Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
บัญชีแดงไอยูซีเอ็น
สถานะการอนุรักษ์ |
---|
ตามบัญชีแดงของ IUCN |
สูญพันธุ์ |
สูญพันธุ์ไปแล้ว (EX) สูญพันธุ์จากธรรมชาติ (EW) |
เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ |
ขั้นวิกฤติ (CR) ใกล้การสูญพันธุ์ (EN) เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์ (VU) |
เสี่ยงระดับต่ำ |
เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยง (NT) จำเป็นต่อการอนุรักษ์ (CD) ความเสี่ยงต่ำ (LC) |
ดูเพิ่ม สหภาพอนุรักษ์นานาชาติ บัญชีแดงของสหภาพอนุรักษ์ |
บัญชีแดงไอยูซีเอ็น (อังกฤษ: IUCN Red List) เป็นดัชนีที่เริ่มสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1948 เป็นดัชนีรายชื่อที่สมบูรณ์ที่สุดของสถานภาพของสปีชีส์พืชและสัตว์ต่าง ๆ ของขบวนการอนุรักษ์ธรรมชาติ ไอยูซีเอ็น (IUCN) เป็นสถาบันหลักผู้มีอำนาจในการระบุฐานะสถานภาพต่าง ๆ ของสปีชีส์ นอกจากบัญชีแดงโดยทั่วไปแล้วก็ยังมีบัญชีแดงระดับท้องถิ่น (Regional Red List) ที่รวบรวมขึ้นโดยประเทศ หรือ องค์การต่าง ๆ ที่ประเมินระดับความเสี่ยงของสปีชีส์ภายในเขตการปกครองของแต่ละท้องถิ่นในความรับผิดชอบ
บัญชีแดงไอยูซีเอ็นกำหนดขึ้นจากข้อกำหนด (criteria) ที่วางไว้อย่างจำเพาะเจาะจงในการประเมินระดับความเสี่ยงของสปีชีส์และสปีชีส์ย่อยเป็นจำนวนมาก วัตถุประสงค์ของรวบรวมดัชนีรายชื่อก็เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลอันเร่งด่วนเกี่ยวกับความจำเป็นในการอนุรักษ์แก่สาธารณชน และผู้มีอำนาจในการวางนโยบาย รวมทั้งเพื่อช่วยเหลือประชาคมนานาชาติในการพยายามลดจำนวนการสูญพันธุ์ของสปีชีส์ต่างตามที่ระบุในดัชนี
องค์การที่ร่วมในการประเมินระดับความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสปีชีส์หลักก็รวมทั้งองค์การชีวปักษานานาชาติ (BirdLife International), สถาบันสัตวศาสตร์ (Institute of Zoology) (แผนกค้นคว้าของสมาคมสัตวศาสตร์แห่งลอนดอน (Zoological Society of London), องค์การเฝ้าระวังการอนุรักษ์โลก (Conservation Monitoring Centre) และกลุ่มชำนัญพิเศษต่าง ๆ ภายในคณะกรรมการความอยู่รอดของสปีชีส์ของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ การประเมินระดับความเสี่ยงจากองค์การต่าง ๆ ดังว่ารวมกันได้เป็นจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งของสปีชีส์ในบัญชีแดง
บัญชีแดงไอยูซีเอ็นถือกันโดยทั่วไปว่าเป็นดัชนีที่มีความมีจุดมุ่งหมายและมีหลักการที่สุดในการจัดระดับสปีชีส์ตามระดับความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
สหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติมีวัตถุประสงค์ที่จะประเมินระดับความเสี่ยงของทุกสปีชีส์ใหม่ทุก 5 ถ้าทำได้ หรืออย่างน้อยก็ทุก 10 ปี ที่ทำโดยวิธีการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ (peer review) โดยคณะกรรมการความอยู่รอดของสปีชีส์ (Species Survival Commission (SSC)) ซึ่งเป็นกลุ่มชำนัญพิเศษของสหภาพเอง ผู้มีความรับผิดชอบดัชนีรายชือสปีชีส์, กลุ่มสปีชีส์ หรือ กลุ่มสปีชีส์ของภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง หรือในกรณีขององค์การชีวปักษานานาชาติก็จะตรวจสอบสปีชีส์ในอันดับนก
บัญชีแดงไอยูซีเอ็นฉบับล่าสุดออกเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2008 ที่เมืองบาร์เซโลนาในประเทศสเปน
ระดับความเสี่ยง
สปีชีส์แบ่งออกเป็นเก้าระดับตามข้อกำหนดต่าง ๆ เช่นอัตราการลดจำนวนประชากร, ขนาดประชากร, บริเวณกระจายทางภูมิภาค และ อัตราการกระจายของประชากร และ การแตกแยกของกลุ่มประชากร
- สิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้ว (Extinct - EX) - สูญพันธุ์ไปจนหมดสิ้น
- สิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์จากธรรมชาติ (EW - Extinct in the Wild) - สูญพันธุ์จากที่อาศัยตามธรรมชาติ แต่ยังหลงเหลืออยู่ในสถานที่กักกัน
- สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ (CR - Critically endangered species) - ระดับความเสี่ยงขั้นอันตรายต่อสูญพันธุ์จากที่อาศัยตามธรรมชาติ
- สิ่งมีชีวิตที่ใกล้การสูญพันธุ์ (EN - Endangered species) - ระดับความเสี่ยงขั้นสูงต่อสูญพันธุ์จากที่อาศัยตามธรรมชาติ
- สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์ (VU - Vulnerable species) - ระดับความเสี่ยงขั้นอันตรายต่อความเป็นอันตรายจากการสูญพันธุ์จากที่อาศัยตามธรรมชาติ
- สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (NT - Near Threatened) - ระดับความเสี่ยงขั้นอันตรายต่อสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้
- สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (LC - Least Concern) - ความเสี่ยงต่ำ ไม่อยู่ในข่ายใดข้างต้น ยังมีอยู่โดยทั่วไป
- สิ่งมีชีวิตที่ไม่มีข้อมูลเพียงพอ (DD - Data Deficient) - ไม่มีข้อมูลเพียงพอต่อการประเมินความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
- สิ่งมีชีวิตที่ยังไม่ได้รับการประเมินความเสี่ยง (NE - Not Evaluated) - ยังไม่ได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
ในการศึกษาและใช้บัญชีแดง คำว่า “สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์” (Threatened species) เป็นกลุ่มที่รวมสามกลุ่มย่อย: สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์, สิ่งมีชีวิตที่ใกล้การสูญพันธุ์ และ สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์