Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
คาวา
คาวา | |
---|---|
Young Piper methysticum | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Magnoliids |
อันดับ: | Piperales |
วงศ์: | Piperaceae |
สกุล: | Piper |
สปีชีส์: | P. methysticum |
ชื่อทวินาม | |
Piper methysticum G.Forst. |
คาวา ชื่อวิทยาศาสตร์: Piper methylsticum ในอินโดนีเซียเรียกวาฆีหรือวาตี ในอิเรียนจายาเรียกบารี เป็นไม้พุ่มเนื้อแข็ง ส่วนข้อโป่งพอง มีรอยแผลจากการหลุดร่วงของใบดอกแยกเพศ แยกต้น ดอกช่อ ดอกย่อยไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ติดผลน้อย ผลมีเมล็ดเดียว
คาวาเป็นพืชที่พบในหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นพืชท้องถิ่นในบริเวณวานูอาตู ซามัว ตองงา ฟิจิ ไมโครนีเซีย และปาปัวนิวกินี นิยมนำรากและกิ่งก้านของพืชชนิดนี้มาเคี้ยว ทำให้สารในพืชคือมารินดินและไดไฮโดรสติซิน สารนี้ทำให้ซึม ง่วงงุน รู้สึกมีความสุขและทำให้ฟันทน ใช้ผลิตเครื่องดื่มที่เรียกคาวา โดยนำชิ้นส่วนของต้นไปบดแช่น้ำแล้วกรอง นำของเหลวสีขาวอมน้ำตาลไปดื่ม รากและใบใช้รักษาอาการปวดข้อ วัณโรค หนองใน อาการไข้ นอกจากนั้น คาวายังเป็นเครื่องดื่มที่มีความสำคัญทางพิธีกรรม ในงานประเพณีต่างๆและยังเป็นของขวัญที่สำคัญ ในคาวามีสารคาวาแลกโทน ซึ่งออกฤทธิ์เป็นยาแก้ปวด คลายกล้ามเนื้อ คาวาแห้ง 100 กรัมมีคาวาแลกโทนประมาณ 3-20 กรัม
- พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 16: พืชให้สารกระตุ้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 140 – 142