Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ปวดประจำเดือน
ปวดประจำเดือน (Dysmenorrhea) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Dysmenorrhoea, painful periods, menstrual cramps |
สาขาวิชา | นรีเวชวิทยา |
อาการ | Pain during menstruation, diarrhea, nausea |
การตั้งต้น | Within a year of the first menstrual period |
ระยะดำเนินโรค | Less than 3 days (primary dysmenorrhea) |
สาเหตุ | No underlying problem, uterine fibroids, adenomyosis, endometriosis |
วิธีวินิจฉัย | Pelvic exam, ultrasound |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | Ectopic pregnancy, pelvic inflammatory disease, interstitial cystitis, chronic pelvic pain |
การรักษา | Heating pad, medication |
ยา | NSAIDs such as ibuprofen, hormonal birth control, IUD with progestogen |
พยากรณ์โรค | Often improves with age |
ความชุก | 20–90% (women of reproductive age) |
อาการปวดประจำเดือน หรือ ปวดระดู คืออาการปวดที่มีขึ้นขณะที่สตรีกำลังมีประจำเดือน ส่วนใหญ่มักเริ่มเป็นในวันแรกของการมีประจำเดือน และมักเป็นอยู่ไม่เกิน 3 วัน อาการปวดมักเป็นอยูที่ท้องน้อยหรืออุ้งเชิงกราน อาการอื่นที่พบร่วมด้วยเช่น ปวดหลัง คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น
สตรีอายุน้อยอาจมีอาการปวดประจำเดือนได้โดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคหรือพยาธิสภาพ แต่ในสตรีสูงอายุมักพบว่าเกิดจากโรค เช่น เนื้องอกมดลูก อะดีโนไมโอซิส หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ในคนที่มีประจำเดือนมามาก มาไม่สม่ำเสมอ มีประจำเดือนครั้งแรกเร็ว (ก่อน 12 ปี) หรือมีน้ำหนักตัวน้อย จะพบได้บ่อยกว่าคนทั่วไปการตรวจภายในและการตรวจอุลตร้าซาวด์จะมีส่วนช่วยอย่างมากในการวินิจฉัย ภาวะที่จะต้องนึกถึงและตรวจให้แน่ใจว่าไม่เป็นได้แก่ การท้องนอกมดลูก การอักเสบของอุ้งเชิงกราน กระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง และโรคปวดอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง
คนที่ออกกำลังกายเป็นประจำและคนที่เคยมีบุตรจะมีโอกาสมีอาการปวดประจำเดือนน้อยกว่าคนทั่วไป การรักษาอาจทำได้โดยการประคบอุ่น ยาที่ช่วยได้คือยาในกลุ่มยาแก้อักเสบแบบไม่ใช่สเตียรอยด์ (เช่น ไอบูโปรเฟน) ยาคุมกำเนิด และห่วงคุมกำเนิดแบบปล่อยฮอร์โมน การกินวิตามินบีหนึ่งและแมกนีเซียมเสริมอาจช่วยได้ ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่าการทำโยคะ การฝังเข็ม และการนวด จะช่วยได้ ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดหากมีโรคบางชนิดร่วมด้วย
สัดส่วนของสตรีที่มีอาการปวดประจำเดือนแตกต่างกันไปตามแต่ละงานวิจัย โดยมีอยู่ตั้งแต่ 20-90% ถือเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือนที่พบบ่อยที่สุด ส่วนใหญ่มักเริ่มเป็นภายในหนึ่งปีหลังเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก ในกรณีที่ไม่มีโรคเป็นสาเหตุ อาการปวดมักดีขึ้นเมื่อโตขึ้นหรือเมื่อมีบุตร
แหล่งข้อมูลอื่น
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
Events and phases | |||||
---|---|---|---|---|---|
Life stages | |||||
Tracking |
|
||||
Suppression | |||||
Disorders | |||||
Related events | |||||
In culture and religion |