Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

การออกแบบอย่างชาญฉลาด

Подписчиков: 0, рейтинг: 0

การออกแบบอย่างชาญฉลาด (อังกฤษ: intelligent design, ID) เป็นสมมติฐานที่มองว่าสิ่งมีชีวิตดูเหมือนว่าจะได้รับการออกแบบโดยสิ่งมีชีวิตทรงปัญญา มากกว่าที่จะเกิดขึ้นด้วยกับกระบวนทางธรรมชาติแบบสุ่มโดยไร้ทิศทาง โดยพิจารณาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ทางวิทยาศาสตร์ ที่แสดงให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตมีความซับซ้อนที่ลดทอนไม่ได้ (irreducible complexity) และจักรวาลมีการปรับแต่งอย่างดี (fine tune) เกินกว่าจะเป็นเพียงความบังเอิญหรือเดาสุ่มโดยไม่มีจุดหมายซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่อาจมีคำอธิบายที่ดีอย่างอื่นนอกจากการที่ถูกออกแบบโดยความฉลาด และไม่ได้เกิดจากกระบวนการที่ทางวัตถุที่มืดบอดไม่ได้รับการชี้นำ เช่น การคัดเลือกโดยธรรมชาติ นักการศึกษา นักปรัชญา และวงการวิทยาศาสตร์ ได้แสดงหลักฐานให้เห็นแล้วว่าแนวคิดนี้เป็นข้อถกเถียงเชิงภววิทยาและอภิปรัชญา โดยในวงการวิทยาศาสตร์จะแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายตามลักษณะความเชื่อ ฝ่ายที่เชื่อเรื่องการสร้างจะอยู่ในซีกของฝั่งที่เรียกว่าครีเอชั่นนิสท์ (creationist) และอีกฝ่ายที่เชื่อว่าไม่มีผู้สร้าง แต่ยึดเอาทฤษฎีวิวัฒนาการเป็นคำอธิบายจะอยู่ในซีกของนักวิวัฒนาการ (Evolutionist) ซึ่งปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ฝ่ายที่สองจะมีความคิดไปในทางวิทยาศาสตร์ที่มีแนวคิดแบบปรัชญาวัตถุนิยมและธรรมชาตินิยม ซึ่งเชื่อเรื่องธรรมชาตินิยมเชิงกระบวนการ (methodological naturalism)

Stephen Meyer
Dr.James Tour

นักวิทยาศาสตร์ฝ่ายการออกแบบอันชาญฉลาดในปัจจุบัน ประกอบด้วย ดร.สตีเฟน เมเยอร์ แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, ดร.ดักราสจ์ แอ็กซ์, ดร. เจมส์ ทัวร์ นักเคมี 10 อันดับต้นของโลก เป็นต้น ซึ่งได้รับแรงบรรดาลใจจากนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ในช่วงปฏิวัติวิทยาศาสตร์ อย่างเช่น นิโคลัส โคเปอร์นิคัส, ฟรานซิส เบคอน, กาลิเลโอ กาลิเลอิ, เรอเน เดการ์ต, ไอแซก นิวตัน, ไมเคิล ฟาราเดย์, หลุยส์ อังกัสซิซ, เจมส์ แม็กซ์เวล, โรเบิร์ต บอล์ย พวกเขาเป็นผู้บุกเบิกวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่เชื่อพระเจ้าทั้งสิ้น.

คำกล่าวของเหล่านักวิทยาศาสตร์ผู้ปฏิวัติวทยาศาสตร์สมัยใหม่

“การที่จะรู้จักพระราชกิจอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า พระปรีชาญาณ ความยิ่งใหญ่ และฤทธิ์เดชของพระองค์ได้ อีกทั้งเพื่อการซาบซึ้งอย่างเหลือล้นต่อการสรรสร้างกฎเกณฑ์ของพระองค์ เป็นแน่แท้ทั้งหมดทั้งมวลนี้คือความสุขสำราญและการสดุดีอย่างยอมจำนนต่อพระผู้อยู่จุดสูงสุด ความโง่เขลามิอาจซาบซึ้งในสิ่งดังกล่าวได้นอกเสียแต่ว่าต้องใช้ความรู้” “จักรวาลสร้างมาเพื่อเราโดยพระผู้สร้างที่ดีและมีระเบียบอย่างสูงสุด”

- นิโคลัส โคเปอร์นิคัส


“เราสรุปได้ว่าพระเจ้าเป็นที่รู้จักคราแรกผ่านธรรมชาติ และจากนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นที่รู้จักผ่านหลักคำสอน ทั้งโดยธรรมชาติในการงานของพระองค์ และโดยหลักคำสอนในพระวจนะที่พระองค์ทรงเปิดเผย”

- กาลิเลโอ กาลิเลอิ

“ความรู้วิทยาศาสตร์อันน้อยนิดโน้มน้าวจิตใจของมนุษย์ไปสู่ลัทธิอเทวนิยม(ปฏิเสธพระเจ้า) แต่ความรู้วิทยาศาสตร์ที่ลึกซึ้งจะนำจิตใจของมนุษย์มาสู่การเชื่อพระเจ้า”

- ฟรานซิส เบคอน


“โดย 'พระเจ้า' ที่ข้าพเจ้าเข้าใจ คือตัวตนที่ไร้ขอบเขต เป็นอิสระ ทรงวิทยปัญญาอย่างที่สุด ทรงอำนาจสูงสุด และเป็นผู้ที่สร้างทั้งตัวฉันเองและสิ่งทั้งปวง”

- เรอเน เดการ์ต


“ระบบที่สวยงามที่สุดของดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ และดาวหางนี้ สามารถดำเนินไปได้โดยคำแนะนำและการปกครองของผู้มีวิทยปัญญาเท่านั้น...พระเจ้าผู้ทรงเกรียงไกรสูงสุดเป็นผู้ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์ ไร้ขอบเขต [และ] สมบูรณ์แบบที่สุด”

9 Sir Isaac Newton.jpg

- ไอแซค นิวตัน

ข้อโต้แย้งการออกแบบโดยวิทยาศาสตร์สมัยใหม่

ยกตัวอย่างการโต้แย้งการออกแบบของฝั่ง (ID) ว่าเป็นอย่างไร เช่น ข้อโต้แย้งที่สร้างขึ้นจากงานวิจัยของ ดร.ดักราสจ์ แอ็กซ์ ที่มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ในการโต้แย้งทฤษฎีวิวัฒนาการ ในเรื่องของโอกาสของการกลายพันธุ์

ในการที่จะทำให้สิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบหนึ่งที่มีฟังชั่นใหม่ ๆ เป็นสัตว์ใหม่ ๆ มันต้องมีข้อมูลทางพันธุกรรมใหม่ให้กับสิ่งมีชิวิต โดยเฉพาะการระเบิดในยุคแคมเบรียน มันไม่ใช่แค่การระเบิดทางชีวภาพ แต่มันเป็นการระเบิดของข้อมูล (Information) กลไกของวิวัฒนาการไม่สามารถอธิบายได้ว่า กลไกแบบใดสามารถสร้างรหัสพันธุกรรมใหม่ ๆให้กับสิ่งมีชีวิตได้ เพราะข้อมูลพันธุกรรมจำเป็นต่อการสร้างโปรตีน ฉะนั้นหากอยากได้รูปแบบสัตว์ที่มีหน้าที่ใหม่ๆ ระนาบร่างกายใหม่ๆ จำเป็นมีโปรตีนใหม่ๆ และโปรตีนจำเป็นต้องมีรหัสพันธุกรรมใหม่ๆ ไม่มีรหัสใหม่ ไม่มีโปรตีนใหม่ ไม่มีสิ่งมีชีวิตใหม่ และไม่สามารถอธิบายได้ว่า การเกิดขึ้นอย่างฉับพลันไม่รูปแบบสมบูรณ์ของสัตว์ยุคแคมเบรียนปรากฏขึ้นมาได้อย่างไร ซึ่งมีงานวิจัยจากนักชีววิทยาโมเลกุลจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ อย่าง ดักราสจ์ แอ็กซ์ (Douglas Axe) ได้คำนวณโอกาสการกลายพันธุ์โดยบังเอิญ "สำหรับให้ได้มาซึ่งหนึ่งโปรตีนที่พับตัวใช้งานได้ เป็นตัวเลขประมาณ 10^77 นั่นคือโอกาสความเป็นไปได้ทั้งหมดสำหรับ 1 โปรตีนที่ใช้งานได้ภายในโอกาสทั้งหมด 1 ตามด้วย 0 จำนวน 77 ตัวที่จะล้มเหลว ซึ่งนั่นเป็นตัวเลขที่มากกว่าจำนวนอะตอมในกาแล็คซีทางช้างเผือกที่มีค่าประมาณ 10^65 เสียอีก

การออกแบบอันชาญฉลาดเป็นแนวคิดทางศาสนาหรือไม่?

การออกแบบอันชาญฉลาด (Intelligent design (ID)) กับ ความเชื่อในเรื่องการสรรค์สร้าง หรือ รังสรรค์นิยม (Creationism) แม้จะมีส่วนที่เหมือนกันตรงที่ว่าเป้าหมายต่างบ่งชี้ไปถึงว่า จักรวาล ชีวิตและสรรพสิ่ง ล้วนแต่มีผู้สร้าง แต่จุดต่างกันอยู่ตรงที่ว่าสิ่งที่ความเชื่อในการสรรค์สร้าง ใช้สิ่งที่เป็นหลักฐานบ่งชี้คือพระคัมภีร์ ซึ่งความเชื่อในเรื่องการสร้างเป็นไปตามบทปฐมกาลของไบเบิล ส่วนการออกแบบอันชาญฉลาดใช้หลักฐานและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักฐานบ่งชี้อันนำมาสู่ข้อสรุปที่ว่า ทุกสิ่งดูเหมือนว่าจะมีผู้ออกแบบเสียมากกว่าจะเกิดขึ้นโดยกระบวนการทางวัตถุที่มืดบอดไร้ทิศทาง ดังนั้นจำเป็นต้องมีผู้ออกแบบผู้ทรงปัญญา (Intelligent designer)

ในปี 2004 แอนโทนี ฟลิว (Antony Flew) นักปรัชญาผู้ปฏิเสธพระเจ้าชื่อดังแห่งมหาวิทยาลัยเรดดิ้ง (University of Reading) wได้เป็นข่าวกระฉ่อนไปทั่วโลก เมื่อในที่สุดช่วงท้ายชีวิตของเขา เขาปฏิเสธคำมั่นสัญญาชั่วชีวิตที่มีต่อลัทธิอเทวนิยม (Atheism) และยืนยันความเป็นจริงของการต้องมีผู้สร้างบางอย่าง โดยฟลิวได้อ้างถึงหลักฐานของการออกแบบอันชาญฉลาดที่มีอยู่ใน DNA สิ่งที่ทำให้เขาต้องเปลี่ยนความคิดในครั้งนี้ก็เนื่องมาจากการโต้แย้งของ “นักทฤษฎีการออกแบบชาวอเมริกัน” ผู้ที่เป็นเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนี้ซึ่งนำฟลิวที่เคยไม่เชื่อว่ามีผู้สร้าง ต้องหันมาเชื่อเรื่องผู้สร้างจากหลักฐานการออกแบบใน DNA

ตั้งแต่นั้นมา ผู้อ่านชาวอังกฤษได้เรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการออกแบบอัจฉริยะ (ID) ส่วนใหญ่จากรายงานของสื่อเกี่ยวกับการต่อสู้ของศาลในสหรัฐฯ เกี่ยวกับการสอนนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างถูกกฎหมาย ตามรายงานส่วนใหญ่ มักจะรายงานว่า ID เป็นทางเลือก "ที่สร้างขึ้นจากความศรัทธา" ที่มีต่อวิวัฒนาการที่อิงตามศาสนาเพียงอย่างเดียว แต่ทว่านี่เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพระาตรงกันข้ามกับรายงานของสื่อ ID ไม่ใช่แนวคิดทางศาสนา แต่เป็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่มีหลักฐานอ้างอิงเกี่ยวกับต้นกำเนิดของชีวิต อย่างที่ตามคำกล่าวของนักชีววิทยาผู้นิยมดาร์วิน อย่าง ริชาร์ด ดอว์กินส์ (Richard Dawkins) แห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด บอกว่า ระบบสิ่งมีชีวิต “นั้นดูเหมือนว่าจะได้รับการออกแบบมาอย่างมีจุดประสงค์” แต่สำหรับนักดาร์วินสมัยใหม่ ลักษณะที่บ่งชี้ถึงการถูกออกแบบนั้นเป็นเรื่องลวงตา เพราะสำหรับพวกเขา กระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติที่ไร้ทิศทางอย่างหมดจดซึ่งกระทำต่อการกลายพันธุ์แบบสุ่มนั้นเพียงพอแล้วที่จะสร้างโครงสร้างที่คล้ายการออกแบบที่ซับซ้อนซึ่งพบในสิ่งมีชีวิต

ในทางตรงกันข้าม ID ถือได้ว่ามีคุณสมบัติของการอธิบายระบบสิ่งมีชีวิตและจักรวาลที่อธิบายได้ดีที่สุดโดยสร้างขึ้นจากความฉลาดในการออกแบบ ทฤษฎีนี้ไม่ได้ท้าทายแนวคิดเรื่องวิวัฒนาการในนิยามที่ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา หรือแม้แต่บรรพบุรุษร่วมกัน แต่มันขัดแย้งกับความคิดของดาร์วินที่ว่าสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพนั้นมืดบอดโดยสิ้นเชิงและไร้ทิศทาง

มีสิ่งที่บ่งชี้ถึงการออกแบบอันชาญฉลาดอะไรบ้างอะไรบ้าง?

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักชีววิทยาได้ค้นพบโลกที่สวยงามของนาโนเทคโนโลยีภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นวงจรที่ซับซ้อน ที่จับเลื่อนใน DNA (Sliding clamp, DNA clamp) กังหันผลิตพลังงาน (energy-generating turbines) และเครื่องจักรขนาดเล็ก ตัวอย่างเช่น เซลล์แบคทีเรียที่ถูกขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์โรตารี่ที่เรียกว่าแฟลเจลลาร์มอเตอร์ ซึ่งหมุนที่ 100,000 รอบต่อนาที เครื่องยนต์เหล่านี้ดูเหมือนได้รับการออกแบบโดยวิศวกร โดยมีชิ้นส่วนเครื่องจักรกลที่แตกต่างกันมากมาย (ทำจากโปรตีน) รวมถึงโรเตอร์ สเตเตอร์ โอริง บูช ข้อต่อตัว U และเพลาขับ

นักชีวเคมี ไมเคิล บีฮี (Michael Behe) ​​ชี้ให้เห็นว่าแฟลเจลลาร์มอเตอร์ขึ้นอยู่กับฟังก์ชันที่ประสานกันของ 30 ส่วนโปรตีน นำโปรตีนเหล่านี้ออกและโรตารี่มอเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ ในคำพูดของบีฮีเขาบอกว่า ยานยนต์นั้นเป็นซึ่งที่เรียกว่า "ความซับซ้อนที่ลดทอนไม่ได้" (Irreducibly complex)

สิ่งนี้ได้สร้างปัญหาให้กับกลไกของดาร์วิน การคัดเลือกโดยธรรมชาติจะรักษาหรือ "เลือก" ข้อได้เปรียบเชิงฟังก์ชันที่เกิดขึ้นจากการกลายพันธุ์แบบสุ่ม ทว่ามอเตอร์แฟลเจลลาร์จะไม่สามารถทำงานนอกเสียจากว่าจะมีชิ้นส่วนทั้งหมด 30 ชิ้นครบพร้อมกันทั้งหมด ดังนั้นการคัดเลือกโดยธรรมชาติจะสามารถทำการ "เลือก" มอเตอร์ได้ก็ต่อเมื่อมันเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ครบครันแล้วเท่านั้น แต่การคัดเลือกไม่สามารถผลิตมอเตอร์มาอย่างค่อยเป็นค่อยไปทีละขั้นตอนตามที่ดาร์วินอ้างได้

การคัดเลือกโดยธรรมชาติโดยอ้างว่าสามารถสร้างระบบที่ซับซ้อนจากโครงสร้างที่เรียบง่ายกว่าโดยคงไว้ซึ่งชุดของรูปแบบกลางการเปลี่ยนผ่านได้ แต่ทว่าซึ่งแต่ละส่วนต้องทำหน้าที่บางอย่างอยู่เสมอ ด้วยแฟลเจลลาร์มอเตอร์ แต่โครงสร้างขั้นกลางที่สำคัญส่วนใหญ่ไม่มีหน้าที่ในการเลือกเพื่อเก็บรักษา ซึ่งกลไกที่ดาร์วินได้เสนอให้มาแทนที่สมมติฐานการออกแบบโดยเฉพาะ นั่นก็คือการคัดเลือกโดยธรรมชาติไม่สามารถอธิบายที่มาของแฟลเจลลาร์มอเตอร์ได้

มีคำอธิบายที่ดีกว่านี้หรือไม่? จากประสบการณ์ที่เป็นเอกภาพของเรา เราทราบสาเหตุเพียงประเภทเดียวที่จะสามารถสร้างระบบที่ซับซ้อนอย่างไม่อาจลดทอนได้ขึ้นมาได้ นั่นคือ ผู้ที่มีสติปัญญาที่ชาญฉลาดเท่านั้น เมื่อใดก็ตามที่เราพบกับระบบที่ซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นวงจรรวมหรือเครื่องยนต์สันดาปภายใน และเรารู้ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร คำตอบคือต้องมีผู้ที่มีสติปัญญาอันชาญฉลาดในการออกแบบเข้ามามีบทบาทเสมอ

พิจารณาข้อโต้แย้งพื้นฐานเพิ่มเติมสำหรับการออกแบบ ในปี 1953 ครั้งที่วัตสันและคริกได้อธิบายโครงสร้างของโมเลกุลดีเอ็นไว้ได้ชัดเจน พวกเขาก็ค้นพบสิ่งที่น่าตกใจ สายโซ่ของสารเคมีที่มีลำดับอย่างแม่นยำซึ่งเรียกว่านิวคลีโอไทด์ใน DNA ที่แบกรับข้อมูล และส่งคำแนะนำในการประกอบซึ่งเป็นข้อมูลในรหัสดิจิทัลสี่ตัวสำหรับใช้ในการสร้างโมเลกุลโปรตีนที่เซลล์ต้องการเพื่อความอยู่รอด คริกจึงได้พัฒนา "สมมติฐานลำดับ" (sequence hypothesis) ซึ่งเบสเคมีในฟังก์ชันดีเอ็นเอก็เหมือนกับตัวอักษรในภาษาเขียนหรือสัญลักษณ์ในรหัสคอมพิวเตอร์ ดังที่ดอว์กินส์ได้กล่าวไว้ว่า "รหัสเครื่องของยีนนั้นเหมือนกับคอมพิวเตอร์อย่างน่าประหลาด"

คุณสมบัติทางข้อมูลของเซลล์อย่างน้อยก็บ่งชี้ถึงการได้รับการออกแบบ ทว่าจนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีทฤษฎีใดเลยเกี่ยวกับวิวัฒนาการทางเคมีที่ไร้เจตจำนงใด ๆ ที่สามารถอธิบายที่มาของข้อมูลดิจิทัลที่จำเป็นต่อการสร้างเซลล์ที่มีชีวิตเซลล์แรกได้เลย เพราะอะไรน่ะหรือ อันเนื่องจากว่ามันมีข้อมูลในเซลล์มากเกินไปที่จะสามารถถูกอธิบายได้ด้วยกับบังเอิญเพียงอย่างเดียว

ข้อมูลใน DNA (และ RNA) ยังแสดงให้เห็นอีกด้วยว่ามันขัดต่อคำอธิบายด้วยแรงทางเคมีที่จำเป็น มันเหมือนกับการพูดว่า การเขียนพาดหัวข่าวนั้นเกิดขึ้นจากแรงดึงดูดระหว่างหมึกกับกระดาษเข้าด้วยกัน แต่ทว่า มันเห็นได้ชัดว่าในกรณีของการเขียนข้อมูลชึ้นนั้นมันมีอย่างอื่นมากกว่านั้นที่ทำงานอยู่เบื้องหลัง

DNA ทำหน้าที่เป็นเหมือนกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ เรารู้จากประสบการณ์ของเราดีว่าซอฟต์แวร์นั้นมาจากโปรแกรมเมอร์ที่เขียนมันเสมอ เราทราบดีว่าข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นอักษรอียิปต์โบราณหรือแม้แต่สัญญาณวิทยุ เมื่อสืบสาวกลับไปยังแหล่งที่มา พวกมันมักเกิดขึ้นมาจากแหล่งที่เป็นผู้ที่มีสติปัญญาอย่างชาญฉลาดเสมือ ดังที่ เฮนรี เควสท์เลอร์ (Henry Quastler) นักทฤษฎีข้อมูลผู้บุกเบิก ได้ตั้งข้อสังเกตว่า “ข้อมูลมักเกิดขึ้นจากกิจกรรมที่มีสติสัมปชัญญะ” ดังนั้นการค้นพบข้อมูลดิจิทัลใน DNA จึงเป็นเหตุที่แน่ชัดในการอนุมานว่าผู้ทรงปัญญานั้นมีบทบาทสำคัญในต้นกำเนิด

ดังนั้น ID จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับศาสนา แต่ขึ้นอยู่กับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์และประสบการณ์ของเราเกี่ยวกับเหตุและผลซึ่งเป็นพื้นฐานของการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเกี่ยวกับอดีต ซึ่งต่างจากรังสรรค์นิยม เพราะว่า ID เป็นการอนุมานจากข้อมูลทางชีววิทยา

ถึงกระนั้น ID อาจให้การสนับสนุนความเชื่อเกี่ยวกับเทววิทยา แต่นั่นไม่ใช่เหตุผลในการล้มล้าง ผู้คนมักสับสนระหว่างหลักฐานของทฤษฎีกับนัยที่อาจเป็นไปได้ ครั้งหนึ่งนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์หลายคนเริ่มแรกปฏิเสธทฤษฎีบิ๊กแบง เพราะมันดูเหมือนจะชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่อยู่เหนือธรรมชาติ ในการทำให้เกิดสสาร อวกาศ และเวลาขึ้นมาได้ แต่ในที่สุดวิทยาศาสตร์ก็ต้องยอมรับด้วยกับการจำนนต่อหลักฐานที่สนับสนุนอย่างมาก

วันนี้ อคติที่คล้ายกันกำลังเผชิญหน้า ID อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีใหม่นี้ยังต้องได้รับการประเมินบนพื้นฐานของหลักฐาน ไม่ใช่ความพึงพอใจทางปรัชญา ดังที่ศาสตราจารย์ฟลิวได้แนะนำไว้ว่า “เราต้องปฏิบัติตามหลักฐาน ไม่ว่ามันจะนำไปสู่ที่ใด”


Новое сообщение