Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง
โรคหลงตัวเอง | |
---|---|
ชื่ออื่น | Narcissistic personality disorder, megalomania |
นาร์ซิสซัสผู้กำลังมองเงาสะท้อนตนเอง วาดโดยการาวัจโจ | |
สาขาวิชา | จิตเวชศาสตร์ |
อาการ | รู้สึกว่าตัวเองสำคัญมากกว่าความเป็นจริง ความต้องการถูกชมเชยมากเกินปกติ ไม่เข้าใจความรู้สึกผู้อื่น |
การตั้งต้น | วัยรุ่น |
ระยะดำเนินโรค | ระยะยาว |
สาเหตุ | ไม่ทราบ |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | โรคอารมณ์สองขั้ว, การติดยาเสพติด, โรคซึมเศร้า, โรควิตกกังวล |
การรักษา | ยาก |
ความชุก | 1% |
ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ |
---|
กลุ่ม A (วิปริต) |
กลุ่ม B (เจ้าอารมณ์) |
กลุ่ม C (วิตกกังวล) |
แบบไม่เด่นชัด |
ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง (อังกฤษ: Narcissistic personality disorder, NPD) หรือที่มักรู้จักกันในชื่อ โรคหลงตัวเอง เป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่ส่งผลให้พฤติกรรมผิดปกติในระยะยาว อาการหลักได้แก่การรู้สึกว่าตัวเองสำคัญมากกว่าความเป็นจริง มีความต้องการถูกชมเชยมากเกินปกติ และการไม่เข้าใจความรู้สึกผู้อื่น ผู้เป็นโรคนี้เสียเวลากับการคิดเกี่ยวกับความสำเร็จ ความมีอำนาจ หรือเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของตน พวกเขามักเอาเปรียบคนรอบข้าง พฤติกรรมมักเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นและเกิดขึ้นได้ในหลายเหตุการณ์
ยังไม่มีใครรู้สาเหตุของโรคหลงตัวเอง คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตจัดให้โรคนี้อยู่ในกลุ่ม B (cluster B) โรคถูกวินิฉัยด้วยการสัมภาษณ์โดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ โรคนี้ต่างจากอาการฟุ้งพล่าน และอาการติดยา
การรักษายังไม่ถูกศึกษามากนัก การบำบัดมักเป็นไปได้ยากเนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับว่าตัวเองมีปัญหา เชื่อกันว่าคนประมาณหนึ่งเปอร์เซ็นต์เป็นโรคนี้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต โรคนี้มักเกิดขึ้นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงและในคนหนุ่มสาวมากกว่าคนมีอายุ บุคลิกภาพนี้ถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2468 โดยโรเบิร์ต วีลเดอร์ (Robert Wealder) โดยชื่อที่ใช้ในปัจจุบันถูกใช้ครั้งแรกใน พ.ศ. 2511
อาการ
คนที่เป็นโรคหลงตัวเองจะชอบโอ้อวด ต้องการให้คนอื่นชม ชอบเหยียดหยามผู้อื่น และขาดความร่วมรู้สึกต่อผู้อื่น ทำให้ผู้เป็นโรคหลงตัวเองดูเหมือนมีพฤติกรรมที่ดื้อรั้น รู้สึกว่าตนเองเหนือกว่าคนอื่น และมักคอยหาทางควบคุมผู้อื่นหรือใช้อำนาจแบบผิด ๆ โรคหลงตัวเองต่างกับความมั่นใจในตนเอง โดยคนเป็นโรคนี้มักให้ความสำคัญกับตนเองมากกว่าผู้อื่น และมักไม่เอาใจใส่ความรู้สึกหรือความต้องการของคนรอบข้าง รวมถึงคาดหวังว่าตนเองจะได้รับการปฏิบัติที่เหนือกว่า โดยไม่คำนึงถึงสถานะความสำเร็จที่แท้จริงของตน นอกจากนี้ผู้เป็นโรคนี้มักมีอาการอัตตาอ่อนแอ (fragile ego) ทำให้ไม่สามารถทนต่อคำวิจารณ์ของคนอื่น และมักดูถูกคนอื่นเพื่อให้รู้สึกว่าตนเหนือกว่า
คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต พิมพ์ที่ 5 (DSM-5) ระบุว่าบุคคลที่เป็นโรคหลงตัวเองมักมีอาการบางข้อหรือทุกข้อต่อไปนี้:
- โอ้อวดเพื่อให้ผู้อื่นปฏิบัติราวกับตนอย่างอยู่เหนือกว่า
- คงอยู่กับจินตนาการเกี่ยวกับอำนาจ ความสำเร็จ ความฉลาด ความมีเสน่ห์ และอื่น ๆ
- มองว่าตัวเองพิเศษ เหนือกว่าผู้อื่น และเกี่ยวข้องกับคนหรือสถาบันดัง
- ต้องการให้คนอื่นชื่นชมตลอดเวลา
- รู้สึกว่าตนเองควรได้รับการปฏิบัติแบบพิเศษและผู้อื่นควรเชื่อฟังตน
- เอาเปรียบผู้อื่นเพื่อผลดีต่อตนเอง
- ไม่ยอมเข้าใจความรู้สึก ความต้องการ และความจำเป็นของผู้อื่น
- อิจฉาผู้อื่นและเชื่อว่าผู้อื่นก็อิจฉาตนเช่นกัน
- ขี้โม้และมีพฤติกรรมดื้อรั้น
โรคหลงตัวเองมักเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นหรือช่วงเข้าสู่ผู้ใหญ่ เด็กและวัยรุ่นอาจมีพฤติกรรมบางอย่างที่คล้ายกับโรคหลงตัวเองทว่ามักเป็นการชั่วคราว และไม่เข้าขายของการวินิจฉัยโรค อาการที่แท้จริงของโรคมักเกิดขึ้นในหลายเหตุการณ์ และไม่เปลี่ยนแปลงแม้เวลาผ่านไป DSM-5 ระบุว่าผู้ป่วยต้องแสดงอาการที่แตกต่างจากบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมอย่างเห็นได้ชัดถึงจะเรียกได้ว่าเป็นอาการของโรคหลงตัวเอง
สาเหตุ
ไม่มีใครรู้ถึงสาเหตุของโรคหลงตัวเอง ผู้เชี่ยวชาญมักใช้แบบจำลองชีวจิตสังคม (biopsychosocial model) ของสาเหตุ ซึ่งแปลว่าปัจจัยทางสภาพแวดล้อม สังคม พันธุกรรม และชีวประสาท ล้วนมีผลต่อบุคลิกภาพหลงตัวเอง
พันธุกรรม
หลักฐานชี้ว่าโรคหลงตัวเองสามารถสืบทอดได้ และโอกาสการเกิดโรคสูงขึ้นมากหากมีญาติที่มีประวัติว่าเคยเป็นโรคหลงตัวเอง งานวิจัยเกี่ยวกับการเกิดความผิดปกติทางบุคลิกภาพในฝาแฝดพบว่าโรคหลงตัวเองมีอัตราพันธุกรรมสูง
อย่างไรก็ตาม ยีนและปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีนที่มีส่วนก่อให้เกิดโรคยังไม่ถูกพบ
สภาพแวดล้อม
เชื่อว่าปัจจัยทางสภาพแวดล้อมและสังคมก็มีส่วนก่อให้เกิดโรคหลงตัวเอง ในบางคน โรคอาจพัฒนาจากความสัมพันธ์ที่บกพร่องต่อผู้ดูแลที่มักเป็นผู้ปกครอง สิ่งนี้อาจส่งผลให้เด็กมองตนเองว่าไม่สำคัญและขาดการเชื่อมต่อกับผู้อื่น และมักเชื่อว่าตนเองมีบุคลิกภาพบางอย่างที่ไม่ปกติทำให้พวกเขา/เธอไม่มีค่าและไม่เป็นที่ต้องการ เชื่อว่าผู้ปกครองที่ตามใจมากเกินไปหรือที่ใจร้ายและบังคับมากเกินไปอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผล
อ้างอิงจาก Leonard Groopman และ Arnold Cooper ปัจจัยต่อไปนี้ถูกระบุโดยนักวิจัยหลายคนว่าเป็นปัจจัยที่อาจส่งเสริมให้เกิดโรคหลงตัวเอง:
- พื้นนิสัยที่อ่อนไหวมากเกินไปซึ่งติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด
- การชื่นชมเกินจริงที่ไม่เคยถูกดุลด้วยความคิดเห็นที่เป็นจริง
- การชื่นชมพฤติกรรมดี หรือการวิจารณ์พฤติกรรมไม่ดีที่มากเกินไป
- การที่ผู้ปกครอง ญาติ หรือเพื่อนตามใจและประเมินค่าสูงไป
- ถูกผู้ใหญ่ชมว่ามีทักษะหรือหน้าตาดี
- การทารุณกรรมทางอารมณ์อย่างรุนแรงในวัยเด็ก
- การดูแลที่ไม่สม่ำเสมอจากผู้ปกครอง
- การเรียนรู้พฤติกรรมชักจูงจากผู้ปกครองหรือเพื่อน
- ถูกให้ความสำคัญจากผู้ปกครองเพราะพวกเขาต้องการเพิ่มความมั่นใจตนเอง
ดูเพิ่ม
- Brian Blackwell (case study)
- Disengaging from a narcissist using the no contact rule or grey rock method
- Egomania
- Egotism
- Hubris
- Narcissistic abuse
- Narcissistic leadership
- Narcissistic parent
- Narcissistic Personality Inventory
- Narcissistic rage and narcissistic injury
- Narcissistic supply
- Selfishness
- Superiority complex
- True self and false self