Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
นักรังสีการแพทย์
Подписчиков: 0, рейтинг: 0
นักรังสีการแพทย์ หรือ นักรังสีเทคนิค (Radiologic technologist, Radiographer) คือผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานรังสีการแพทย์ ทั้งด้านรังสีวินิจฉัย, รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์
สาขา
- รังสีวินิจฉัย (Diagnostic radiology) คือ สาขาที่ใช้รังสีเอกซ์ในการวินิจฉัยโรคทางการแพทย์ ทั้งการถ่ายภาพรังสี (Radiopgrahy) หรือเอกซเรย์ทั่วไป การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ (Computed tomography; CT scan) การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรืออัลตราซาวนด์ (Ultrasonography) การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (Magnetic resonance imaging; MRI) รวมถึงรังสีร่วมรักษา (Interventional radiology) หรือการตรวจพิเศษทางรังสีต่างๆ (Special diagnostic radiology)
- รังสีรักษา (Radiotherapy/Radiation therapy) คือ สาขาที่ใช้รังสีในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง ทั้งระยะไกลและใกล้ (Brachytherapy & Teletherapy) โดยใช้เครื่องฉายรังสีในการรักษา อาทิ LINAC Co-60 เป็นต้น การฉายรังสีจะใช้อนุภาคโฟตอน (Photon) ในการรักษาเซลล์มะเร็งที่อยู่ลึก ส่วนเซลล์มะเร็งบริเวณผิวจะใช้อนุภาคอิเล็กตรอน (Electron) รักษา ปัจจุบันมีการพัฒนาในการนำโปรตอน (Proton Therapy) มารักษาผู้ป่วยมะเร็งในเด็ก (Pediatric cancer) มะเร็งกระดูก (Bone &soft tissue sacroma) มะเร็งศีรษะและลำคอ (Head & neck cancer) และอื่น ๆ เช่น มะเร็งตับ มะเร็งปอด เป็นต้น เนื่องจากโปรตอนมีคุณสมบัติในการลดปริมาณรังสีสำหรับเนื้อเยื่อปกติได้ดีกว่าโฟตอน ทำให้ลดอาการข้างเคียงที่เกิดจากการฉายแสงและลดอัตราการเกิดมะเร็งทุติยภูมิ (Secondary cancer)
- เวชศาสตร์นิวเคลียร์ (Nuclear medicine) คือ สาขาที่ใช้รังสีและสารเภสัชรังสี (Radiopharmaceuticals) ในการสร้างภาพทางการแพทย์ โดยมีการตรวจต่างๆ อาทิ การถ่ายภาพรังสีระนาบด้วยการปล่อยโพซิตรอน (Positron emission tomography; PET) การสร้างภาพด้วยรังสีแกมมา (Single-photon emission computed tomography; SPECT) เป็นต้น
การศึกษา
ผู้ที่เป็นนักรังสีการแพทย์ ต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค ต้องจบการศึกษาในปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (รังสีเทคนิค) โดยในประเทศไทยปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนสาขาวิชารังสีเทคนิค ดังนี้
- คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
- คณะรังสีเทคนิค มหาวิทยาลัยรังสิต
- คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
- คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง