Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

ต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโตะ

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
ต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโตะ
ชื่ออื่น Chronic lymphocytic thyroiditis, ไทรอยด์อักเสบเหตุภูมิแพ้ตัวเอง, struma lymphomatosa, โรคฮาชิโมโตะ
Hashimoto thyroiditis - alt -- very low mag.jpg
ภาพกล้องจุลทรรศน์แสดงต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโตะ
สาขาวิชา วิทยาต่อมไร้ท่อ
อาการ ต่อมไทรอยด์โตชนิดไม่ปวด, น้ำหนักตัวเพิ่ม, ความเหนื่อยล้า, ท้องผูก, อาการซึมเศร้า
ภาวะแทรกซ้อน มะเร็งต่อมน้ำเหลืองไทรอยด์
การตั้งต้น 30–50 ปี
สาเหตุ พันธุกรรม และ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
ปัจจัยเสี่ยง ประวัติครอบครัว, โรคภูมิแพ้ตัวเองแบบอื่น
วิธีวินิจฉัย วัดระดับ TSH, T4, แอนติบอดีชนิดแอนติไทยรอยด์
โรคอื่นที่คล้ายกัน โรคเกรฟส์, ต่อมไทรอยด์โตแบบนอดูลาร์ชนิดไม่เป็นพิษ
การรักษา เลวอไทรอกซิน, ผ่าตัด
ความชุก 5% ที่จุดหนึ่ง

ต่อมไทรอยด์อักเสบแบบฮาชิโมโตะ (อังกฤษ: Hashimoto's thyroiditis), ต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังแบบลิมโฟซัยต์, โรคฮาชิโมโตะ เป็นโรคภูมิต้านตนเองชนิดหนึ่งที่ทำให้ต่อมไทรอยด์ถูกทำลายลงไปเรื่อย ๆ ในระยะแรกผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใดๆ เมื่อเวลาผ่านไปต่อมไทรอยด์อาจมีขนาดโตขึ้นเกิดเป็นคอพอกที่ไม่มีอาการเจ็บปวด ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยและมีอาการน้ำหนักเพิ่ม อ่อนเพลีย ท้องผูก ซึมเศร้า และปวดตามตัว เมื่อเวลาผ่านไปหลายปีต่อมไทรอยด์มักมีขนาดเล็กลง ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้คือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ไทรอยด์

เชื่อว่าโรคนี้เกิดจากหลายปัจจัยทั้งจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ ประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้หรือโรคภูมิต้านตนเองโรคอื่น การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมน TSH, T4 และออโตแอนติบอดีต่อไทรอยด์ โรคอื่นที่อาจทำให้มีอาการคล้ายกันกับโรคนี้ในบางระยะ เช่น โรคเกรฟส์ และโรคคอพอกแบบไม่เป็นพิษ

การรักษาโดยมาตรฐานคือการใช้ฮอร์โมนไทรอยด์สังเคราะห์ทดแทน ในบางรายที่ไม่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยอาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษา บางรายอาจต้องรับการรักษาเพื่อลดขนาดของต่อมไทรอยด์ ผู้ป่วยไม่ควรกินอาหารที่มีปริมาณไอโอดีนมากเกินไป แต่ก็ต้องได้รับไอโอดีนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัด

ตลอดอายุขัยชนชาติเชื้อสายคอเคเซียนจะพบมีผู้ป่วยจากโรคต่อมไทรอยด์อักเสบแบบฮาชิโมโตประมาณ 5% ส่วนใหญ่เริ่มมีอาการที่อายุ 30-50 ปี และพบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยโรคนี้จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โรคนี้ได้รับการบรรยายไว้เป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1912 โดยแพทย์ชาวญี่ปุ่น ชื่อ Hakaru Hashimoto ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1957 จึงค้นพบว่าโรคนี้เป็นโรคภูมิต้านตนเอง

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

Новое сообщение