Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์
ผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์ หรือ ผู้บริโภคซากอินทรีย์ (อังกฤษ: detritivore, scavenger, decomposer, saprophage และอีกหลายชื่อ) คือ สิ่งมีชีวิตที่บริโภคของเสียจากสัตว์ หรือซากของสิ่งมีชีวิตเป็นอาหาร ทำให้เศษซากอินทรีย์เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เช่น แร้ง ปลวก ไส้เดือนดิน กิ้งกือ หอย ด้วงและจุลินทรีย์ ผู้บริโภคเหล่านี้มีส่วนร่วมในการสลายตัวและช่วยในวัฏจักรสาร
ความสำคัญกับระบบนิเวศ
เป็นสิ่งมีชีวิตที่ช่วยทำให้เศษซากอินทรีย์ชิ้นใหญ่เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์นี้มีส่วนช่วยในการสลายตัว มีส่วนช่วยในวัฏจักรสารและเกิดธาตุอาหารในระบบนิเวศ ช่วยให้จุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรียวัตถุได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยให้พืชดูดธาตุอาหารไปใช้ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยถ้าในระบบนิเวศไม่มีสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ อาจทำให้การการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์ที่ตายแล้วเป็นไปได้ช้าลง หากในห่วงโซ่อาหารไม่มีผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์ ก็จะทำให้ห่วงโซ่อาหารเป็นไปอย่างไม่สมบูรณ์ อาหารของพวกผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์(detritivores)ซึ่งได้แก่พวกหอยต่างๆ ไส้เดือนและแร้ง อาหารที่ผู้บริโภคเหล่านี้กิน จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จะทำให้มีความผิดแผกแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละพื้นที่ ทั้งในด้านปริมาณและชนิด ซึ่งทำให้ก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของดินในแต่ละพื้นที่ที่ผู้บริโภคเหล่านั้นอาศัยอยู่ไม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน
ห่วงโซ่อาหารแบบเศษอินทรีย์
ห่วงโซ่อาหารแบบเศษอินทรีย์ (detritus food chain) เป็นโซ่อาหารที่เริ่มจากซากอินทรีย์ คือห่วงโซ่อาหารที่เริ่มจากซากพืชหรือซากสัตว์ (Detritus) และถูกกินโดยผู้บริโภคซากพืชหรือซากสัตว์ และถูกกินต่อโดยผู้บริโภคสัตว์ หรือ saprophytic food chain เริ่มจากสารอินทรีย์จากซาก ของสิ่งมีชีวิตผ่านไปยังผู้ย่อยสลาย และต่อไปยังสัตว์ที่กินสารอินทรีย์ที่ถูกย่อยสลาย (detritivore) และต่อไปยังผู้ล่าอื่นๆ saprophytic food chain เป็นลักษณะของลูกโซ่อาหารที่มีการกินหรือเริ่มถ่ายทอดพลังงานจากสิ่งที่ตายแล้ว เช่น ซากพืช ซากสัตว์ในการถ่ายทอดพลังงานไปตามลำดับขั้น ของห่วงโซ่อาหารนี้ พลังงานจะผ่านไปตามผู้บริโภคระดับต่าง ๆแต่ละขั้นตอนของห่วงโซ่ อาหาร เรียกว่า ลำดับขั้นของการกิน (trophic level) โดยพืชสีเขียวประกอบเป็น trophic level ที่หนึ่ง และสัตว์กินพืชเป็นลำดับที่สอง สัตว์กินสัตว์เป็นลำดับที่สาม เป็นต้น ดังนั้นสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันอาจมี trophic level ลำดับเดียวกันก็ได้ เช่น ตั๊กแตน หนูนา วัว ควาย ต่างก็อยู่ใน trophic level ลำดับที่สองเหมือนกัน โดยพบในระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในดินที่มีเศษใบไม้ทับถม เช่น ป่าชายเลน ป่าพรุ เป็นต้น
ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตและหน้าที่ในระบบนิเวศ
ไส้เดือน หน้าที่ เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอย่างมากในระบบนิเวศ ช่วยในการย่อยอินทรียสารในดิน และการเคลื่อนที่ในดินของไส้เดือน ถือเป็นการช่วยพรวนดิน ทำให้ดินมีช่องว่างที่จะเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้แก่ดิน ซึ่งมี ความสำคัญต่อการปลูกพืช
แร้ง หน้าที่ เป็นสัตว์ที่กินซากสัตว์เป็นอาหาร มีส่วนช่วยในการกินซากสัตว์ที่ตายแล้ว เพื่อทำให้ชิ้นส่วนของซากสัตว์ที่ชิ้นใหญ่ไปเป็นชิ้นเล็กๆเพื่อย่อยสลายได้เร็ว
ปลวก หน้าที่ เป็นสัตว์ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ เช่น เศษไม้ ท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ที่หักร่วง ล้มตายทับถมกันอยู่ในป่า แล้วกลายสภาพเป็น ฮิวมัส ในดิน เป็นกระบวนการหมุนเวียนธาตุ อาหารจากพืชไปสู่ดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์
กิ้งกือ หน้าที่ เป็นสัตว์ช่วยในการย่อยเศษใบไม้ ที่ร่วงหล่นแห้งตาย ให้กลายเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้