Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

มลพิษทางดิน

Подписчиков: 0, рейтинг: 0

มลพิษทางดิน หรือการปนเปื้อนดิน (อังกฤษ: soil pollution) เกิดจากการมีสารเคมีที่มนุษย์สร้างหรือการเปลี่ยนแปลงอื่นในสิ่งแวดล้อมดินธรรมชาติ ตรงแบบเกิดจากกิจกรรมอุตสาหกรรม สารเคมีเกษตรกรรมหรือการกำจัดของเสียอย่างไม่เหมาะสม สารเคมีที่เกี่ยวข้องมากที่สุด คือ ไฮโดรคาร์บอนปิโตรเลียม พอลินิวเคลียร์อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (เช่น แนฟทาลีนและเบนโซไพโรซีน) ตัวทำละลาย ยาฆ่าแมลง ตะกั่วและโลหะหนักอื่น การปนเปื้อนสัมพันธ์กับระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมและระดับการใช้สารเคมี

สาเหตุ

มลพิษทางดินอาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้

  • การนำสารพิษลงดินโดยอุบัติเหตุ
  • ฝนกรด (ซึ่งเกิดจากมลพิษทางอากาศ)
  • เกษตรกรรมแบบเข้มข้น
  • การทำลายป่า
  • กากนิวเคลียร์
  • อุบัติเหตุทางอุตสาหกรรม
  • สถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอยและการฝังกลบขยะอย่างมิชอบด้วยกฎหมาย
  • การกร่อนของดิน
  • วิธีการทางการเกษตร เช่น การใช้ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าวัชพืชและปุ๋ย
  • การทำเหมืองและอุตสาหกรรมอื่น
  • การทิ้งน้ำมันเชื้อเพลิง
  • ขยะที่ถูกฝัง
  • การทิ้งเถ้าถ่าน
  • การทิ้งเครื่องกระสุนและยุทธภัณฑ์
  • การชะน้ำพื้นผิวที่ปนเปื้อนลงดิน
  • ขยะอิเล็กทรอนิกส์
  • สารเคมี ซึ่งที่พบบ่อยที่สุด คือ ไฮโดรคาร์บอนปิโตรเลียม ตัวทำละลาย ตะกั่วและโลหะหนักอื่น

แบ่งตามประเทศ

มลพิษในดินที่เห็นได้ชัดเจน ดังนี้

สาธารณรัฐประชาชนจีน

จากการสำรวจดินโดยกระทรวงคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของจีน สำรวจพื้นที่สองในสามของจีน ประมาณ 10,000,0000 ตารางไมล์ พบว่า 99.1 % ของดินมีการปนเปื้อนโลหะหนัก20ตัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากมลพิษจากอากาศเนื่องจากควันส่งผลต่อดิน นอกจากนี้ยังพบว่า 19.4% ของพื้นที่เพาะปลูกมีการปนเปื้อนในดิน ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการขยายตัวของอุตสาหกรรม ส่งผลให้มีการทิ้งกากอุตสาหกรรมสู่ดิน จึงเกิดการปนเปื้อน

ประเทศอินเดีย

ในปี 2012 มีการตรวจพบโลหะยูเรเนียม เกิน 50 % ในดินของประเทศอินเดีย ที่ภูมิภาคมัลวะ (Malwa) ซึ่งมีค่าเกินจากมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกกำหนด ซึ่งสาเหตุมาจากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนมีการปล่อยยูเรเนียมลงสู่ดิน ทำให้เกิดการปนเปื้อน

ผลกระทบ

ผลต่อระบบนิเวศ

มลพิษทางดินมีผลเสียอย่างสำคัญต่อระบบนิเวศ มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของดินอย่างถึงรากซึ่งอาจเกิดจากการมีสารเคมีอันตรายหลายชนิดแม้มีสารนั้นในความเข้มข้นต่ำ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สามารถแสดงออกเป็นการเปลี่ยนแปลงของเมแทบอลิซึมของจุลินทรีย์และสัตว์ขาปล้องประจำถิ่นในดินนั้น ๆ ส่งผลให้มีการกำจัดห่วงโซ่อาหารปฐมภูมิบางส่วน ซึ่งอาจมีผลลัพธ์ใหญ่หลวงต่อผู้ล่าหรือผู้บริโภคต่อไป ซึ่งผลกระทบภายในระบบนิเวศนั้นจะแบ่งได้เป็น 2 ส่วน จากสิ่งมีชีวิตที่มีการใช้ดินในการดำรงชีวิต ได้แก่

  • ผลต่อพืชและโครงสร้างของดิน

พืชทุกชนิดต้องอาศัยดินในการเจริญเติบโตทั้งนั้น หากมีการปนเปื้อนในดิน ซึ่งสาเหตุหลักมาจากกิจกรรมทางการเกษตรของมนุษย์ เช่น การใช้ยาปรับศัตรูพืชชนิดแอมโมเนียมซัลเฟต แล้วละลายน้ำจะถูกเปลี่ยนเป็นไนเตรท ( Nitrate ) ส่งผลโดยตรงต่อการดูดซึมแร่ธาตุอาหารของพืชจากดิน จากเดิมพืชใช้รากดูดซึมอาหารจากดิน กลายเป็นรากดูดซึมสารพิษจากดินเข้าไปแทนที่ ทำให้พืชมีการเจริญเติบโตที่ช้าลง เกิดการตกค้างของสารพิษในพืช ส่งผลให้อัตราการสร้างคลอโรฟิลล์ลดลง ใบพืชแห้งเหี่ยว ไม่มีดอกไม่มีผล จำนวนพืชค่อยๆลดลง และตายไป เมื่อพืชตายไปทำให้ดินขาดความสมดุล สามารถเกิดการผุกร่อน และพังทะลายของหน้าดินได้โดยง่าย ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์

สัตว์หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในดิน เช่น ไส้เดือน มด แบคทีเรียต่างๆ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีผลทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ดินที่มีการปนเปื้อนจะส่งผลต่อห่วงโซ่อาหารของสัตว์ดังกล่าว ทำให้สัตว์ไม่สามารถใช้ดินในการสร้างอาหารได้ ไม่สามารถย่อยแบคทีเรียได้ ส่งผลต่อกระบวนการเมทาบอลิซึม ทำให้สัตว์และแบคทีเรียค่อยๆตายไป ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูณ์

การควบคุม

การจะแก้ปัญหาการปนเปื้อนในดินนั้นคงจะทำให้หายไปหมดสนิทในทุกจุดคงเป็นไปแทบจะไม่ได้ ดังนั้นการแก้ไขจึงเป็นการควบคุมให้เกิดการปนเปื้อนของโลหะหนักหรือสารมลพิษให้น้อยที่สุด เพื่อลดปัญหา ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

  1. ปลูกป่าทดแทน การปลูกต้นไม้นั้น เป็นการควบคุมที่สามารถทำได้ง่ายที่สุด ยิ่งหากปลูกต้นไม้ใหญ่เพื้อฟิ้นฟูสภาพดินนั้น ยิ่งสามารถทำได้ เพราะรากของต้นไม้จะช่วยฟื้นฟูและปรับสภาพโครงสร้างของดิน และทำให้พื้นที่บริเวณนั้นมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น
  2. ออกกฎหมายควบคุม ทางหน่วยงานของรัฐบาลได้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ในการปฏิบัติ เพื่อควบคุมปริมาณสารมลพิษในดินไม่ให้เกินมาตรฐาน
  3. Soil Flushing เป็นวิธีการบำบัดฟื้นฟูดินที่มีการปนเปื้อนด้วยสารอินทรีย์และอนินทรีย์ที่สำคัญ โดยใช้หลักการการชะล้างด้วยสารละลายที่เหมาะสม เช่น น้ำ หรือ Surfactants โดยอาศัยคุณสมบัติในการละลาย (solubility) ของมลสารที่ต้องการกำจัด โดยสารปนเปื้อนที่ถูกชะล้างออกมานี้จะถูกเก็บรวบรวมเพื่อนำไปบำบัดอีกครั้ง
  4. การควบคุมแหล่งกำเนิดโดยตรง เป็นการแก้ไขที่สาเหตุโดยตรง เช่น
  • การกำหนดพื้นที่ฝังกลบขยะให้ถูกต้อง เป็นหลักแหล่ง
  • กำหนดสถานที่ในการจัดการกากอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน
  • ออกมาตรการควบคุมกิจกรรมทางการเกษตร เช่น การใช้ยาฆ่าแมลง เพื่อควบคุมปริมาณสารปนเปื้อนลงในดิน
  • มีการนำดินที่เกิดการปนเปื้อนมาฟื้นฟูเพื่อนำกลับมาใช้อีกครั้ง
  • มีการตรวจสอบสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินในบริเวณที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนอยู่เสมอ

Новое сообщение