Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
การเข้าเมืองกับอาชญากรรม

การเข้าเมืองกับอาชญากรรม

Подписчиков: 0, рейтинг: 0

การเข้าเมืองกับอาชญากรรมหมายความถึงความสัมพันธ์ที่รับรู้หรือเป็นจริงระหว่างอาชญากรรมกับการเข้าเมือง เอกสารข้อมูลวิชาการให้ข้อค้นพบคละกันสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าเมืองและอาชญากรรมทั่วโลก การนำเสนอเกินของผู้เข้าเมืองในระบบยุติธรรมทางอาญาของหลายประเทศอาจเป็นเนื่องจากปัจจัยทางสังคมเศรษฐกิจ การจำคุกสำหรับโทษการย้ายถิ่น และการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติโดยตำรวจและระบบยุติธรรม การวิจัยเสนอว่าบุคคลมีแนวโน้มประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าเมืองและอาชญากรรมสูงเกินจริง

ทั่วโลก

การวิจัยเชิงประจักษ์จำนวนมากเรื่องความสัมพันธ์เชิงเหตุระหว่างการเข้าเมืองกับอาชญากรรมมีข้อจำกัดเนื่องจากมีเครื่องมือสำหรับกำหนดเหตุภาพอ่อน นักเศรษฐศาสตร์ผู้หนึ่งเขียนในปี 2557 ว่า "แม้มีงานวิจัยหลายฉบับซึ่งบันทึกสหสัมพันธ์ต่าง ๆ ระหว่างผู้เข้าเมืองกับอาชญากรรมสำหรับหลายประเทศและระยะเวลา แต่ส่วนใหญ่มิได้จัดการกับปัญหาเหตุภาพอย่างจริงจัง" ปัญหาเหตุภาพส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งของผู้เข้าเมืองเป็นแบบภายใน (endogenous) หมายความว่า ผู้เข้าเมืองมักอยู่ในพื้นที่ขาดแคลนซึ่งมีอาชญากรรมสูงกว่า (เพราะไม่สามารถอาศัยอยู่ในพื้นที่ค่าครองชีพแพงกว่าได้) หรือเพราะมีแนวโน้มอยู่ในพื้นที่ที่มีประชากรผู้อยู่อาศัยซึ่งมีภูมิหลังชาติพันธุ์เดียวกันจำนวนมาก เอกสารข้อมูลจำนวนเพิ่มขึ้นที่อาศัยเครื่องมือที่เข้มข้นให้ข้อค้นพบที่คละกัน นักเศรษฐศาสตร์ผู้หนึ่งอธิบายเอกสารข้อมูลที่มีอยู่ในปี 2557 ว่า "การวิจัยสำหรับสหรัฐส่วนมากบ่งชี้ว่าถ้ามีสนธิการใด สนธิการนี้เป็นลบ... ขณะที่ผลสำหรับทวีปยุโรปคละกันสำหรับอาชญากรรมทรัพย์สินแต่ไม่พบสนธิการสำหรับอาชญากรรมรุนแรง" นักเศรษฐศาสตร์อีกผู้หนึ่งเขียนในปี 2557 อธิบายว่า ""หลักฐานที่ยึดการศึกษาเชิงประจักษ์ของหลายประเทศบ่งชี้ว่าไม่มีความเชื่อมโยงเชิงเดียวระหว่างการเข้าเมืองกับอาชญากรรม แต่การทำให้สถานภาพของผู้เข้าเมืองถูกต้องตามกฎหมายมีผลเป็นประโยชน์ต่ออัตราอาชญากรรม" บทปฏิทัศน์ปี 2552 ของเอกสารข้อมูลที่เน้นการศึกษาล่าสุดคุณภาพสูงจากสหรัฐพบว่า การเข้าเมืองโดยทั่วไปมิได้เพิ่มอาชญากรรม อันที่จริง มักกลับลดเสียด้วยซ้ำ

ความสัมพันธ์ระหว่างอาชญากรรมและสถานภาพทางกฎหมายของผู้เข้าเมืองยังมีการศึกษาน้อย แต่การศึกษาโครงการนิรโทษกรรมในสหรัฐและประเทศอิตาลีเสนอว่าสถานภาพทางกฎหมายสามารถอธิบายข้อแตกต่างในอาชญากรรมระหว่างผู้เข้าเมืองชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบด้วยกฎหมายได้เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งน่าจะเป็นเพราะสถานภาพทางกฎหมายนำไปสู่โอกาสตลาดอาชีพที่ดีกว่าสำหรับผู้เข้าเมืองมากที่สุด ทว่า การศึกษาหนึ่งพบว่ารัฐบัญญัติปฏิรูปและควบคุมการเข้าเมือง (IRCA) ค.ศ. 1986 นำไปสู่การเพิ่มอาชญากรรมในหมู่ผู้เข้าเมืองไม่มีเอกสารเดิม

การวิจัยที่มีอยู่เสนอว่าโอกาสตลาดแรงานมีผลกระทบสำคัญต่ออัตราอาชญากรรมของผู้เข้าเมือง ผู้เข้าเมืองมีการศึกษาชายหนุ่มยากจนมีความน่าจะเป็นปัจเจกของการจำคุกสูงสุดในบรรดาผู้เข้าเมือง การวิจัยเสนอว่าการจัดสรรผู้เข้าเมืองสู่ย่านอาชญากรรมสูงเพิ่มความโน้มเอียงอาชญากรรมของผู้เข้าเมืองปัจเจกในระยะต่อมาของชีวิตเนื่องจากมีอันตรกิริยาทางสังคมกับอาชญากรรม

บางปัจจัยอาจมีผลต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลเรื่องอัตราการต้องสงสัย อัตราอาชญากรรม อัตราการพิพากษาลงโทษและประชากรเรือนจำสำหรับการหาข้อสรุปเกี่ยวกับการเกี่ยวข้องโดยรวมของผู้เข้าเมืองในกิจกรรมอาชญากรรม ได้แก่

  • การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ เช่น โพรไฟล์เชื้อชาติ (racial profiling) การตรวจตราเกินในพื้นที่ที่มีผู้เข้าเมืองหรืออคติในกลุ่มอาจทำให้มีจำนวนผู้เข้าเมืองสูงไม่เป็นสัดส่วนในหมู่ผู้ต้องสงสัยอาชญากรรม
  • การเลือกปฏิบัติที่อาจเกิดขึ้นโดยระบบตุลาการอาจเพิ่มจำนวนการพิพากษาลงโทษ
  • คำวินิจฉัยการประกันตัวและคำพิพากษาลงโทษที่ไม่ช่วยเหลือเนื่องจากความง่ายของคนต่างด้าวในการหลบหนี การขาดภูมิลำเนา การขาดการจ้างงานเป็นประจำและการขาดครอบครัวที่สามารถให้ที่พักอาศัยแก่ปัจเจกสามารถอธิบายอัตราการกักขังที่สูงกว่าของผู้เข้าเมืองเมื่อเทียบกับสัดส่วนการพิพากษาลงโทษโดยสัมพัทธ์กับประชากรท้องถิ่น
  • คนพื้นเมืองอาจมีแนวโน้มรายงานอาชญากรรมเมื่อตนเชื่อว่าผู้ก่อเหตุมีภูมิหลังเป็นผู้เข้าเมือง
  • การจำคุกสำหรับความผิดการย้ายถิ่น ซึ่งพบมากกว่าในหมู่ผู้เข้าเมือง จำเป็นต้องนำมาพิจารณาด้วยสำหรับการเปรียบเทียบอย่างมีความหมายระหว่างการมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมโดยรวมของผู้เข้าเมืองกับคนพื้นเมือง
  • คนต่างด้าวที่ถูกจำคุกสำหรับความผิดยาเสพติดอาจมิได้อาศัยอยู่ในประเทศที่ตนกำลังรับโทษอยู่จริง แต่ถูกจับกุมขณะกำลังผ่านแดน
  • การข่มขืนกระทำชำเราโดยคนแปลกหน้ามีแนวโน้มรายงานต่อตำรวจมากกว่าการข่มขืนกระทำชำเราโดยคนรู้จักมาก

ความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าเมืองกับการก่อการร้ายยังมีการศึกษาน้อย การศึกษาในปี 2559 พบว่าระดับการย้ายถิ่นที่สูงกว่าสัมพันธ์กับระดับการก่อการร้ายที่ต่ำกว่าในประเทศให้อาศัย แต่การย้ายถิ่นจากรัฐที่มีแนวโน้มก่อการร้ายเพิ่มความเสี่ยงการก่อการร้ายในประเทศให้อาศัย แต่ผู้ประพันธ์หมายเหตุว่า "เฉพาะผู้ย้ายถิ่นส่วนน้อยจากรัฐที่มีการก่อการร้ายสูงเท่านั้นที่สามารถสัมพันธ์กับการเพิ่มการก่อการร้าย และไม่จำเป็นต้องเป็นความสัมพันธ์ทางตรง"

ทวีปยุโรป

การศึกษาหนึ่งในปี 2558 พบว่าการเพิ่มการหลั่งไหลของการเข้าเมืองสู่ประเทศยุโรปตะวันตกที่เกิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 2000 นั้น "ไม่มีผลต่อการตกเป็นผู้เสียหายอาชญากรรม แต่สัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของความกลัวอาชญากรรม โดยความกลัวอาชญากรรมนี้ต้องกันและสัมพันธ์เชิงบวกกับเจตคติไม่สนับสนุนต่อผู้เข้าเมืองของคนพื้นเมือง" ในการสำรวจเอกสารข้อมูลเศรษฐศาสตร์ที่มีอยู่เรื่องการเข้าเมืองกับอาชญากรรม นักเศรษฐศาสตร์ผู้หนึ่งอธิบายเอกสารข้อมูลที่มีอยู่ในปี 2557 ว่าแสดงว่า "ผลลัพธ์สำหรับทวีปยุโรปนั้นคละกันสำหรับอาชญากรรมทรัพย์สินแต่ไม่พบสนธิการสำหรับอาชญากรรมรุนแรง"

ประเทศเยอรมนี

การศึกษาผลกระทบทางสังคมแบบเบ็ดเสร็จครั้งแรกของผู้ลี้ภัยหนึ่งล้านคนที่ไปประเทศเยอรมนีพบว่าก่อให้เกิด "อาชญากรรมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับความผิดยาเสพติดและการเลี่ยงค่าโดยสาร"

รายงานที่สำนักงานการสอบสวนอาชญากรรมกลางเยอรมันในเดือนพฤศจิกายน 2558 ออกพบว่าในช่วงเดือนมกราคม–กันยายน 2558 อัตราอาชญากรรมของผู้ลี้ภัยอยู่ในระดับเดียวกับชาวเยอรมันพื้นเมือง ตามข้อมูลของดอยท์เชอเวลเลอ รายงานดังกล่าว "สรุปอาชญากรรมส่วนใหญ่ที่ผู้ลี้ภัยเป็นผู้กระทำ (ร้อยละ 67) ประกอบด้วยการลักทรัพย์ การชิงทรัพย์และกลฉ้อฉล อาชญากรรมทางเพศประกอบเป็นน้อยกว่าร้อยละ 1 ของอาชญากรรมทั้งหมดที่ผู้ลี้ภัยก่อ ขณะที่การฆ่าคนประกอบเป็นสัดส่วนน้อยที่สุดที่ร้อยละ 0.1" ตามคำอธิบายของรายงานดังกล่าวของหนังสือพิมพ์อนุรักษนิยม ดีเวลท์ อาชญากรรมที่พบบ่อยที่สุดที่ผู้ลี้ภัยก่อคือการไม่จ่ายค่าโดยสารขนส่งสาธารณะ จากข้อมูลของดอยท์เชอเวลเลอที่รายงานรายงานของสำนักงานการสอบสวนอาชญากรรมกลางเยอรมันในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 จำนวนอาชญากรรมที่ผู้ลี้ภัยก่อมิได้เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนกับจำนวนผู้ลี้ภัยระหว่างปี 2557–2558 จากข้อมูลของดอยท์เชอเวลเลอ "ระหว่างปี 2557 ถึง 2558 จำนวนอาชญากรรมที่ผู้ลี้ภัยก่อเพิ่มร้อยละ 79 ทว่า ในช่วงเดียวกัน จำนวนผู้ลี้ภัยในประเทศเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 440"

ในเดือนพฤษภาคม 2559 โพลิติแฟ็กต์ถือว่าคำแถลงของดอนัลด์ ทรัมป์ที่ว่า "ประเทศเยอรมนีเดี๋ยวนี้เต็มไปด้วยอาชญากรรม" เนื่องจากการย้ายถิ่นเข้าทวีปยุโรปเป็นเท็จเสียส่วนใหญ่ เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวหมายเหตุว่าอัตราอาชญากรรมของประเทศเยอรมนี โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตราอาชญากรรมรุนแรง ต่ำกว่าในสหรัฐมาก และข้อมูลเสนอว่าอัตราอาชญากรรมของผู้ลี้ภัยโดยเฉลี่ยต่ำกว่าของชาวเยอรมันโดยเฉลี่ย

การศึกษาหนึ่งในบทปฏิทัศน์เศรษฐกิจยุโรปพบว่านโยบายการเข้าเมืองของรัฐบาลเยอรมันของผู้มีเชื้อสายเยอรมันกว่า 3 ล้านคนสู่ประเทศเยอรมนีหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของอาชญากรรมอย่างมีนัยสำคัญ ผลนี้มีมากที่สุดในภูมิภาคที่มีการว่างงานสูง ระดับอาชญากรรมเดิมสูงหรือสัดส่วนคนต่างด้าวสูง

ดอยท์เชอเวลเลอรายงานในปี 2549 ว่าในกรุงเบอร์ลิน ผู้เข้าเมืองชายหนุ่มมีแนวโน้มก่ออาชญากรรมรุนแรงสูงกว่าชายหนุ่มชาวเยอรมันสามเท่า ขณะที่กัสทาร์ไบเทอร์ (Gastarbeiter) ในคริสต์ทศวรรษ 1950 และ 1960 มิได้มีอัตราอาชญากรรมเพิ่มขึ้น แต่ผู้เข้าเมืองรุ่นที่สองและรุ่นที่สามมีอัตราอาชญากรรมสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ

ประเทศสวีเดน

รายงานปี 2548 ของสภาแห่งชาติสวีเดนเพื่อการป้องกันอาชญากรรมที่ศึกษาชาวสวีเดนอายุระหว่าง 15 ถึง 51 ปีจำนวน 4.4 ล้านคนระหว่างช่วงปี 2540–2544 พบว่า 58.9% ของผู้ต้องสงสัยอาชญากรรมเกิดกับบิดามารดาที่เป็นชาวสวีเดนทั้งสองคน (74.5% ของประชากรทั้งหมด) 10.4% เกิดกับบิดามารดาที่เป็นชาวสวีเดนหนึ่งคน (9.3% ของประชากรทั้งหมด) 5.2% เกิดกับบิดามารดาชาวต่างด้าวทั้งสองคน (3.2% ของประชากรทั้งหมด) และ 25% ของปัจเจกบุคคลที่เกิดนอกประเทศ (13.1% ของประชากรทั้งหมด) รายงานดังกล่วพบว่าผู้เข้าเมืองชายมีแนวโน้มถูกสอบสวนสำหรับความรุนแรงถึงชีวิตและการปล้นทรัพย์มากกว่าชาติพันธุ์สวีเดน 4 เท่า นอกจากนี้ ผู้เข้าเมืองชายมีโอกาสถูกสอบสวนฐานทำร้ายร่างกายรุนแรงมากกว่าประชากรทั่วไป 4 เท่า และอาชญากรรมทางเพศมากกว่า 5 เท่า ผู้เข้าเมืองจากทวีปแอฟริกาและเอเชียใต้และตะวันตกมีโอกาสถูกตั้งข้อหาอาชญากรรมมากกว่าปัจเจกบุคคลที่เกิดกับบิดามารดาที่เป็นชาวสวีเดนทั้งสองคน 4.5 และ 3.5 เท่าตามลำดับ รายงานดังกล่าวอาศัยสถิติสำหรับ "ผู้ต้องสงสัย" กระทำผิด แต่สตินา โฮล์มเบิร์ก (Stina Holmberg) แห่งสภาสำหรับการป้องกันอาชญากรรมกล่าวว่ามี "ผลต่างเล็กน้อย" ในสถิติสำหรับผู้ต้องสงสัยอาชญากรรมและผู้ที่ถูกพิพากษาลงโทษจริง "ต่ำกว่าร้อยละ 60 เล็กน้อยของความผิดเกือบ 1,520,000 ความผิด... ที่จดทะเบียนระหว่างช่วงดังกล่าวที่รวมอยู่ในการศึกษานี้ สามารถบี้งชี้ว่าเกิดจากบุคคลที่เกิดในประเทศสวีเดนกับบิดามารดาที่เกิดเป็นชาวสวีเดนทั้งสองคน" ทว่าในรายงานรัฐบาลปี 2549 เสนอว่าผู้เข้าเมืองเผชิญกับการเลือกปฏิบัติโดยฝ่ายบังคับกฎหมาย ซึ่งนำไปสู่ข้อแตกต่างอย่างมีความหมายระหว่างผู้ต้องสงสัยอาชญากรรมกับผู้ถูกพิพากษาลงโทษจริง ในรายงานปี 2551 ของสภาแห่งชาติสวีเดนสำหรับการป้องกันอาชญากรรมพบหลักฐานการเลือกปฏิบัติต่อผู้มีเชื้อสายต่างด้าวในระบบยุติธรรมสวีเดน รายงานปี 2548 พบว่าผู้เข้าเมืองที่เข้าเมืองสวีเดนระหว่างสมัยเด็กตอนต้นมีอัตราอาชญากรรมต่ำกว่าผู้เข้าเมืองอื่น เมื่อคำนึงถึงปัจจัยเศรษฐกิจสังคม (เพศ อายุ การศึกษาและรายได้) ช่องว่างอัตราอาชญากรรมระหว่างผู้เข้าเมืองและชนพื้นเมืองลดลง

รายงานปี 2539 โดยสภาแห่งชาติสวีเดนสำหรับการป้องกันอาชญากรรมพบว่าระหว่างปี 2528 ถึง 2532 ปัจเจกบุคคลที่เกิดในประเทศอิรัก แอฟริกาเหนือ (ประเทศแอลจีเรีย ลิเบีย โมร็อกโกและตูนิเซีย) ทวีปแอฟริกา (ยกเว้นประเทศยูกันดาและประเทศแอฟริกาเหนือ) ตะวันออกกลางอื่น (ประเทศจอร์แดน ปาเลสไตน์ ซีเรีย) ประเทศอิหร่านและยุโรปตะวันออก (ประเทศโรมาเนีย บัลแกเรีย) ถูกพิพากษาลงโทษฐานข่มขืนกระทำชำเราที่อัตราสูงกว่าปัจเจกบุคคลที่เกิดในประเทศสวีเดน 20, 23, 17, 9, 10 และ 18 เท่าตามลำดับ ทั้งรายงานปี 2539 และ 2548 ถูกวิจารณ์ว่าใช้การควบคุมสำหรับปัจจัยสังคมเศรษฐกิจไม่เพียงพอ

รายงานปี 2556 พบว่าทั้งผู้เข้าเมืองรุ่นแรกและรุ่นที่สองมีอัตราความผิดต้องสงสัยสูงกว่าชาวสวีเดนพื้นเมือง ขณะที่ผู้เข้าเมืองรุ่นแรกมีอัตราผู้กระทำความผิดสูงสุด แต่ผู้กระทำความผิดมีจำนวนความผิดเฉลี่ยต่ำสุด ซึ่งบ่งชี้ว่ามีอัตราการกระทำความผิดอัตราต่ำสูง (ผู้กระทำความผิดต้องสงสัยจำนวนมากมีความผิดที่จดทะเบียนไว้ครั้งเดียว) อัตราการกระทำความผิดเรื้อรัง (ผู้กระทำความผิดที่ต้องสงสัยหลายความผิด) สูงกว่าในหมู่ชาวสวีเดนพื้นเมืองมากกว่าผู้เข้าเมืองรุ่นแรก ผู้เข้าเมืองรุ่นที่สองมีอัตรากระทำความผิดเรื้อรังสูงกว่าผู้เข้าเมืองรุ่นแรกที่มีอัตรากระทำความผิดรวมต่ำกว่า

การศึกษาโดยใช้ปัจจัยสังคมเศรษฐกิจที่เบ็ดเสร็จกว่ารายงานปี 2539 และ 2548 พบว่า "สำหรับชาย เราสามารถอธิบายระหว่างครึ่งหนึ่งและสามในสี่ของช่องว่างอาชญากรมโดยอ้างอิงทรัพยากรทางสังคมเศรษฐกิจที่ได้จากพ่อแม่และการแบ่งแยกสถานที่ใกล้เคียง สำหรับหญิง เราสามารถอธิบายได้มากกว่า บางทีเป็นช่องว่างทั้งหมด" ผู้ประพันธ์ยังพบอีกว่า "วัฒนธรรมมีความเป็นไปได้น้อยที่จะเป็นสาเหตุอาชญากรรมที่น่าเชื่อถือในหมู่ผู้เข้าเมือง"

สหราชอาณาจักร

วันที่ 30 มิถุนายน 2556 มีนักโทษ 10,786 คนจาก 160 ประเทศถูกจำคุกในประเทศอังกฤษและเวลส์ประเทศโปแลนด์ จาไมกาและสาธารณรัฐไอร์แลนด์มีสัดส่วนคนต่างด้าวสูงสุดในเรือนจำสหราชอาณาจักร โดยรวม มีคนต่างด้าวอยู่ 13% ของประชากรเรือนจำ ขณะที่คนต่างด้าวคิดเป็น 13% ของประชากรรวมในประเทศอังกฤษและเวลส์ ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 2000 มีการเพิ่มขึ้นของคนต่างด้าวในเรือนจำสหราชอาณาจักร 111% จากข้อมูลของการศึกษาหนึ่ง "มีหลักฐานน้อยที่จะสนับสนุนทฤษฎีว่าประชากรเรือนจำต่างด้าวยังเติบโตต่อเพราะคนต่างด้าวมีแนวโน้มก่ออาชญากรรมมากกว่าพลเมืองบริเตนหรือมีแนวโน้มก่ออาชญากรรมสภาพรุนแรงมากกว่า" การเพิ่มขึ้นบางส่วนอาจเป็นเพราะจำนวนการพิพากษาลงโทษความผิดยาเสพติด อาชญากรรมที่สัมพันธ์กับการเข้าเมืองมิชอบด้วยกฎหมาย (กลฉ้อฉลและการปลอมเอกสารราชการ) ข้อกำหนดการเนรเทศที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการขาดทางเลือกที่ใช้ได้ของการคุมขัง (ซึ่งมีผลต่อการประกันตัวและการตัดสินใจพิพากษา) จำนวนไม่เป็นสัดส่วน

งานวิจัยไม่พบหลักฐานผลกระทบเชิงเหตุเฉลี่ยของการเข้าเมืองต่ออาชญากรรม การศึกษาหนึ่งที่ยึดหลักฐานจากประเทศอังกฤษและเวลส์ในคริสต์ทศวรรษ 2000 ไม่พบหลักฐานผลกระทบเชิงเหตุเฉลี่ยของการเข้าเมืองต่ออาชญากรรมในประเทศอังกฤษและเวลส์ ไม่พบผลกระทบเชิงเหตุและไม่มีผลต่างของการเข้าเมืองต่อโอกาสการถูกจับสำหรับกรุงลอนดอน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงของการเข้าเมืองมาก การศึกษาการเข้าเมืองสหราชอาณาจักรสองระลอกใหญ่ (ผู้ลี้ภัยปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 และต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 และการไหลบ่าจากประเทศที่เข้าร่วมสหภาพยุโรปหลังปี 2547) พบว่า "ระลอกแรกนำให้อาชญากรมทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่มีนัยสำคัญ ส่วนระลอกที่สองมีผลกระทบเชิงลบเล็กน้อย" ไม่มีผลต่อาชญากรรมรุนแรง อัตราการจับกุมไม่แตกต่างกัน และการเปลี่ยนแปลงอาชญากรรมไม่สามารถบอกได้ว่าถือเป็นอาชญากรรมต่อผู้เข้าเมือง ข้อค้นพบนี้ต้องกันกับญัตติว่าข้อแตกต่างในโอกาสตลาดแรงงานของกลุ่มย้ายถิ่นต่าง ๆ มีผลต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่ออาชญากรรม" การศึกษาหนึ่งในปี 2556 พบว่า "อาชญากรรมต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญในย่านที่อยู่อาศัยที่มีสัดส่วนประชากรเข้าเมืองพอสมควร" และ "ผลลดอาชญากรรมจะเสริมขึ้นมากหากดินแดนแทรกนั้นประกอบด้วยผู้เข้าเมืองจากภูมิหลังชาติพันธุ์เดียวกัน" การศึกษาอาชญากรรมทรัพย์สินปี 2557 โดยยึดการสำรวจอาชญากรรมและความยุติธรรมปี 2546 (การสำรวจตัวแทนชาติซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศอังกฤษและเวลส์ถูกถามคำถามเกี่ยวกับกิจกรรมอาชญากรรมของตน) เมื่อคำนวณการรายงานอาชญากรรมต่ำกว่าจริง พบว่า "ผู้เข้าเมืองที่อยู่ในกรุงลอนดอนและผู้เข้าเมืองผิวดำมีกิจกรรมทางการเมืองน้อยกว่าคนพื้นเมืองมากอย่างมีนัยสำคัญ" อีกการศึกษาหนึ่งในปี 2557 พบว่า "พื้นที่ซึ่งมีสัดส่วนผู้เข้าเมืองล่าสุดสูงสุดตั้งแต่ปี 2547 ไม่มีระดับการปล้อนทรัพย์ ความรุนแรงหรือการกระทำความิดทางเพศสูงขึ้น" แต่ "มีระดับการกระทำความผิดยาเสพติดสูงกว่า"

มีรายงานในปี 2550 ว่าผู้เข้าเมืองก่ออาชญากรรมกว่าหนึ่งในห้าของอาชญากรรมที่ไขได้ในกรุงลอนดอน พลเมืองที่มิใช่บริเตนกระทำความผิดทางเพศที่ไขได้ทั้งหมดและมีรายงานประมาณหนึ่งในสาม และกลฉ้อฉลที่ไขได้ทั้งหมดและมีรายงานกึ่งหนึ่งในเมืองหลวง การศึกษาหนึ่งในปี 2551 พบว่าอัตราอาชญากรรมของผู้เข้าเมืองยุโรปตะวันออกเท่ากับอัตราของประชากรพื้นเมือง

สหรัฐ

การศึกษาส่วนใหญ่ในสหรัฐพบอัตราอาชญากรรมในหมู่ผู้เข้าเมืองต่ำกว่าเมื่อเทียบกับผู้ที่มิได้เข้าเมือง และความหนาแน่นของผู้เข้าเมืองที่สูงขึ้นสัมพันธ์กับอัตราอาชญากรรมต่ำลง งานวิจัยบางส่วนถึงกับเสนอว่าการเข้าเมืองเพิ่มอาจอธิบายอัตราอาชญากรรมของสหรัฐที่ลดลงได้บางส่วน การศึกษาหนึ่งในปี 2548 พบว่าการเข้าเมืองพื้นที่มหานครของสหรัฐขนาดใหญ่มิได้เพิ่มอัตราอาชญากรรมในที่นั้น ซ้ำบางกรณีกลับลด การศึกษาหนึ่งในปี 2552 พบว่าการเข้าเมืองล่าสุดมิได้สัมพันธ์กับการฆ่าคนในออสติน รัฐเท็กซัส อัตราอาชญากรรมต่ำของผู้เข้าเมืองสหรัฐแม้มีระดับการศึกษาต่ำกว่า ระดับรายได้ต่ำกว่า และอาศัยอยู่ในพื้นที่เมือง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควรนำให้อัตราอาชญากรรมสูงขึ้น) อาจเนื่องจากอัตราพฤติกรรมต่อต้านสังคมในหมู่คนเข้าเมืองต่ำกว่า การศึกษาหนึ่งในปี 2558 พบว่าการเข้าเมืองสหรัฐของชาวเม็กซิโกสัมพันธ์กับการเพิ่มการทำร้ายร่างกายจนได้รับอันตรายสาหัสและการลดอาชญากรรมทรัพย์สิน การศึกษาหนึ่งในปี 2559 ไม่พบความเชื่อมโยงระหว่างประชากรผู้เข้าเมืองกับอาชญากรรมรุนแรง แม้มีความสัมพันธ์เล็กน้อยแต่มีนัยสำคัญระหว่างผู้เข้าเมืองไม่มีเอกสารกับอาชญากรรมที่สัมพันธ์กับยาเสพติด

งานวิจัยพบว่าชุมชนปลอดภัย (Secure Communities) โครงการบังคับการเข้าเมืองซึ่งนำไปสู่การกักกันมากถึง 250,000 คน (เมื่อมีการจัดพิมพ์การศึกษานี้ในเดือนพฤศจิกายน 2557) ไม่มีผลกระทบที่สังเกตได้ต่ออัตราอาชญากรรม การศึกษาหนึ่งในปี 2558 พบว่ารัฐบัญญัติปฏิรูปและควบคุมการเข้าเมือง ค.ศ. 1986 ซึ่งทำให้ผู้เข้าเมืองเกือบ 3 ล้านคนชอบด้วยกฎหมาย นำให้ "อาชญากรรมลดลง 3-5% เนื่องจากมีอาชญากรรมทรัพย์สินลดลงเป็นหลัก เทียบเท่ากับอาชญากรรมรุนแรงและทรัพย์สินน้อยลง 120,000-180,000 ครั้งที่มีผู้ก่อทุกปีเนื่องจากการทำให้ชอบด้วยกฎหมายนี้" จากข้อมูลของการศึกษาหนึ่ง นครคุ้มภัย (sanctuary cities) ซึ่งลงมติรับนโยบายว่าจะไม่ฟ้องดำเนินคดีกับบุคคลเพียงเพราะเป็นคนต่างด้าวมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลที่มีนัยสำคัญต่ออาชญากรรม

มีการจัดทำการวิเคราะห์ทางการเมืองแรก ๆ ในสหรัฐของความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าเมืองและอาชญากรรมในต้นคริสต์ทศวรรษ 20 โดยคณะกรรมการดิลลิงแฮม (Dillingham Commission) ซึ่งพบความสัมพันธ์โดยเฉพาะสำหรับผู้เข้าเมืองจากประเทศที่มิใช่ยุโรปเหนือ ส่งผลให้มีรัฐบัญญัติลดการเข้าเมืองต่าง ๆ ในคริสต์ทศวรรษ 1920 รวมทั้งรัฐบัญญัติโควตาฉุกเฉิน ค.ศ. 1921 ซึ่งเอื้อการเข้าเมืองจากยุโรปเหนือและยุโรปตะวันตก การวิจัยล่าสุดมีข้อกังขาข้อสรุปที่ได้จากคณะกรรมการดิลลิงแฮม การศึกษาหนึ่งพบว่า "คณะกรรมการรัฐบาลสำคัญด้านการเข้าเมืองและอาชญากรรมในต้นคริสต์ทศวรรษที่ 20 อาศัยหลักฐานที่มีความลำเอียงรวมกลุ่ม [aggregation bias] และการขาดข้อมูลประชากรที่แม่นยำ ซึ่งนำให้พวกเขานำเสนอมุมมองบางส่วนและบางครั้งชวนเข้าใจผิดของการเปรียบเทียบความเป็นอาชญากรของผู้เข้าเมือง-คนพื้นเมือง ด้วยข้อมูลและระเบียบวิธีที่ปรับปรุงขึ้น เราพบว่าในปี 2447 อัตราหมายจำคุกเรือนจำสำหรับอาชญากรรมที่ร้ายแรงกว่าค่อนข้างเท่ากันสำหรับคนพื้นเมืองทุกช่วงอายุยกเว้นอายุ 18 และ 19 ปี ซึ่งอัตราหมายจำคุกสำหรับผู้เข้าเมืองสูงกว่าผู้เกิดพื้นเมือง ในปี 2473 ผู้เข้าเมืองมีโอกาสถูกหมายจำคุกเรือนจำน้อยกว่าชนพื้นเมืองสำหรับทุกอายุ 20 ปีเป็นต้นไป แต่สถิตินี้หมดไปเมื่อดูหมายจำคุกสำหรับอาชญากรรมรุนแรง"

สำหรับต้นคริสต์ทศวรรษที่ 20 การศึกษาหนึ่งพบว่าผู้เข้าเมืองมีอัตราจำคุก "ค่อนข้างเท่ากัน" สำหรับอาชญากรรมสำคัญเทียบกับชนพื้นเมืองในปี 2447 แต่ต่ำกว่าสำหรับอาชญากรรมสำคัญ (ยกเว้นการกระทำความผิดรุนแรง ซึ่งมีอัตราเท่ากัน) ในปี 2473 คณะกรรมการร่วมสมัยใช้ข้อมูลน่าคลางแคลงและตีความข้อมูลไปในทางที่ชวนสงสัย

การรับรู้ความเป็นอาชญากรของผู้เข้าเมือง

การวิจัยเสนอว่าบุคคลประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าเมืองกับความเป็นอาชญากรสูงกว่าจริง การศึกษาในประเทศเบลเยียมในปี 2559 พบว่าการอาศัยอยู่ในชุมชนที่มีหลายชาติพันธุ์นำให้กลัวอาชญากรรมเพิ่มขึ้นโดยไม่สัมพันธ์กับอัตราอาชญากรรมที่แท้จริง การศึกษาหนึ่งในปี 2558 พบว่าการเพิ่มการไหลบ่าของการเข้าเมืองประเทศยุโรปตะวันตกที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 2000 "ไม่มีผลต่อการตกเป็นผู้เสียหายอาชญากรรม แต่สัมพันธ์กับการเพิ่มความกลัวอาชญากรรม โดยอย่างหลังต้องกันและมีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับเจตคติไม่สนับสนุนต่อผู้เข้าเมืองของชนพื้นเมือง" ชาวอเมริกันประเมินความสัมพันธ์ระหว่างผู้ลี้ภัยกับการก่อการร้ายสูงกว่าจริง

ผลลัพธ์ทางการเมือง

การวิจัยเสนอว่าการรับรู้ว่ามีความเชื่อมโยงเชิงเหตุทางบวกระหว่างการเข้าเมืองกับอาชญากรรมนำให้มีการสนับสนุนนโยบายหรือพรรคการเมืองที่ต่อต้านการเข้าเมืองมากขึ้น การวิจัยยังเสนอว่าวงจรร้ายความไร้เหตุผลและการลดคุณค่าในตัวผู้เข้าเมืองอาจเพิ่มความเป็นอาชญากรและความไร้เหตุผลของผู้เข้าเมือง ตัวอย่างเช่น นักรัฐศาสตร์แคลร์ แอดิดา (Claire Adida) แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดีเอโก นักรัฐศาสตร์เดวิด ไลทิน (David Laitin) แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และนักเศรษฐศาสตร์มารี-แอน วัลฟอร์ต (Marie-Anne Valfort) แห่งมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์แย้งว่า "นโยบายที่อาศัยความกลัวซึ่งมุ่งเป้ากลุ่มบุคคลตามศาสนาหรือภูมิภาคกำเนิดนั้นเป็นการขัดขวาง การวิจัยของเราเองซึ่งอธิบายบูรณาการที่ล้มเหลวของผู้เข้าเมืองมุสลิมในประเทศฝรั่งเศสเสนอว่านโยบายดังกล่าวสามารถป้อนข้าสู่วงจรร้ายที่ทำลายความมั่นคงของชาติ ความกลัวอิสลามของชาวฝรั่งเศสซึ่งเป็นผลต่างทางวัฒนธรรมกระตุ้นให้ผู้เข้าเมืองมุสลิมถอนตัวจากสังคมฝรั่งเศส แล้วป้อนกลับเข้าสู่ความกลัวอิสลามของชาวฝรั่งเศส แล้วยิ่งกระตุ้นการลดคุณค่าในตัวมุสลิมเลวร้ายลง ที่จริง ความล้มเหลวของความมั่นคงฝรั่งเศสในปี 2558 น่าจะเกิดจากยุทธวิธีตำรวจที่ข่มขู่มากกว่าต้อนรับลูกหลานของผู้เข้าเมือง ซึ่งเป็นแนวทางที่ทำให้ยากต่อการได้มาซึ่งสารสนเทศสำคัญจากสมาชิกชุมชนเกี่ยวกับภัยที่อาจเกิดขึ้น"

การศึกษาผลกระทบระยะยาวของวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 พบว่าการเพิ่มขึ้นของอาชญากรรมความเกลียดชังต่อมุสลิมหลังเหตุการณ์ดังกล่าวลดการผสมกลมกลืนโดยผู้เข้าเมืองมุสลิม เมื่อควบคุมปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้ประพันธ์พบว่า "ผู้เข้าเมืองมุสลิมที่อาศัยอยู่ในรัฐที่มีอาชญากรรมความเกลียดชังเพิ่มขึ้นสูงสุดยังแสดงโอกาสากรสมรสภายในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันกับตนสูงขึ้น การเจริญพันธุ์สูงขึ้น การเข้ามีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของสตรีลดลงและความชำนาญภาษาอังกฤษลดลง"

รีฐที่มีการกระทำก่อการร้ายในแผ่นดินตนเองหรือต่อพลเมืองของตนมีโอกาสรับการจำกัดเข้มงวดขึ้นต่อการรับรองที่ลี้ภัย ปัจเจกบุคคลที่เชื่อว่าชาวแอฟริกันอเมริกันและฮิสปานิกมีแนวโน้มความรุนแรงมากกว่ายังมีโอกาสสนับสนุนโทษประหารชีวิตเพิ่มขึ้นด้วย

คณะกรรมการดิลลิงแฮม (Dillingham Commission) เลือกผู้เข้าเมืองจากยุโรปใต้สำหรับการเข้ามีส่วนในอาชญากรรมรุนแรง (แม้ข้อมูลไม่สนับสนุนข้อสรุปดังกล่าว) ข้อค้นพบของคณะกรรมการให้เหตุผลสำหรับรัฐบัญญัติการลดการเข้าเมืองต่าง ๆ ในคริสต์ทศวรรษ 1920 รวมทั้งรัฐบัญญัติโควตาฉุกเฉิน ค.ศ. 1921 ซึ่งเอื้อต่อการเข้าเมืองจากยุโรปเหนือและตะวันตกโดยการจำกัดจำนวนผู้เข้าเมืองต่อปีจากประเทศใด ๆ เหลือร้อยละ 3 ของจำนวนประชากรทั้งหมดจากประเทศนั้นที่อาศัยอยู่ในสหรัฐในปี 2453 ขบวนการสนับสนุนการจำกัดการเข้าเมืองซึ่งคณะกรรมการดิลลิงแฮมช่วยส่งเสริมนั้นลงเอยด้วยสูตรถิ่นกำเนิดชาติ (National Origins Formula) ส่วนหนึ่งของรัฐบัญญัติการเข้าเมือง ค.ศ. 1924 ซึ่งจำกัดการเข้าเมืองชาติที่ 150,000 คนต่อปีและห้ามการเข้าเมืองจากทวีปเอเชียโดยสิ้นเชิง


Новое сообщение