Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ตังกุย
ตังกุย | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Apiales |
วงศ์: | Apiaceae |
สกุล: | Angelica |
สปีชีส์: | A. sinensis |
ชื่อทวินาม | |
Angelica sinensis (Oliv.) Diels |
ตังกุย หรือ โสมตังกุย (จีนตัวย่อ: 当归; จีนตัวเต็ม: 當歸; พินอิน: dāngguī; ชื่อวิทยาศาสตร์: Angelica sinensis) เป็นสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี รากอวบหนา ทรงกระบอก มีกลิ่นเฉพาะตัว หอมแรง ใบหยักลึกแบบขนนกสามชั้น ออกดอกเป็นช่อซี่ร่มตามปลายกิ่ง โคนแผ่เป็นกาบ สีอมม่วง ผลเป็นผลแบบผักชี พบแพร่กระจายในป่าดิบในเขตเขาสูงทางภาคกลางของจีน เช่น เสฉวน หูเป่ย กานซีจนถึงยูนนาน นอกจากนั้นยังมีปลูกในญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม
การใช้ประโยชน์
ตังกุย
เครื่องยาจีนที่เรียกว่าตังกุยทำมาจากรากแห้งของพืชชนิดนี้ สีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเหลือง มีรอยย่นเป็นแนวยาว เนื้อเหนียว รอยหักเป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลอมเหลือง เปลือกรากหนา เนื้อในรากสีขาว หอมแรง หวานและขมเล็กน้อย ยาจีนใช้ตังกุยเป็นส่วนประกอบของยาหลายขนาน รากแก้ว (กุยเท้า; จีนตัวย่อ: 归头; จีนตัวเต็ม: 歸頭) ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง รากแขนง (กุยบ้วย; จีนตัวย่อ: 归尾; จีนตัวเต็ม: 歸尾) ใช้เป็นยาขับระดู ส่วนใหญ่ใช้เป็นยารักษาโรคของสตรี รวมถึงเป็นยากระตุ้นอารมณ์ทางเพศและทำให้ลูกดก
- ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทย เล่ม 5. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อมรินทร์. 2548