Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ดีปลี
ดีปลี | |
---|---|
ใบและผลของดีปลี | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Magnoliids |
อันดับ: | Piperales |
วงศ์: | Piperaceae |
สกุล: | Piper |
สปีชีส์: | P. longum |
ชื่อทวินาม | |
Piper longum Linn. |
ดีปลี มีชื่อท้องถิ่นอื่นอีกคือ: ดีปลีเชือก (ภาคใต้) ประดงข้อ ปานนุ (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ดีปลีเป็นไม้เลื้อยชนิดหนึ่ง ใบรูปไข่ โคนมน ปลายแหลม เป็นพืชใบเดี่ยว คล้ายใบย่านางแต่ผิวใบมันกว่า บางกว่าเล็กน้อย ดอกเป็นรูปทรงกระบอกปลายมน เมื่อแก่จะมีผลเป็นสีแดง
การปลูกเลี้ยง
นิยมปลูกโดยการใช้เถา ชอบดินร่วนและอุดมสมบรูณ์ ทนแห้งแล้งได้ดี ฤดูที่เหมาะสมในการปลูกก็คือฤดูฝน เวลาปลูกใช้เถาที่ชำจนรากงอกแล้วปลูก แล้วทำเสาให้เลื้อย ควรดูแลเรื่องน้ำและศัตรูพืชด้วย ดีปลีเป็นสมุนไพรที่ใช้มากในอุตสาหกรรม ยาแผนโบราณประมาณ 5,000 – 7,000 กิโลกรัม/ปี ปลูกได้ดีในภาคใต้ของประเทศไทย นับว่าเป็นพืชสมุนไพรตัวหนึ่งที่อยู่ในแผน พัฒนาเพื่อส่งเป็นสินค้าส่งออก
ประโยชน์
ใช้ผลแก่แห้งเป็นยา โดยเก็บช่วงที่ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก ตากแดดให้แห้ง มีรสเผ็ดร้อน ขม มีสรรพคุณขับลม บำรุงธาตุ แก้จุกเสียด ซึ่งจากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ดีปลีแห้งประกอบด้วย " อัลคาลอยด์" ชื่อว่า Piperine ประมาณ 4 – 6%, Chavicine, น้ำมันระเหยหอม 1% ตามรายงานการศึกษาวิจัยพบว่า ดีปลีใช้ประกอบตำรับยาที่ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ท้องอืดเฟ้อ ธาตุไม่ปกติ ทั้งนี้เพราะดีปลีมีน้ำมันหอมระเหย
ผลแก่แห้งของดีปลี ใช้เป็นยารักษาอาการดังนี้ อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และอาการปวดท้อง รวมทั้งแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ที่เกิดจากธาตุที่ไม่ปกติ โดยการใช้ผลแก่แห้ง 1 กำมือ (ประมาณ 10 – 15 ดอก) ต้มเอาน้ำมาดื่ม ถ้าไม่มีดอกก็ให้ใช้เถาต้มแทนได้อาการไอและมีเสมหะ ใช้ผลแก่แห้งประมาณครึ่งผล ฝนกับน้ำมะนาวผสมเกลือกวาดในลำคอหรือจิบบ่อย ๆ นอกจากนี้ ผลดีปลีแห้งสามารถใช้เป็นเครื่องเทศประกอบอาหารต่าง ๆ ได้
ปัจจุบันดีปลีใช้น้อยในอาหารยุโรป แต่ยังใช้ในอาหารอินเดียและอาหารเนปาล อาหารแอฟริกาเหนือบางชนิดใช้ผสมในเครื่องเทศ และใช้ในอาหารมาเลเซียและอินโดนีเซีย ร้านขายของชำในอินเดียจะเรียกว่า pippali ซึ่งเป็นเครื่องเทศหลักของนีหารีซึ่งเป็นอาหารประจำชาติของปากีสถาน ดีปลีมีสารเคมีชื่อพิเพอร์ลองกูมีน ซึ่งมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ
แหล่งข้อมูลอื่น
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ดีปลี |
- Caldecott, Todd (2006). Piper longum (Pippali). Ayurveda: The Divine Science of Life. Elsevier/Mosby. ISBN 978-0-7234-3410-8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-16.
- ดีปลี สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
- ลั่นทม ดอนจวบทรง (2537). ดีปลี เก็บถาวร 2008-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผักพื้นบ้าน(ภาคใต้). ทางเลือกในการผลิตและการบริโภค. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
- ดีปลี thaigoodview.com