Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์

Подписчиков: 0, рейтинг: 0

ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ บุหรี่ไฟฟ้า (อังกฤษ: electronic cigarette) หรือ บุหรี่ไอน้ำ (อังกฤษ: vapor cigarette) คือผลิตภัณฑ์ยาสูบจำพวกบุหรี่ บุหรี่ซิการ์ และบุหรี่แบบกล้องสูบ ซึ่งทำขึ้นจากอุปกรณ์ประจุแบตเตอรีที่จะส่งผ่านนิโคตินไปยังผู้สูบ โดยมีลักษณะคล้ายคลึงกับยาสูบจริง โดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 แบบคือ แบบที่คล้ายกับบุหรี่จริง กับแบบที่เรียกว่าแบบปากกา (Pen style) มีลักษณะเหมือนบุหรี่ที่มีปลายด้านก้นกรองเสียบอยู่กับตัวต่อก้นกรองอีกชั้นหนึ่ง แต่ในปัจจุบันเริ่มมีลักษณะที่ถูกผลิตให้ไม่มีลักษณะคล้ายบุหรี่ แต่มีลักษณะคล้ายรีโมตรถยนต์ และยังมีรูปแบบที่ผู้ใช้ปรับปรุง (modify) เองด้วย ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ถูกคิดค้นขึ้นในประเทศจีน

ส่วนประกอบของเครื่องยาสูบอิเล็กทรอนิกส์

ส่วนประกอบของยาสูบอิเล็กทรอนิกส์
A หลอดไฟแอลอีดี มักเป็นสีส้มแดง หรือสีฟ้า
B แบตเตอรี่
C ตัวสร้างควัน
D ตัวเก็บนิโคติน

โดยทั่วไป สามารถถอดแยกชิ้นส่วนได้เป็น 3 ส่วนคือ

  • ส่วนแบตเตอรี่ (Battery) คือส่วนที่มีลักษณะคล้ายกับตัวบุหรี่ มีความยาวราว 55–80 มิลลิเมตร ส่วนปลายมักมีหลอดไฟแอลอีดีแสดงสถานะการทำงาน และแจ้งเตือนระดับแบตเตอรี่ มีทั้งแบบอัตโนมัติและแบบตรวจด้วยมือ
  • ส่วนตัวสร้างควัน และความร้อน (Atomizer) คือส่วนกลาง จะมีไมโครชิพ (micro ship circuit) ควบคุมการทำงาน และขดลวดอีเล็กทรอนเพื่อเปลี่ยนน้ำยา (e-liquid) ให้กลายเป็นละอองไอน้ำ และสร้างกลิ่นเสมือนบุหรี่จริง
  • ส่วนเก็บน้ำยา (Cartridge) หรือส่วนปากดูด (Mouth piece) จะรูปร่างคล้ายปากเป็ด หรือทรงกระบอก และอีกด้านหนึ่งจะเป็นกระเปาะใส่วัสดุซับน้ำยาไว้

นอกจากส่วนประกอบในตัวเครื่องแล้ว ส่วนประกอบสำคัญของยาสูบอิเล็กทรอนิกส์คือน้ำยา (e-liquid) ซึ่งผลิตจากสารโพรพลีลีนกลีเซอรอล (Propylene Glycerol) หรือสารโพรพลีลีน กลีคอล (Propylene Glycol) หรือเรียกสั้น ๆ ว่าสารพีจี (PG) ซึ่งเป็นตัวทำละลายระดับที่บริโภคได้ (Food-Grade) สารพีจีอยู่ในเครื่องสำอางแทบทุกชนิด รวมทั้งแชมพู สบู่ โฟมล้างหน้า หรือแม้กระทั่งลูกอม สารพีจีนี้อาจมีการสะสมหรือระคายเคืองหากได้รับเป็นเวลานาน สารพีจีจะใช้เป็นตัวละลายกลิ่นหรือรสชาติกับนิโคติน โดยทั่วไปจะกำหนดระดับของสารนิโคตินในน้ำยาไว้ดังนี้

  • ระดับสูงมาก (Extra High) มีระดับนิโคติน 20-24 มิลลิกรัม
  • ระดับสูง (High) มีระดับนิโคติน 16-18 มิลลิกรัม
  • ระดับปานกลาง (Medium) มีระดับนิโคติน 11-14 มิลลิกรัม
  • ระดับต่ำ (Low) มีระดับนิโคติน 4-8 มิลลิกรัม
  • ไม่มีนิโคติน (Non) มีระดับนิโคติน 0-2 มิลลิกรัม
  • นอกจากนี้ปัจจุบันมีบางบริษัทผลิตระดับนิโคตินสูงสุด (Super High) คือ 34 มิลลิกรัมซึ่งอาจเกิดอันตรายหากรับในปริมาณมาก


ชนิดของสารประกอบบุหรี่ไฟฟ้า

โดยทั่วไปแล้วบุหรี่ไฟฟ้าจะใช้น้ำยานิโคตินเป็นส่วนประกอบหลักในการนำส่งนิโคตินเข้าสู่ร่างกายผู้บริโภค สามารถแยกได้ทั่วไปเป็น 2 ชนิดหลักคือ

  • นิโคตินที่ไร้ความเป็นด่าง (Free-base Nicotine)
  • เกลือนิโคติน (Nicotine Salts)

นิโคตินที่ไร้ความเป็นด่างคือการนำค่าความด่างออกจากสารนิโคตินตั้งตนที่ได้มาจากใบยาสูบตามธรรมชาติ ที่ส่งผลให้ได้รับนิโคตินเข้มช้นกว่าในปริมาณที่ใกล้เคียงกันกับชนิดยาสูบ ซึ่งแม้จะลดความรู้สึกระคายเคืองลำคอ แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้รับสารนิโคตินได้มาก


เกลือนิโคตินนั้นคือการนำ นิโคตินที่ไร้ความเป็นด่าง มาเติม "กรด" บางชนิดเข้าไป เพื่อทำให้การนำนิโคตินเข้าสู่ร่างกายเป็นไปได้อย่างนุ่มนวลมากขึ้น เป็นการพัฒนาทางอุตสาหกรรมการผลิตน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าที่ส่งผลให้ได้รับนิโคตินเข้มข้นมากขึ้นจากปริมาณยาสูบตั้งต้นที่ใกล้เคียงกัน

การทำงานของยาสูบอิเล็กทรอนิกส์

รูปแสดงการทำงานของยาสูบอิเล็กทรอนิกส์

การทำงานของยาสูบอิเล็กทรอนิกส์คือ การลวงประสาทสัมผัสของผู้เสพว่าได้รับการสนองตอบต่อความต้องการนิโคตินจาก "บุหรี่" จริงแล้ว ด้วยปริมาณนิโคตินที่ได้รับจาก ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ในจำนวนที่จำกัด ตามความเหมาะสม และด้วยรูปลักษณ์ ด้วยแสงไฟแอลอีดีที่ปลายอุปกรณ์ และรูปร่างของไอน้ำสีขาวที่มีลักษณะคล้ายควัน สร้างความรู้สึก "เสพ" ไปแล้ว ควันที่เกิดจากยาสูบอิเล็กทรอนิกส์คือไอน้ำที่เกิดจากปฏิกิริยาของสารพีจีที่ถูกคลื่นความร้อนไมโครเวฟจากตัวสร้างควันทำให้แตกตัวและดูดน้ำในอากาศกลายเป็นสายหมอกไอน้ำสีขาวที่มีคล้ายคลึงกับไอนำจากกาต้มน้ำ แต่มีความหนาแน่นและรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนมากกว่า ซึ่งจะแตกต่างจากควันบุหรี่จริงที่มีสีออกเทา

แม้ว่ายาสูบอิเล็กทรอนิกส์จะปราศจากส่วนผสมของใบยาสูบ และการสันดาปอันก่อให้เกิดสารพิษกว่า 4,000 ชนิดในบุหรี่จริงก็ตาม แต่ผู้สูบยังคงได้รับนิโคตินอยู่ โดยระดับนิโคตินจะมีปริมาณต่าง ๆ กันแล้วแต่ผู้ใช้จะเลือกใช้นำยานิโคตินระดับใด ซึ่งการรับนิโคตินที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดการระคายเคือง คลื่นใส้ และมีผลต่อหัวใจได้ จึงไม่อาจกล่าวว่า ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ ปลอดภัยได้ 100% แต่ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์เป็นเพียงทางเลือกหนึ่ง สำหรับผู้ต้องการลดปริมาณพิษสะสม อันเกิดจากบุหรี่จริง และการสูบยาสูบอิเล็กทรอนิกส์อาจประยุกต์ใช้กับการเลิกบุหรี่แบบถาวรได้

ความปลอดภัย และข้อวิจารณ์ต่อยาสูบอิเล็กทรอนิกส์

ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์มีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ทั่วไป โดยเหตุผลสำคัญคือยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ไม่ปล่อยควันยาสูบที่เป็นอันตราย แต่อาจมีสารตกค้าง และความเสี่ยงในการรับนิโคตินมากเกินไป ในด้านผลกระทบของการที่นิโคตินได้รับความร้อนก่อนที่จะถูกสูดเข้าไป ไม่มีผลต่อความแตกต่างของนิโคตินที่มีในบุหรี่จริง เพียงแต่จากนิโคตินที่ได้รับจากยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีสารเคมีหลายพันชนิดรวมอยู่ในนั้น ซึ่งสารเคมีหลายชนิดในบุหรี่จริงนั้นเป็นผลจากการเผาไหม้ยาสูบ

ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ โดยเฉพาะจากบริษัทบุหรี่ อาทิ ฟิลิป มอร์ริส (Philip Morris) ว่าอาจไม่มีความปลอดภัยในการใช้ นอกจากนี้บริษัทยาขนาดใหญ่ที่สนใจเกี่ยวกับกับยาเพื่อการเลิกสูบบุหรี่ (อาทิแผ่นแปะนิโคติน หรือเม็ดอมนิโคติน) ได้ให้การสนับสนุนทางการเงินอย่างเป็นรูปธรรมต่อกลุ่มสาธารณสุขเพื่อเรียกร้องให้มีการห้าม (ban) ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากยาสูบอิเล็กทรอนิกส์มีผลต่อความอยากบุหรี่ และสามารถทำให้เลิกบุหรี่ได้ ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ และได้รับการยอมรับในหลายประเทศ แต่ก็เป็นสินค้าผิดกฎหมายในอีกหลายประเทศเช่นกัน

ในประเทศไทยกระทรวงสาธารณสุขได้มีมาตรการห้ามนำบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศโดยใช้กฎหมาย 3 ฉบับ ได้แก่

  • พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 มาตรา 10 เรื่องห้ามผลิต นำเข้า เพื่อขายหรือเพื่อจ่ายแจกเป็นการทั่วไปหรือโฆษณาสินค้าอื่นใดที่มีรูปลักษณะ ที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นสิ่งเลียนแบบผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทบุหรี่ซิการ์แรต หรือบุหรี่ซิการ์ มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
  • พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 12 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขายหรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งยาแผนปัจจุบัน เว้นได้แต่ได้รับอนุญาตฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีและปรับไม่เกิน 10,000 บาท และมาตรา 72 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิตขาย หรือนำเข้าหรือสั่งนำเข้ายาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มาในราชอาณาจักร ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีและปรับไม่เกิน 20,000 บาท
  • พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27ผู้ใดนำหรือพาของที่ยังมิได้เสียค่าภาษีหรือของต้องจำกัดหรือของต้องห้าม หรือที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรสยามความผิดครั้ง หนึ่งจะมีโทษปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรขาเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปีหรือทั้งปรับทั้งจำ

กระทรวงสาธารณสุขอ้างว่าพบปริมาณนิโคตินสูงกว่าบุหรี่ทั่วไปหลายเท่า และมีผลเสียต่อผู้ที่สูบ หากสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ 1 มวน จะเท่ากับสูบบุหรี่ทั่วไปถึง 15 มวนหากนำไปใช้โดยปราศจากการดูแลของแพทย์จะเป็น อันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือดได้ และยังอ้างอีกว่ายาสูบอิเล็กทรอนิกส์มีฤทธิ์เทียบเท่าเฮโรอีน ขณะเดียวกันผู้ใช้ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ก็มีการโต้แย้งว่าบุหรี่จริง มีนิโคตินที่ได้รับจากการเผาไหม้ใบยาสูบ ซึ่งนอกจากนิโคตินแล้ว ยังมีสารก่อมะเร็งและสารพิษมากมาย และควันของบุหรี่นี้เองที่เป็นอันตราย ส่วนยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ มีนิโคตินที่ถูกผสมในสารพีจีโดย 1 มิลลิลิตรใช้เวลาสูบมากกว่า 100-150 ครั้ง ในขณะที่บุหรี่ 1 มวน ใช้เวลาสูบหมดประมาณ 10-15 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งที่สูบยาสูบอิเล็กทรอนิกส์จะได้รับนิโคตินใกล้เคียงกับบุหรี่จริง และในปริมาณที่ไม่เป็นอันตราย

ปัจจุบันในสังคมไทยยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ยังไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้า และไม่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแต่ก็มีผู้ใช้หลายคนยังยืนยันจะใช้ต่อเพื่อเลิกบุหรี่เช่นกัน

ประเภทของบุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้าโดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักคือ

บุหรี่ไฟฟ้าแบบเติมน้ำยา และ บุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้แล้วทิ้ง


วิวัฒนาการของบุหรี่ไฟฟ้านั้นแบ่งได้ประมาณ 4 ยุคคือ

  • ยุคแรก คือการออกแบบบุหรี่ไฟฟ้าแบบ ใช้แล้วทิ้ง โดยทำออกมาคล้ายคลึงกับบุหรี่จริงทั่วไปแต่เปลี่ยนวิธีการให้ความร้อนจะการเผาไหม้เป็นการเพิ่มความร้อนจากขดลวดให้เกิดไอน้ำแทน โดยมีชื่อเล่นว่า Cigalike
  • ยุคที่สอง คือการทำบุหรี่ไฟฟ้าเป็นแบบปากกา เพิ่มความสามารถในการชาร์จแบตเตอร์รี่ได้ เติมน้ำยาได้หรือเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ของสารน้ำยาเพื่อการใช้ซ้ำได้
  • ยุคที่สาม คือบุหรี่ไฟฟ้าที่เป็นแบบเป็นแทงค์ มีขนาดใหญ่ขึ้นจากบุหรี่ไฟฟ้าในรุ่นที่สองและสามารถปรับแต่งอุปกรณ์ภายในได้มากกว่า เช่นการปรับแรงดันไฟและการปรับขนาดของขดลวดที่ให้ความร้อนเป็นต้น

โดยในบุหรี่ไฟฟ้าประเภท Tank นี้จะสามารถแบ่งออกได้เป็นสองรุ่นย่อยคือ

บุหรี่ไฟฟ้าแทงค์แบบทั่วไป Regular Mod

บุหรี่ไฟฟ้าแทงค์แบบยิงสด Unregular Mod (Irregular)

โดยแบบแทงค์ทั่วไปนั้นจะมีแผงวงจรที่ใช้ควบคุมการจ่ายไฟจากแบตเตอร์รี่หรือถ่าน ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมการทำงานของเครื่องได้ผ่านแผงหน้าจอที่แสงดข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับอุปกรณ์เอาไว้ด้วย

ส่วนแบบแทงค์ยิงสดนั้น “ไม่มี” แผงวงจรควบคุมการทำงานและการจ่ายกระแสไฟจะส่งจากถ่านไปยังขดลวดที่เป็นตัวให้ความร้อนแก่น้ำยาโดยตรง เพราะฉะนั้นความแรงของกระแสไฟจะขึ้นอยู่กับแหล่งให้พลังงานโดยตรง

ซึ่งทั้งสองแบบนั้น ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของอุปกรณ์ และความรู้เกี่ยวกับสารประกอบของน้ำยา ปริมาณที่ต้องใช้ การคำนวณค่ากำลังการจ่ายไฟ ข้อดีของบุหรี่ไฟฟ้าประเภทนี้คือ ให้สารนิโคตินประมาณน้อยมากถึงไม่มี และมีกลิ่นและรสชาติที่ดีกว่า แต่เนื่องจากต้องอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์และความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า เพราะฉะนั้นจึงอาจส่งผลให้มีอันตรายต่อผู้ใช้ได้มากกว่าหากว่าไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญมากพอ

  • ยุคที่สี่ บุหรี่ไฟฟ้าแบบฝัก (Pod) คือบุหรี่ไฟฟ้าที่ต่อยอดมาจาก Irregular Mod โดยมีการคิดคำนวณการจ่ายไฟจากแบตเตอร์รี่ที่ใช้ตั้งแต่ในขั้นตอนการผลิต และลักษณะเฉพาะของ Pod นั้นจะใช้คู่กับสารประกอบที่เรียกกันว่า เกลือนิโคติน ที่ให้ปริมาณนิโคตินเข้มข้นเมื่อเทียบกับปริมาณนิโคตินที่ได้จากสารประเภท ไร้ความเป็นด่าง โดยบุหรี่ไฟฟ้าประเภทฝักสามารถแบ่งได้สองประเภทย่อยคือ

- ระบบเปิด ที่สามารถเติมน้ำยาลงไปใหม่ได้

- ระบบปิด ที่ต้องถอดเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เมื่อน้ำยาหมด

  • การสูบบุหรี่ไฟฟ้าทางเลือกใหม่ I Quit Ordinary Smoking - IQOS

บุหรี่ไฟฟ้า IQOS คือ เทคโนโลยี heat not burn technology เป็นการใช้ความร้อนแต่ไม่เผาไหม้ ต้องใช้กับบุหรี่แบบมวนเฉพาะรุ่น หรือที่เรียกว่า Heatstick เท่านั้น (อย่าเผลอไปเอาบุหรี่มวนทั่วไปมาใส่เข้าล่ะ) ออกแบบมาเพื่อลดอัตราการเกิดมะเร็ง ควบคุมปริมาณสารอันตรายอย่าง นิโคติน ในบุหรี่ทั่วไป โดยสามารถใช้ได้กับบุหรี่มวนแบบพิเศษที่ออกแบบมาเพื่ออุปกรณ์ชนิดนี้โดยเฉพาะ

กฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบทุกชนิดนั้น "ไม่มีกฎหมายรับรอง" ส่งผลให้เกิดความเข้าใจว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และอาจจะถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐยึดและปรับเป็นจำนวนมากได้

โดยในปัจจุบันมียังมีกลุ่มผู้นิยมบุหรี่ไฟฟ้าจำนวนมาก พยายามผลักดันการแก้ไขกฎหมายให้รองรับบุหรี่ไฟฟ้า เนื่องจากรัฐเองสูญเสียรายได้จากการเก็บภาษีจากบุหรี่ไฟฟ้าเป็นจำนวนเงินมหาศาล และจากงานวิจัยจากต่างประเทศทั่วโลก สามารถยืนยันได้ว่า บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้สร้างโทษมากไปปกว่า บุหรี่แบบเผาไหม้ปกติอย่างแน่นอน


Новое сообщение