Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

ปาปริกา

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
ปาปริกา
Pimentón Tap de Cortí (cropped).jpg
ปาปริกา pimentón tap de cortí ของมาจอร์กา
พลังงาน
(ต่อหน่วยบริโภค 100 กรัม)
282 กิโลแคลอรี (1181 กิโลจูล)
คุณค่าทางโภชนาการ
(ต่อหน่วยบริโภค 100 กรัม)
โปรตีน 14 กรัม
ไขมัน 13 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 54 กรัม

ปาปริกา (อังกฤษ: Paprika) เป็นเครื่องเทศที่ทำจากพริกแดงแห้งและบด โดยปรกติจะทำจากพริกในชนิดพันธุ์ Capsicum annuum พริกที่ใช้ทำปาปริกามักจะรสเบากว่าและมีเนื้อบางกว่าพริกที่รับประทานกันทั่วไป

พริกพันธุ์ต่าง ๆ สามารถสืบเชื้อสายได้ถึงบรรพบุรุษในอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเม็กซิโกกลาง ซึ่งมีการปลูกพริกมานานหลายศตวรรษ ต่อมาพริกได้ถูกนำมาสู่โลกเก่า โดยสเปนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 เครื่องปรุงรสนี้ใช้เพื่อเพิ่มสีสันและรสชาติให้กับอาหารหลายประเภทในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก

การค้าขายปาปริกาขยายจากคาบสมุทรไอบีเรียไปยังแอฟริกาและเอเชีย และในที่สุดก็ไปถึงยุโรปกลางผ่านคาบสมุทรบอลข่าน ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของออตโตมัน ซึ่งสามารถอธิบายเหตุผลที่ว่าทำไมคำว่าปาปริกามีที่มาจากภาษาฮังการี ในภาษาสเปนปาปริการู้จักกันในชื่อ pimentón ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 พริกนี้กลายเป็นส่วนผสมทั่วไปในอาหารของแคว้นเอซเตรมาดูราตะวันตก แม้จะปรากฏในยุโรปกลางตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการยึดโดยออตโตมัน แต่ปาปริกาก็ไม่ได้รับความนิยมในฮังการีจนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19

ปาปริกามีความเผ็ดตั้งแต่เผ็ดน้อยถึงเผ็ดมาก รสชาติแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่พืชที่ปลูกเกือบทั้งหมดมักจะมีความหวาน ปาปริกาหวานส่วนใหญ่ประกอบด้วยเปลือกพริกโดยเอาเมล็ดออกมากกว่าครึ่งหนึ่ง ในขณะที่ปาปริกาเผ็ดประกอบด้วยเมล็ด ก้าน ออวุล และกลีบเลี้ยง การที่ปาปริกามีสีแดง ส้ม หรือเหลือง เป็นเพราะสารแคโรทีนอยด์

ประวัติและศัพทมูลวิทยา

พริกเป็นวัตถุดิบในการผลิตพริกปาปริกา มีต้นกำเนิดมาจากอเมริกาเหนือ ซึ่งปลูกในป่าในเม็กซิโกกลาง และได้รับการเพาะปลูกมาเป็นเวลาหลายศตวรรษโดยชาวเม็กซิโก ต่อมาได้แนะนำมาสู่โลกเก่าที่สเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยเป็นส่วนหนึ่งของการแลกเปลี่ยนโคลัมเบีย

พริกที่ใช้ทำปาปริการูปแบบฮังการีปลูกในปี ค.ศ. 1569 โดยชาวตุรกีที่บูดอ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบูดาเปสต์ เมืองหลวงของฮังการี) ปาปริกาในยุโรปกลางมีรสชาติเผ็ดจนถึงคริสต์ทศวรรษที่ 1920 เมื่อเกษตรกรที่เซเกดพบพริกที่มีรสหวานจึงได้ทำการทาบกิ่งเข้ากับต้นอื่น ๆ

คำว่า ปาปริกา ในภาษาไทยเป็นการทับศัพท์มาจากคำว่า paprika ในภาษาอังกฤษ พบการใช้คำว่า paprika ในภาษาอังกฤษครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1896 แม้ว่าจะมีการอ้างอิงถึงปาปริกาของตุรกีก่อนหน้านี้ในปี ค.ศ. 1831 คำนี้มาจากคำว่า paprika ในภาษาฮังการี ซึ่งเป็นคำที่มาจาก piper ในภาษาละติน หรือ πιπέρι (piperi) ในภาษากรีกสมัยใหม่ ซึ่งสืบทอดมาจากคำว่า पिप्पलि (pippali) ในภาษาสันสกฤต

ระเบียงภาพ

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение