Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ฟองน้ำ
ฟองน้ำ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Ediacaran–recent | |
---|---|
ฟองน้ำชนิด Aplysina archeri | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | สัตว์ |
ไฟลัม: |
Porifera Grant, 1836 |
ชนิดต้นแบบ | |
Amphimedon queenslandica | |
ชั้น | |
ชื่อพ้อง | |
ฟองน้ำเป็นสัตว์ในไฟลัมพอริเฟอรา (อังกฤษ: Porifera; มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน - porus หมายถึง รู และ ferre หมายถึง พยุงหรือค้ำเอาไว้) เป็นเคลดฐานของสัตว์ ในฐานะเป็นเคลดพี่น้องกับยูเมทาซัว ฟองน้ำเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่ร่างกายเต็มไปด้วยรูและช่องทางสำหรับให้น้ำไหลเวียนเข้าไป โดยประกอบด้วยเมโซฮิลที่คล้ายวุ้นขนาบด้วยชั้นเซลล์บาง ๆ สองชั้น สาขาของสัตววิทยาที่ศึกษาฟองน้ำเรียกว่า spongiology
ฟองน้ำมีเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถแปลงไปเป็นเซลล์ประเภทอื่นได้ และมักจะย้ายที่ไปมาระหว่างชั้นเซลล์หลักและเมโซฮิลในกระบวนการการแปลง ฟองน้ำไม่มีระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร หรือระบบไหลเวียน แต่ฟองน้ำเหล่านี้ใช้น้ำที่ไหลเวียนเข้าออกนั้นเป็นแหล่งอาหารและออกซิเจน และใช้ขับถ่ายของเสีย ฟองน้ำเป็นสัตว์กลุ่มแรกที่แยกสายวิวัฒนาการออกจากบรรพบุรุษร่วมของสัตว์ทุกชนิด จึงทำให้ฟองน้ำเป็นกลุ่มพี่น้องกับสัตว์อื่น ๆ ทุกชนิด
โครงสร้าง
โครงสร้างภายใน
- เป็นสัตว์ที่มีรูเล็ก ๆ ทั่วตัว มีช่องทางให้น้ำผ่านเข้าเรียกว่าออสเทีย (Ostium) ส่วนรูใหญ่ที่อยู่ด้านบนเป็นทางให้น้ำออกเรียกว่าออสคูลัม (Osculum)
- ผนังลำตัวประกอบด้วยเนื้อยื่อสองชั้นคือเนื้อเยื่อชั้นนอกเป็นเซลล์รูปร่างแบนเรียงกันคล้ายแผ่นกระเบื้อง ประกอบด้วยเซลล์เป็นปลอก มีแส้เซลล์ช่วยโบกพัดให้น้ำเคลื่อนผ่านลำตัว และทำหน้าที่กินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่ปนมากับน้ำ เรียกเซลล์เหล่านี้ว่าเซลล์ปลอกคอ (Choanocyte)หรือ(Collar cell)
- ระหว่างเนื้อเยื่อสองชั้น จะมีชั้นกลางที่มีลักษณะคล้ายวุ้นเรียกว่าชั้นมีโซฮิล (Mesohyl) ในชั้นนี้จะเซลล์ที่สามารถเคลื่อนที่และเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นเซลล์อื่นได้ เรียกว่าอะมีโบไซต์ (Amoebocyte) เช่นเปลี่ยนไปเป็นสเกลอโรบลาสต์ (Scleroblast) เพื่อทำหน้าที่ขนส่งอาหารและลำเลียงของเสียออกจากตัวมัน
โครงสร้างภายนอก
โครงสร้างที่อยู่ในชั้น Mesohyl เรียกว่า "ขวาก" (spicule) เป็นตัวคงรูปร่างของฟองน้ำ สามารถแบ่งสารประกอบที่ใช้ในการคงรูปร่างได้เป็น 3 ชนิดคือ
- ขวากหินปูน (Calacreous spicule) มีหินปูนเป็นองค์ประกอบ พบในฟองน้ำหินปูน
- ขวากแก้ว (Siliceous spicule) มีซิลิกา (silica) เป็นองค์ประกอบ
- สปอนจิน (Spongin) ไม่อยู่ในจำพวกของ "ขวาก" แต่เป็นเส้นใยที่มีองค์ประกอบเป็นสารสเกลอโรโปรตีน (Scleroprotein)
ชนิดของเซลล์ | สปิคุล | เส้นใยสปองจิน | โครงสร้างภายนอก | ระบบไหลเวียนน้ำ | |
---|---|---|---|---|---|
แคลคาเรีย | นิวเคลียสอันเดียว, เยื่อหุ้มภายนอกชั้นเดียว |
แคลไซต์ อาจเป็นแบบเดี่ยวหรือ large masses |
ไม่มี | ปกติ สร้างจากแคลไซต์ถ้ามี |
แบบ แอสโคนอยด์ ไซโคนอยด์ หรือลิวโคนอยด์ |
ฟองน้ำแก้ว | ส่วนใหญ่เป็น syncytia ในทุกสปีชีส์ |
ซิลิกา อาจเป็นแบบเดี่ยวหรือ fused |
ไม่มี | ไม่มี | ลิวโคนอยด์ |
เดโมสปองเจีย | นิวเคลียสอันเดียว, เยื่อหุ้มภายนอกชั้นเดียว | ซิลิกา | ในหลายสปีชีส์ | ในบางสปีชีส์ สร้างจาก อะราโกไนต์ ถ้ามี |
ลิวโคนอยด์ |
การสืบพันธุ์
แบบไม่อาศัยเพศ
สืบพันธุ์โดยการแตกหน่อด้วยการสร้างเจมมูล (gemmule) การสร้างเจมมูลจะเกิดในฟองน้ำที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด เมื่อพบสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสมเช่นอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป หรือแห้งแล้งเกินไป กลุ่มเซลล์อาร์คีโอไซต์ ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากเซลล์อะมีโบไซต์ ซึ่งหลังจากนั้นจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มแล้วจึงสร้างหรือขวากมาห่อหุ้มไว้จนกลายเป็นเจมมูล ซึ่งทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี ถึงแม้ฟองน้ำตัวแม่จะตายไป เจมมูลจะยังคงดำรงชีวิตอยู่ได้ เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมแล้ว เจมมูลจะรวมกลุ่มกันจนกลายเป็นฟองน้ำตัวใหม่ต่อไป
แบบอาศัยเพศ
ฟองน้ำจะสร้างอสุจิและไข่จากเซลล์อาร์คีโอไซต์ ซึ่งอยู่ในชั้น Mesohyl กระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศนั้นจะเกิดขึ้นในตัวของฟองน้ำ เมื่ออสุจิเพศผู้ผสมกับไข่เพศเมียได้จากไซโกต เจริญเติบโตจนเป็นตัวอ่อนที่ขนเซลล์รอบตัวแล้ว ตัวอ่อนจะเคลื่อนตัวออกจากตัวแม่ผ่านทางออสคูลัม เพื่อว่ายน้ำไปเกาะตามหินและสืบพันธุ์ฟองน้ำตัวใหม่ต่อ ๆ ไป
การจำแนกหมวดหมู่
ฟองน้ำนั้นสามารถจำแนกให้เป็นหมวดหมู่ได้โดยการสังเกตลักษณะของขวากที่แตกต่างกัน ได้เป็น 3 ชั้น (class) ดังนี้
- ชั้นคัลคาเรีย (Calcarea) หรือ ฟองน้ำหินปูน ซึ่งมีขวากเป็นหินปูนรูปร่างคล้ายเข็มสามหรือสี่แฉก ฟองน้ำชนิดนี้มีลักษณะแข็งเปราะ ได้แก่ ฟองน้ำแจกัน (Scypha)
- ชั้นเฮแซกทินเนลลิดา (Hexactinellida) หรือ ฟองน้ำแก้ว คือฟองน้ำหกแฉก ขวากมีองค์ประกอบเป็นซิลิกาซึ่งมีโครงสร้างสานกันเป็นตาข่าย มีรูปร่างคล้ายแจกันและมีสีสันสวยงาม ฟองน้ำชนิดนี้อาศัยอยู่ในทะเลบริเวณน้ำลึก ได้แก่ กระเช้าดอกไม้วีนัส (Venus Flower Basket) หรือฟองน้ำสายพันธุ์ยูเพลคเทลลา (Euplactella)
- ชั้นเดโมสปอนเจีย (Demospongiae) เป็นฟองน้ำที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม ขวากมีองค์ประกอบเป็นเส้นใยที่เป็นสารจำพวกสเกลอโรโปรตีน หรือบางชนิดอาจเป็นซิลิกาผสมใยโปรตีน ไม่มีหินปูนเป็นองค์ประกอบ ฟองน้ำจำพวกนี้อาศัยอยู่ในทะเล และมีสีสันสวยงามได้แก่ ฟองน้ำถูตัว, (Spongia) ฟองน้ำดอกเห็ด, (Pterion) และฟองน้ำจืด (Spongilla)