธโรงเรียนยังอาจเกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ที่เครียดอย่างมาก เช่น การย้ายบ้านใหม่ หรือการตายของสัตว์เลี้ยง หรือการเสียชีวิตของญาติ
อัตราการปฏิเสธโรงเรียนใกล้เคียงกันทั้งเพศหญิงและชาย และแม้ว่า จะพบมากในพื้นที่เมืองบางแห่ง แต่ไม่มีข้อแตกต่างทางสังคมเศรษฐกิจที่มีผลต่ออัตราการปฏิเสธโรงเรียนเท่าที่ทราบ
อาการของการปฏิเสธโรงเรียน มีตั้งแต่ เด็กว่า ตนรู้สึกป่วยบ่อยครั้ง หรือตื่นขึ้นมาพร้อมกับอาการปวดหัว ปวดท้องหรือเจ็บคอ หากเด็กอยู่บ้าน อาการเหล่านี้อาจหายไป แต่จะกลับมาในเช้าวันรุ่งขึ้นก่อนไปโรงเรียน ยิ่งไปกว่านั้น เด็กที่ปฏิเสธโรงเรียนอาจตะโกนสาปหรืออาละวาดลงไปดิ้น (temper tantrums)
สัญญาณเตือนการปฏิเสธโรงเรียนมี การบ่นบ่อยครั้งเกี่ยวกับการเข้าเรียน การเข้าเรียนช้าหรือขาดเรียนโดยไม่มีเหตุผลบ่อยครั้ง การขาดเรียนในวันสำคัญ (เช่น การสอบ การพูดหน้าชั้น ชั้นเรียนพลศึกษา) การขอให้โทรศัพท์หรือกลับบ้านบ่อยครั้ง กังวลมากเกินเมื่อผู้ปกครองอยู่ในโรงเรียน การขอไปห้องพยาบาลบ่อยครั้ง เพราะอาการทางกาย หรือร้องไห้อยากกลับบ้าน
สำคัญที่ผู้ปกครองจะต้องพยายามนำเด็กเข้าเรียน ยิ่งเด็กไม่เข้าโรงเรียนนานเท่าไร ก็จะนำกลับเข้าเรียนยิ่งยากเท่านั้น อย่างไรก็ดี อาจเป็นการยากที่สำเร็จ เพราะเมื่อถูกบังคับ เด็กอาจอาละวาด ตะโกนสาป มีอาการกายเหตุจิต (psychosomatic) หรือตื่นตระหนก และขู่จะทำร้ายตัวเอง ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปอย่างรวดเร็วหากเด็กได้รับอนุญาตให้อยู่บ้าน
ผู้ปกครองควรนำเด็กพบแพทย์ ซึ่งจะช่วยชี้ว่า อาการเจ็บป่วยใดที่อาจก่อให้เกิดปัญหา ผู้ปกครองยังควรพูดคุยกับครูของเด็กหรือผู้ให้คำปรึกษาของโรงเรียน แม้การปฏิเสธโรงเรียนจะไม่ใช่โรคคลินิก ตาม Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders ฉบับพิมพ์ครั้งที่สี่ แต่อาจเกิดร่วมกับโรคจิตเวชอื่น ๆ ได้หลายโรค รวมถึงโรควิตกกังวลจากการพรากจากสิ่งของหรือบุคคลสำคัญ (Separation Anxiety Disorder) โรคกลัวสังคม และโรคพฤติกรรม ดังนั้น จึงสำคัญยิ่งที่เยาวชนที่ปฏิเสธโรงเรียนจะได้รับการประเมินอย่างครอบคลุมจากผู้เชี่ยวชาญสุขภาพจิต
การปฏิเสธโรงเรียนบางกรณีสามารถแก้ไขได้โดยการค่อย ๆ นำเด็กกลับเข้าสิ่งแวดล้อมโรงเรียน บางกรณีอาจต้องรักษาด้วยการบำบัดจิตวิเคราะห์ (psychodynamic therapy) และการบำบัดความคิดและพฤติกรรม (cognitive-behaviour therapy) บางครอบครัวอาจแสวงหาการศึกษาทางเลือกแก่เด็กปฏิเสธโรงเรียน ซึ่งพิสูจน์ว่าได้ผลเช่นกัน ในกรณีที่รุนแรง บางครั้งมีการจ่ายยารักษาโรคบางขนาน แต่ทางแก้เหล่านี้ไม่มีวิธีใดโดดเด่นกว่าวิธีอื่น
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการปฏิเสธโรงเรียน
จากการศึกษาในสหรัฐอเมริกาโดย ศาสตราจารย์ Christopher Kearney ปัจจัยที่ทำให้เกิดการปฏิเสธโรงเรียนอาจจำแนกออกเป็นสี่กลุ่ม บางคนอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยมากกว่าหนึ่งกลุ่มในคราเดียวกัน
- เด็กอาจไม่ต้องการไปโรงเรียนเพื่อหลีกเลี่ยง ความตื่นกลัว ความหดหู่ หรืออาการทางจิตประสาทอื่น ๆ อันเกิดจากการไปโรงเรียน กรณีนี้อาจเกิดจากความผิดปกติที่ร้ายแรงกว่านั้น เช่น ความผิดปกติเกี่ยวกับความตื่นกลัว ความหดหู่ การนอนหลับ การแยกจาก หรือ ความตื่นตระหนก
- เด็กอาจไม่ต้องการไปโรงเรียนเพื่อหลีกเลี่ยงการทดสอบ การนำเสนอ งานกลุ่ม บทเรียนบางบทเรียน หรือ การปะทะสังสรรค์กับเด็กอื่น
- เด็กอาจอยากดึงดูดความสนใจของผู้อื่นนอกโรงเรียน เช่น บิดามารดา หรือ ผู้ใหญ่อื่นที่รู้จักกัน
- เด็กอาจอยากทำกิจกรรมบันเทิงใจอื่นนอกโรงเรียน เช่น งานอดิเรก เล่นเกมคอมพิวเตอร์ ดูหนัง เล่นกับเพื่อน ขี่จักรยาน หรือเรียนด้วยตนเอง
เชิงอรรถ
-
Fremont, Wanda P. (2003). "School Refusal in Children and Adolescents". American Family Physician. 68 (8): 1555–1561. PMID 14596443.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help)