Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
บ็อบ ดิลลัน
บ็อบ ดิลลัน | |
---|---|
ภาพถ่ายปี ค.ศ. 1963
| |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | โรเบิร์ต อัลเลน ซิมเมอร์แมน |
เกิด | (1941-05-24) พฤษภาคม 24, 1941 |
ที่เกิด | แมลิบู แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา |
แนวเพลง | |
อาชีพ | นักร้อง นักแต่งเพลง นักประพันธ์ กวี จิตรกร |
เครื่องดนตรี | |
ช่วงปี | 1959–ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง |
|
เว็บไซต์ | www.bobdylan.com |
บ็อบ ดิลลัน (อังกฤษ: Bob Dylan) หรือชื่อจริง โรเบิร์ต อัลเลน ซิมเมอร์แมน (อังกฤษ: Robert Allen Zimmerman; เกิด 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1941) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง ศิลปิน จิตรกร นักประพันธ์ และกวีชาวอเมริกัน ที่มีผลงานในวงการดนตรีมาตลอดกว่า 5 ทศวรรษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษ 1960 จนได้รับฉายาให้เป็น "ราชาแห่งโฟล์ก" ด้วยภาพลักษณ์ของดิลลันในการแต่งเพลงที่เน้นเนื้อหาทางสังคมและการต่อต้านสงคราม มีเพลงตัวอย่างเช่น "Blowin' in the Wind" และ "The Times They Are a-Changin'" ที่ได้กลายมาเป็นหนึ่งในเพลงสัญลักษณ์ของการเคลื่อนไหวทางสิทธิมนุษยชนและการต่อต้านสงครามในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้เขายังได้ออกซิงเกิล "Like a Rolling Stone" ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปี ค.ศ. 1965 และได้รับการจัดอันดับจากโรลลิงสโตนให้เป็นเพลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล และได้รับความนิยมอย่างยิ่งในช่วงกลางยุค 1960 ที่มีโอกาสได้ขึ้นชาร์ตสูงๆ แต่ถึงอย่างก็ดีดิลลัน ก็ถูกวิจารณ์จากศิลปินโฟล์กด้วยกัน ที่เขาได้หันกลับร่วมบรรเลงกับวงกีตาร์ไฟฟ้า ซึ่งนับเป็นการทิ้งแนวเพลงโฟล์ก ที่เขาได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำ "ยุคบุกเบิกดนตรีโฟล์กอเมริกัน" (American folk music revival)
เนื้อเพลงของดิลลันยุคแรก จะเกี่ยวกับการเมือง สังคม ปรัชญา และอิทธิพลจากวรรณคดี ดนตรีของเขาได้ต่อต้านกระแสนิยมทางดนตรีป็อปและนำโฟล์กเข้ามามีบทบาทในกระแสสังคม เขาได้รับแรงบันดาลใจด้านการแสดงมาจาก ลิตเทิล ริชาร์ด และการประพันธ์เพลงแบบ วูดดี กัทรี, โรเบิร์ต จอห์นสัน และแฮงก์ วิลเลียมส์ ตลอดชีวิตด้านงานดนตรีของเขา ดิลลันได้ขยายสาแหรกแนวย่อยดนตรีเป็นจำนวนมาก ได้เป็นผู้บุกเบิกวงการเพลงโฟล์กในอเมริกันสู่โฟล์กในอังกฤษ สกอตแลนด์และไอร์แลนด์ และผลักดันดนตรีโฟล์กให้กลับมาได้รับความนิยม รวมไปถึงบลูส์, คันทรี, กอสเปล, ร็อกอะบิลลี และแจ๊ส ดิลลัน เป็นที่รู้จักจากศิลปินที่ทั้งแต่งและร้องเอง จนได้รับการยกย่องให้เป็นนักแต่งเพลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง และภาพลักษณ์การแสดงสดที่เล่นกีตาร์ พร้อมกับเปล่าฮาร์โมนิกา รวมไปถึงคีย์บอร์ด เขาได้จัดทัวร์คอนเสิร์ตอย่างต่อเนื่องในช่วงปลายยุค 1980 จนได้รับการยกย่องให้เป็นทัวร์ "Never Ending Tour"
นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 ดิลลันได้ออกผลงานวาดรูปและลงสีมาแล้วกว่า 6 เล่ม และได้รับการจัดแสดงในเวทีใหญ่หลายครั้ง ในด้านงานดนตรี ดิลลันได้จำหน่ายอัลบั้มไปแล้วกว่า 100 ล้านชุด ทำให้เขาเป็นหนึ่งในศิลปินที่มียอดจำหน่ายอัลบั้มโดยรวมสูงที่สุดตลอดกาล เขายังได้รับรางวัลมากมาย ไม่ว่าจะเป็น 11 รางวัลแกรมมี รางวัลลูกโลกทองคำ และรางวัลออสการ์ ดิลลันได้รับการบรรจุเข้าสู่หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล, หอเกียรติยศมินนิโซตามิวสิก, หอเกียรติยศนักประพันธ์เพลงแนชวิลล์ และ หอเกียรติยศนักประพันธ์เพลง ในปี ค.ศ. 2008 เขาก็ได้รับรางวัลจากพูลิตเซอร์ ในโอกาศพิเศษสำหรับ "ที่เขาสร้างไว้ต่อวงการดนตรีนิยมและวัฒนธรรมอเมริกัน ด้วยเนื้อเพลงและบทประพันธ์ที่เรียบเรียงอย่างทรงพลัง" ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2012 ดิลลันได้รับเกียรติรับเหรียญอิสรภาพประธานาธิบดี ซึ่งถือเป็นเหรียญสูงสุดของพลเรือน จากประธานาธิบดีสหรัฐ บารัค โอบามา
ในปี ค.ศ. 2016 ดิลลันได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม
ค.ศ. 1901–1925 (พ.ศ. 2444–2468) |
พรูดอม (1901) · ม็อมเซิน (1902) · บีเยินซ็อน (1903) · มิสทราล / เอย์ซากีร์เร (1904) · แชงกีเยวิตช์ (1905) · คาร์ดุชชี (1906) · คิปลิง (1907) · อ็อยเคิน (1908) · ลอเกร์เลิฟ (1909) · ไฮเซอ (1910) · มาแตร์แล็งก์ (1911) · เฮาพท์มัน (1912) · ฐากุร (1913) · รอล็อง (1915) · ไฮเดินสตัม (1916) · เกลเลอโรป / พอนทอปปีดัน (1917) · ชปิทเทอเลอร์ (1919) · ฮัมซัน (1920) · ฟร็องส์ (1921) · เบนาเบนเต (1922) · เยตส์ (1923) · แรย์มอนต์ (1924) · ชอว์ (1925) |
---|---|
ค.ศ. 1926–1950 (พ.ศ. 2469–2493) |
เดเลดดา (1926) · แบร์กซอน (1927) · อึนเซ็ต (1928) · มันน์ (1929) · ลูอิส (1930) · คาร์ลเฟลต์ (1931) · กอลส์เวอร์ธี (1932) · บูนิน (1933) · ปีรันเดลโล (1934) · โอนีล (1936) · มาร์แต็ง ดูว์ การ์ (1937) · บัก (1938) · ซิลลันแป (1939) · เยนเซน (1944) · มิสตรัล (1945) · เฮ็สเซอ (1946) · ฌีด (1947) · เอเลียต (1948) · ฟอกเนอร์ (1949) · รัสเซลล์ (1950) |
ค.ศ. 1951–1975 (พ.ศ. 2494–2518) |
ลาเกอร์กวิสต์ (1951) · โมรียัก (1952) · เชอร์ชิลล์ (1953) · เฮมิงเวย์ (1954) · ลัฆส์แนส (1955) · ฆิเมเนซ (1956) · กามูว์ (1957) · ปัสเตร์นัค (1958) · กวาซีโมโด (1959) · แปร์ส (1960) · อานดริช (1961) · สไตน์เบ็ก (1962) · เซเฟริส (1963) · ซาทร์ (1964) · โชโลคอฟ (1965) · อักนอน / ซัคส์ (1966) · อัสตูเรียส (1967) · คาวาบาตะ (1968) · เบ็คเค็ทท์ (1969) · โซลเซนิตซิน (1970) · เนรูดา (1971) · เบิล (1972) · ไวต์ (1973) · จอห์นสัน / มาร์ตินสัน (1974) · มอนตาเล (1975) |
ค.ศ. 1976–2000 (พ.ศ. 2519–2543) |
เบลโลว์ (1976) · อาเลย์กซันเดร (1977) · ซิงเกอร์ (1978) · เอลีติส (1979) · มีวอช (1980) · คาเนตติ (1981) · มาร์เกซ (1982) · โกลดิง (1983) · ไซเฟิร์ต (1984) · ซีมง (1985) · โชยิงกา (1986) · บรอดสกี (1987) · มะห์ฟูซ (1988) · เซลา (1989) · ปัซ (1990) · กอร์ดิเมอร์ (1991) · วอลคอต (1992) · มอร์ริสัน (1993) · โอเอะ (1994) · ฮีนีย์ (1995) · ชึมบอร์สกา (1996) · โฟ (1997) · ซารามากู (1998) · กรัส (1999) · เกา ซิงเจี้ยน (2000) |
ค.ศ. 2001–ปัจจุบัน (พ.ศ. 2544–ปัจจุบัน) |
ไนพอล (2001) · แกร์เตส (2002) · คุตซี (2003) · เย็ลลีเน็ค (2004) · พินเทอร์ (2005) · พามุค (2006) · เลสซิง (2007) · เลอ เกลซีโย (2008) · มึลเลอร์ (2009) · โยซา (2010) · ทรานสเตรอเมอร์ (2011) · โม่เหยียน (2012) · มุนโร (2013) · มอดียาโน (2014) · อะเลคซีเอวิช (2015) · ดิลลัน (2016) · อิชิงูโระ (2017) · ตอการ์ตชุก (2018) · ฮันท์เคอ (2019) · กลิก (2020) · เกอร์นาห์ (2021) · แอร์โน (2022) |