Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ภาวะกะเทยแท้
ภาวะกะเทยแท้ (True hermaphroditism) | |
---|---|
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
OMIM | 400045 |
DiseasesDB | 29664 |
eMedicine | med/1702 |
MeSH | D050090 |
ภาวะกะเทยแท้ (อังกฤษ: True hermaphroditism) หมายถึงภาวะที่บุคคลที่เป็นกะเทยมีเนื้อเยื่อทั้งของรังไข่ทั้งของอัณฑะ คืออาจจะมีรังไข่ข้างหนึ่งและอัณฑะอีกข้างหนึ่ง แต่โดยทั่วไปแล้วต่อมบ่งเพศข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างจะมีเนื้อเยื่อจากทั้งรังไข่ทั้งอัณฑะที่เรียกว่า ovotestis
ไม่มีเค้สที่บันทึกไว้พร้อมกับหลักฐานเลยว่า เนื้อเยื่อทั้งสองของต่อมบ่งเพศนั้นสามารถทำงานได้พร้อมกัน karyotype ที่พบก็คือ 47XXY (กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์), 46XX/46XY, หรือ 46XX/47XXY โดยมีระดับ mosaicism ที่ต่าง ๆ กัน (โดยมีกรณีที่น่าสนใจหนึ่งที่มี XY ในระดับ 96% แต่สามารถตั้งครรภ์และให้กำเนิดได้)
แม้ว่าภาวะนี้จะคล้ายกับภาวะ mixed gonadal dysgenesis แต่สามารถแยกออกจากกันได้โดยการตรวจสอบเนื้อเยื่อ (histology)
แม้ว่าบุคคลผู้มีภาวะกะเทยแท้อาจจะมีลูกได้ (จนกระทั่งถึง ค.ศ. 2010 ได้มีสิ่งตีพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์ที่รายงานการมีลูกในมนุษย์ภาวะกะเทยแท้ถึง 11 เค้ส) แต่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงว่าเนื้อเยื่อทั้งของรังไข่ทั้งของอัณฑะสามารถทำงานได้พร้อม ๆ กัน ดังนั้น หลักฐานทางวิทยาศาสตร์จึงไม่สนับสนุนคำที่พูดกันว่า กะเทยแท้สามารถทำให้ตนเองตั้งครรภ์ได้
ลักษณะปรากฏ
อวัยวะเพศภายนอกบ่อยครั้งไม่ชัดเจน โดยขึ้นอยู่กับปริมาณของฮอร์โมนเพศชายที่ผลิดโดยเนื้อเยื่ออัณฑะในช่วงประมาณ 8-16 อาทิตย์ในครรภ์
เหตุ
ภาวะกะเทยแท้มีน้อย และอาจเกิดได้จากเหตุหลายอย่าง
- อาจเกิดขึ้นจากการที่ไข่ในมารดาแบ่งเป็นสองใบ แล้วเกิดการผสมพันธ์ไข่ทั้งสองแต่ละใบมีโครโมโซมชุดเดียว (haploid) และไข่ที่ผสมแล้วนั้นเกิดการรวมตัวกันในยุคต้น ๆ ของช่วงพัฒนาการ
- หรืออีกวิธีหนึ่งคือ ไข่ใบหนึ่งอาจจะได้รับการผสมพันธ์จากตัวอสุจิสองตัว แล้วเกิดกระบวนการ trisomic rescue ในเซลล์ลูก (daughter cell) ที่แบ่งออกจากกัน
- ไข่สองใบที่มีการผสมพันธ์โดยตัวอสุจิสองตัวบางครั้งจะรวมตัวกันเป็น chimera มีเซลล์สืบพันธุ์ 4 ชุด ถ้าไข่ที่ผสมแล้วใบหนึ่งมีเพศชายอีกใบหนึ่งมีเพศหญิงมารวมตัวกัน บุคคลนั้นอาจมีภาวะเป็นกะเทย (แต่ไม่จำเป็น)
- อาจเกิดขึ้นเพราะการกลายพันธุ์ของยีน SRY
อุภโตพยัญชนกในศาสนาพุทธ
ในศาสนาพุทธ คำว่า อุภโตพยัญชนก หมายถึง คนมีทั้งสองเพศ ไม่เหมือนกับคำว่า บัณเฑาะก์ ซึ่งหมายถึง คนที่ไม่มีเพศแต่กำเนิด ชายผู้มีราคะกล้าเสพกามกับชายอื่น หรือชายผู้มีอัณฑะถูกตัดออกไปแล้ว
อุภโตพยัญชนกท่านแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
ประเภท | ปกติ | เมื่อกำหนัดผิดปกติ | การตั้งครรภ์ | |
สตรีอุภโตพยัญชนก | อวัยวะเพศหญิงปรากฏ แต่อวัยวะเพศชายปกปิดไว้ | เมื่ออยู่ร่วมกับสตรี อวัยวะเพศชายก็จะปรากฏ อวัยวะเพศของหญิงจะปกปิดไว้ | ตั้งครรภ์เองได้ ให้ผู้อื่นตั้งครรภ์ได้ | |
บุรุษอุภโตพยัญชนก | อวัยวะเพศชายปรากฏ แต่อวัยวะเพศหญิงปกปิดไว้ | เมื่ออยู่ร่วมกับชาย อวัยวะเพศหญิงก็จะปรากฏ อวัยวะเพศของชายจะปกปิดไว้ | ไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้ แต่ให้ผู้อื่นตั้งครรภ์ได้ |
อุภโตพยัญชนกทั้งสองประเภทนี้ ท่านกล่าวว่าไม่ควรให้บรรพชาหรืออุปสมบท ถ้าบรรพชาอุปสมบทแล้ว พึงให้สึกออกไปเสีย ไม่เหมือนกับบัณเฑาะก์บางประเภทซึ่งยังให้บวชได้ ให้สังเกตว่าภาษาไทยใช้คำว่า กะเทย สำหรับทั้งอุภโตพยัญชนกทั้งบัณเฑาะก์
รูปขี้ผึ้งของกะเทยผู้มีอวัยวะเพศภายนอกไม่ชัดเจน (อยู่ที่ Panoptikum house of wax ที่เมืองฮัมบูรก์ ประเทศเยอรมนี)
รูปขี้ผึ้งของกะเทยผู้มีอวัยวะเพศภายนอกไม่ชัดเจน (อยู่ที่ Panoptikum house of wax ที่เมืองฮัมบูรก์ ประเทศเยอรมนี)
ให้สังเกตว่า ภาวะกะเทยแท้ทางการแพทย์เน้นอวัยวะภายในคือเนื้อเยื่อที่มาจากทั้งรังไข่ทั้งอัณฑะ แต่สภาวะของความเป็นอุภโตพยัญชนกท่านเน้นทั้งอวัยวะภายนอก (โดยเห็นเป็นเพศชายและเพศหญิง) และอวัยวะภายใน (โดยตั้งครรภ์และให้ตั้งครรภ์ได้)
รูปอื่น ๆ
-
"ภาพถ่ายของกะเทยผู้มีอวัยวะเพศภายนอกไม่ชัดเจนที่ bioline.org.br". สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) </ref> -
"ภาพถ่ายของกะเทยผู้มีอวัยวะเพศภายนอกไม่ชัดเจนที่ intersexual.files.wordpress.com". สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) </ref>
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: Hermaphroditism in humans |