Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
พาราคว็อท
พาราคว็อท | |
---|---|
ชื่อตาม IUPAC | 1,1'-dimethyl-4,4'-bipyridinium dichloride |
ชื่ออื่น | paraquat dichloride; methyl viologen dichloride; Crisquat; Dexuron; Esgram; Gramuron; Ortho Paraquat CL; Para-col; Pillarxone; Tota-col; Toxer Total; PP148; Cyclone; Gramixel; Gramoxone; Pathclear; AH 501. |
เลขทะเบียน | |
เลขทะเบียน CAS | [1910-42-5][CAS] |
SMILES |
|
InChI |
|
คุณสมบัติ | |
สูตรเคมี | C12H14Cl2N2 |
มวลต่อหนึ่งโมล | 257.16 g/mol |
ลักษณะทางกายภาพ | off-white powder |
ความหนาแน่น | 1.25 g/cm3, solid |
จุดหลอมเหลว |
175 - 180 °C |
จุดเดือด |
> 300 °C |
ความสามารถละลายได้ ใน น้ำ | high |
ความอันตราย | |
MSDS | Oxford MSDS |
อันตรายหลัก | Toxic |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa | |
สถานีย่อย:เคมี |
พาราคว็อท (อังกฤษ: Paraquat) เป็นชื่อการค้าของ N,N′-ไดเมทิลl-4,4′-ไบไพริดิเนียม ไดคลอไรด์ เป็นยากำจัดวัชพืชชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมที่สุดในโลก ถูกสังเคราะห์ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1882 แต่ถูกนำมาใช้กำจัดวัชพืชครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1955 ผลิตจำหน่ายครั้งแรกในปี ค.ศ. 1961 โดยบริษัท ไอซีไอ ปัจจุบันทำการตลาดโดยบริษัท ซินเจนทา พาราคว็อทเป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์ จากปฏิกิริยารีด็อกส์ ที่ทำให้เกิดซูเปอร์ออกไซด์ พาราคว็อทมีความสัมพันธ์กับโรคพาร์กินสัน และถูกแบนในหลายประเทศ
ในประเทศไทย พาราคว็อทเป็นที่รู้จักในชื่อการค้า กรัมม็อกโซน (Grammoxone) เป็นยาฆ่าวัชพืชที่นิยมใช้ที่สุดในประเทศไทย
พาราคว็อทออกฤทธิ์โดยหยุดยั้งการเติบโตของเซลวัชพืช เฉพาะส่วนที่เป็นสีเขียว และทำให้เนื้อเยื่อของเซลนั้นแห้งลง โดยไม่แพร่กระจายเข้าสู่เนื้อเยื่อไม้ สามารถใช้ได้กับพืชผลหลายชนิด ทั้งไม้ต้นสูงและพืชพันธุ์เตี้ย
ในทางพิษวิทยา พาราคว็อทจะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อที่สัมผัส ผิวหนังเป็นแผลพุพอง หากสัมผัสกับตาจะทำให้ตาบวมแดงอักเสบ ประสิทธิภาพในการมองเห็นลดลง หากบริโภคจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองลำคอ ปอด และหายใจไม่ออก และส่งผลต่อสภาวะการทำงานของตับ
ในประเทศโลกที่สาม นิยมใช้พาราคว็อทเป็นยาพิษสำหรับการฆ่าตัวตาย เนื่องจากเป็นสารพิษที่มีจำหน่ายทั่วไป ราคาไม่แพง และไม่จำเป็นต้องใช้ในปริมาณมาก