Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

บาดทะยัก

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
บาดทะยัก
(tetanus)
ชื่ออื่น lockjaw
Opisthotonus in a patient suffering from tetanus - Painting by Sir Charles Bell - 1809.jpg
กล้ามเนื้อที่ได้รับผลกระทบจากบาดทะยักอย่างรุนแรง รูปภาพโดยเซอร์ ชาร์ล เบล ค.ศ. 1809
สาขาวิชา Infectious disease
อาการ Muscle spasms, fever, headache
การตั้งต้น 3–21 days following exposure
ระยะดำเนินโรค Months
สาเหตุ Clostridium tetani
ปัจจัยเสี่ยง Break in the skin
วิธีวินิจฉัย Based on symptoms
การป้องกัน Tetanus vaccine
การรักษา Tetanus immune globulin, muscle relaxants, mechanical ventilation
พยากรณ์โรค 10% risk of death
ความชุก 209,000 (2015)
การเสียชีวิต 56,700 (2015)

บาดทะยัก (อังกฤษ: tetanus) เป็นโรคติดเชื้ออย่างหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีอาการเด่นคืออาการกล้ามเนื้อเกร็ง ส่วนใหญ่การเกร็งจะเริ่มต้นที่กล้ามเนื้อกราม จากนั้นจึงลุกลามไปยังกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ การเกร็งแต่ละครั้งมักเป็นอยู่ไม่กี่นาที และเกิดขึ้นซ้ำ ๆ เป็นเวลา 3-4 สัปดาห์ การเกร็งอาจมีความรุนแรงมากจนทำให้กระดูกหักได้ อาการอื่นที่อาจพบร่วมได้แก่ ไข้ เหงื่อออก ปวดศีรษะ กลืนลำบาก ความดันเลือดสูง และหัวใจเต้นเร็ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มมีอาการหลังจากติดเชื้อเป็นเวลา 3-21 วัน การรักษาอาจใช้เวลาหลายเดือน ผู้ป่วยประมาณ 10% จะเสียชีวิต

บาดทะยักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Clostridium tetani ซึ่งพบได้ในดิน น้ำลาย ฝุ่น และปุ๋ยมูลสัตว์ เชื้อมักเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลเช่นแผลบาดหรือแผลตำที่เกิดจากวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อ เชื้อเหล่านี้ผลิตสารพิษที่รบกวนกระบวนการคลายตัวของกล้ามเนื้อ โดยการไปยับยั้งการหลั่งของสารไกลซีน และกาบา ซึ่งเป็นสารยับยั้งสารสื่อประสาท ทำให้มีอาการดังกล่าวข้างต้น การวินิจฉัยทำได้โดยการดูจากอาการและอาการแสดง โรคนี้ไม่ติดต่อจากคนสู่คน

การป้องกันการติดเชื้อทำได้โดยการเสริมภูมิคุ้มกันด้วยการให้วัคซีนบาดทะยัก ผู้ที่มีบาดแผลที่เข้าข่ายจะติดเชื้อและได้รับวัคซีนมาไม่ถึง 3 ครั้ง ควรได้รับทั้งวัคซีนบาดทะยักและภูมิคุ้มกันบาดทะยักในรูปแบบของอิมมูโนกลอบูลิน ควรได้รับการล้างแผลและนำเอาเนื้อตายออก ผู้ป่วยที่มีอาการควรได้รับการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบาดทะยักแบบอิมมูโนกลอบูลิน หรืออาจรักษาด้วยอิมมูโนกลอบูลินแบบรวมได้ยาคลายกล้ามเนื้ออาจช่วยควบคุมอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ และหากผู้ป่วยมีปัญหาของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจร่วมด้วยอาจต้องใช้การช่วยหายใจผ่านเครื่องช่วยหายใจ

บาดทะยักเป็นโรคที่พบได้ทั่วโลกแต่มักพบบ่อยในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นซึ่งมีดินและสารอินทรีย์อยู่มาก ในปี พ.ศ. 2558 มีรายงานว่ามีผู้ป่วยบาดทะยักประมาณ 209,000 คนและเสียชีวิตประมาณ 59,000 คนทั่วโลก ซึ่งลดลงเป็นอย่างมากจากจำนวนผู้เสียชีวิต 356,000 คน ในปี พ.ศ. 2533 มีการบรรยายถึงโรคนี้เอาไว้เก่าแก่ตั้งแต่สมัยแพทย์กรีกชื่อฮิปโปกราเตสเมื่อ 500 ปีก่อนคริสตกาล สาเหตุของโรคถูกค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2427 โดย Antonio Carle และ Giorgio Rattone แห่งมหาวิทยาลัยทูริน ส่วนวัคซีนถูกผลิตขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2467

ความเกี่ยวข้องกับสนิมเหล็ก

มักเป็นที่เชื่อกันว่าบาดทะยักกับสนิมเหล็กมีความเกี่ยวข้องกัน นี้เป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องนัก โดยทั่วไปแล้ววัตถุที่มีสนิมมักพบอยู่นอกบ้านหรือในบริเวณที่พบแบคทีเรียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนอยู่แล้ว แต่ตัวสนิมเองไม่ทำให้เกิดโรคบาดทะยัก รวมถึงไม่ได้มีแบคทีเรีย C. tetani มากกว่าที่อื่น พื้นผิวที่ขรุขระของเหล็กขึ้นสนิมนั้นอาจเป็นแหล่งอาศัยของ endospore ของ C. tetani ได้ และตะปูเหล็กก็มักทิ่มผิวหนังเป็นแผลลึกเอื้อต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียชนิดไม่ใช้ออกซิเจน จึงทำให้สนิมเหล็กถูกมองว่าเป็นสาเหตุของการเกิดโรคบาดทะยัก ซึ่งไม่เป็นจริงแต่อย่างใด

แหล่งข้อมูลอื่น

The offline app allows you to download all of Wikipedia's medical articles in an app to access them when you have no Internet.
บทความวิกิพีเดียด้านการดูแลสุขภาพสามารถอ่านออฟไลน์ได้ทาง Medical Wikipedia app.
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

Новое сообщение