Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

รังสีวิทยา

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
Dr. Macintyre's X-Ray Film (1896)

รังสีวิทยา (อังกฤษ: Radiology)เป็นสาขาทางการแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่งทีส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการสร้างภาพในส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคโดยอาศัยเครื่องมือ พิเศษต่างๆในทางการแพทย์โดยเฉพาะการใช้ รังสีเอกซ์ (x-ray) รังสีแกมมา ( Gamma ray)จากสารกัมมันตภาพรังสีคลื่นเสียง คลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound)คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Nuclear Magnetic Resonance Imaging )เป็นต้น และ/หรือใช้ในการรักษาก็ได้

แพทย์เฉพาะทางที่อยู่ในสาขานี้เรามักเรียกกันว่า รังสีแพทย์ โดยทั่วไปบุคคลใดที่ต้องการจะเป็นรังสีแพทย์ต้องเรียนจบได้รับ ปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิต ตามกฎของแพทย์สภาเสียก่อนจึงจะสามารถมาขอสมัครเข้ารับการศึกษาต่อในสาขาวิชานี้ได้ โดยใช้เวลาศึกษาต่ออีก 3 ปี ในกรณีที่เป็นแพทย์ประจำบ้านหรือที่เรามักเรียกกันว่า residency training และสามารถศึกษาต่อยอดเป็นอนุสาขาหรือที่เรียกว่า fellowship training ได้อีก 1-2 ปี แล้วแต่กรณี

ประวัติเริ่มต้น

ผู้ที่ค้นพบเอ็กซเรย์เป็นคนแรก คือ นักฟิสิกซ์ชาวเยอรมัน ชื่อ วิลเฮม คอนราด เรินท์เก้น (Wilhelm Conrad Roentgen) การพบนี้เกิดขึ้นในตอนเย็น ของวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ.1895 เรินต์เกนพบว่า รังสีเอกซ์นี้สามารถฉายทะลุวัตถุทึบแสง เช่น ร่างกายมนุษย์ได้ เขาจึงลองเอารังสีเอกซ์มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ โดยฉายรังสีเอกซ์ผ่านมือคน เนื้อ เอ็น และกระดูกในมือคน ก็จะกั้นเอารังสีไว้ บางส่วนปล่อยให้ผ่านไปบางส่วน ส่วนเนื้อและเอ็นกั้นรังสีได้น้อยก็มีรังสีผ่านออกมามาก กระดูกกั้นรังสีได้มาก ก็มีรังสีเหลือผ่านออกมาน้อย รังสีทั้งหมดที่ผ่านมือออกมาจึงมีความเข้มต่อพื้นที่ไม่เท่ากัน ทำให้เกิดเป็นรูปแบบ (pattern) ของความเข้มของรังสีในรูปมือขึ้น เมื่อเอารังสีที่มีรูปแบบแล้วนี้ไปกระทบวัสดุที่ไวต่อแสง เช่น ฟิล์มถ่ายรูปหรือกระดาษอัดรูป (photographic material)แล้วนำไปล้างด้วยน้ำยาล้างรูป ก็จะเกิดภาพของมือที่มีกระดูกซ้อนอยู่ในเนื้อด้วย แพทย์จึงสามารถบอกได้ว่ากระดูกข้างในมือนั้นหักหรือไม่ โดยจำเป็นต้องผ่าเอาเนื้อที่หุ้มกระดูกออกมาดู


หลักสูตรแพทย์ประจำบ้านรังสีวิทยา

รังสีวิทยาทั่วไป (General Radiology)

แพทย์ประจำบ้านรังสีวิทยาทั่วไปต้องเรียนทั้งรังสีวินิจฉัย (Diagnostic Radiology) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้รังสีเอกซ์ (x-ray)หรือคลื่นเสียงความถี่สูง(ultrasound) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(Magnetic Resonance Imaging )ในการสร้างภาพกายวิภาค แล้วนำภาพมาแปรผลเพื่อการวินิจฉัยโรค รังสีรักษา ( Therapeutic Radiology – Radiation Oncology) เป็นการใช้พลังงานทางรังสี ในรูปแบบต่างๆ เช่น electron beam, gamma ray เป็นต้น ในการรักษาโรค ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรคมะเร็ง เวชศาสตร์นิวเคลียร์ (Nuclear Medicine) เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารกัมมันตภาพ รังสี ในการตรวจวินิจฉัยเพื่อตรวจดูการทำงานของอวัยวะต่างๆ รวมทั้งการรักษาโรค

รังสีวินิจฉัย (Diagnostic Radiology)

แพทย์ประจำบ้านรังสีวิทยาวินิจฉัยต้องเรียนเน้นไปในเรื่องรังสีวินิจฉัยอย่างเดียว เนื่องจากในปัจจุบันนี้ ความก้าวหน้าของเครื่องมือทางรังสีวิทยาเพื่อการวินิจฉัยโรคทั้ง Computed Tomography และ Magnetic Resonance Imagingได้พัฒนาไปอย่างมากจึงทำให้การศึกษาในด้านนี้ซับซ้อนกว่าเดิม

รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา (Radiotherapy and Oncology)

แพทย์ประจำบ้านรังสีรักษาต้องเรียนเน้นในวิทยาการทางด้านการรักษาโรคมะเร็ง โดยวิธีการทางรังสี

เวชศาสตร์นิวเคลียร์ (Nuclear Medicine)

แพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ต้องเรียนเน้นในเรื่องวิทยการทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์

หลักสูตรแพทย์ต่อยอดรังสีวิทยา อนุสาขา

รังสีแพทย์หลังจากจบการศึกษาแพทย์ประจำบ้านแล้วสามารถต่อยอดอนุสาขา (fellowship training ) ได้อีก 4 อนุสาขาในปัจจุบันคือ

  1. อนุสาขาภาพวินิจฉัยชั้นสูง ( Advanced Diagnostic Body Imaging)
  2. อนุสาขาภาพวินิจฉัยระบบประสาท(Diagnostic Neuroimaging)
  3. อนุสาขารังสีร่วมรักษาของลำตัว (Body Interventional Radiology)
  4. อนุสาขารังสีร่วมรักษาระบบประสาท ( Interventional Neuroradiology)

รังสีวินิจฉัย (Diagnostic Radiology)

ในอดีตการตรวจผู้ป่วยทางรังสีวิทยา จะเป็นการใช้ x-ray เป็นหลัก ได้แก่เครื่องเอกซเรย์ทั่วไป (general x-ray) เครื่องฟลูโอโรสโคปี (fluoroscopy)สำหรับการตรวจพิเศษ เช่น การกลืนแป้ง เครื่องเอกซเรย์หลอดเลือด (digital subtraction angiography) สำหรับการตรวจหลอดเลือดโดยตรง และมีเครื่องมือที่ไม่มีรังสีแต่ถูกนำมาใช้ตรวจผู้ป่วยในวิชารังสีวิทยา คือ เครื่องคลี่นเสียงความถี่สูง (ultrasound) เครื่องตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI หรือ Magnetic Resonance Imaging ) เป็นต้น การพัฒนาเครื่องมือเหล่านี้ทำให้มีการตรวจวินิจฉัยโรคมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น spiral or helical computed tomography เป็น CT ที่มีความเร็วสูงมีการตรวจและสร้างภาพได้อย่างรวดเร็ว จนสามารถสร้างภาพเส้นเลือดแดง(arterial phase)ในส่วนต่างๆของร่างกาย (CT angiography ) แม้กระทั่งหัวใจที่เต้นอยู่ตลอดเวลาก็สามารถตรวจและสร้างภาพออกมาได้ (CT coronary artery ) เครื่องมืออีกอย่างหนึ่งที่ไม่ได้ใช้ x-ray แต่ถูกนำมาใช้ตรวจกันมากในทางรังสีคือ MRI ซึ่งใช้ high magnetic field และ radio waveในการทำให้เกิดภาพภายในร่างกายเพื่อให้การวินิจฉัยโรคได้

รังสีร่วมรักษา (Interventional Radiology)

Interventional radiology หรือ รังสีร่วมรักษา ในบัญญัติภาษาไทย เป็นการทำหัตถการโดยรังสีแพทย์เป็นส่วนใหญ่(มีแพทย์บางสาขาที่พยายาม เรียนรู้และนำไปปฏิบัติ ) โดยมักใช้เครื่องเอกซเรย์ fluoroscopy, เครื่อง CT,หรือ ultrasound เป็นเครื่องชี้นำทางในการสอด ใส่เครื่องมือต่างๆ เช่น ลวดนำสายสวนหรือเข็มเป็นต้น หัตถการในยุคแรกๆคือการสอดสายสวนเพื่อตรวจดูพยาธิสภาพของเส้นเลือดที่เรียกว่า Angiography ต่อมาได้พัฒนา ให้มีการใส่สารอุดหลอดเลือดที่มีพยาธิสภาพเรียกว่า Embolization มีการขยายหลอดเลือด ที่เรียกว่า Angioplasty โดยใช้สายสวนที่มีบัลลูนที่ตรงปลาย (balloon catheter ) การใส่ลวดถ่างขยายหลอดเลือดที่ตีบ(stent) การตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจหา พยาธิสภาพ(percutaneous biopsy) การใส่สายระบายเพื่อนำของเสียออกจากส่วนต่างๆของร่างกาย (percutaneous abscess drainage เป็นต้น รังสีแพทย์ที่ทำหัตถการเหล่านี้คือ Interventional radiologist สำหรับรายละเอียดของรังสีร่วมรักษา ภาคภาษาไทยหาอ่านได้ที่ www.thaivir.or.th และภาคภาษาอังกฤษสามารถหาอ่านได้ที่ www.sirweb.org

รังสีรักษาและมะเร็งวิทยาRadiotherapy and Oncology

วิชารังสีวิทยามีสาขาที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานรังสีชนิดต่างๆ รวมทั้งการใช้กัมมันตภาพรังสีในการรักษาโรคโดยเฉพาะโรคมะเร็งเราเรียกว่า รังสีรักษา และมะเร็งวิทยา( Radiation Oncology )และเรียกรังสีแพทย์กลุ่มนี้ว่า Radiotherapist หรือ Radiation oncologist ซึ่งรังสีแพทย์สาขานี้จะนำวิทยาการในด้านการฉายแสง โดยเครื่องที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นพิเศษ เช่นเครื่อง LINAC หรือ Linear Accelerator หรือเครื่อง Cobalt 60 นอกจากนี้ยังมีวิทยาการในการใช้การสารกัมมันตภาพรังสีสอดใส่เข้าไปในโพรงหรืออวัยวะภายในร่างกาย หรือการให้สารเคมีบำบัด (chemotherapy)เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งให้หมดไปจากร่างกายของผู้ป่วยสำหรับรายละเอียด ของรังสีรักษาท่านสามารถค้นคว้าได้ที่เว็บไซต์ของสมาคมฯ www.thastro.org

เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ( Nuclear Medicine )

เวชศาสตร์นิวเคลียร์เป็นศาสตร์ที่แตกต่างจากรังสีวินิจฉัยและรังสีรักษาอย่างมากเพราะเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้อกับการนำนิวเคลียร์เทคโนโลยี่มาใช้ประโยชน์ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ โดยให้สารกัมมันตภาพรังสีเข้าไปในร่างกายโดยการฉีดหรือรับประทานและต้องเตรียมเภสัชรังสีให้เหมาะสมกับการ ตรวจรักษาโรคแต่ละชนิดต้องมีการควบคุมคุณภาพและให้ปลอดเชื้อตลอดจนการคำนวณขนาดของรังสีที่จะให้แก่ผู้ป่วยแต่ละรายก่อนที่จะมีการฉีดหรือ ให้ผู้ป่วยรับประทานแล้วศึกษาการทำงานของอวัยวะและระบบต่างๆ ของร่างกายตลอดจนกลไกพยาธิสรีรวิทยาอย่างละเอียด โดยการถ่ายภาพทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ และยังใช้ในการตรวจโรคระบบโลหิตตลอดจนการตรวจเลือด ปัสสาวะฯลฯ เพื่อวัดระดับฮอร์โมน สารและยาต่างๆในร่างกาย จึงแตกต่าง จากการ วินิจฉัยโรคด้วยการเอกซเรย์อย่างสิ้นเชิง ในด้านการรักษาโรคนั้น สารกัมมันตรังสีที่ใช้เป็นชนิด unsealed source ซึ่งแตกต่างจากด้านรังสีรักษาที่ใช้ sealed source จะต้องมีมาตรการป้องกันอันตรายจากรังสีเป็นพิเศษสำหรับผู้ป่วยและผู้ปฏิบัติงาน ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานด้านนี้จะต้องมีความรู้ความ สามารถและได้รับการฝึกอบรมด้านนี้โดยเฉพาะเพื่อการใช้สารกัมมันตรังสีทางการแพทย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีความปลอดภัยการตรวจวินิจฉัย และรักษาโรคด้วยวิทยาการทางนิวเคลียร์และเทคโนโลยี่ที่เกี่ยวข้องมีความเจริญก้าวหน้าและขยายออกไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง เนื่องจากการตรวจ วินิจฉัยโรคและการรักษาโรคทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ไม่อาจทดแทนด้านการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคโดยวิธีการอื่นเช่นการตรวจการทำงานของ อวัยวะ ต่างๆไม่ว่าจะเป็น หัวใจ ไต ต่อมธัยรอยด์ เป็นต้น หรือการตรวจดูการแพร่กระจายของมะเร็งไปที่อวัยวะต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพสูง ด้วยการตรวจด้วยสารกัมมันตภาพรังสีในเวชศาสตร์นิวเคลียร์ คือ SPECT( Single Photon Emission Tomography)และ PET (Positron Emission Tomography ) ตลอดจนการรักษาโรคต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพสูง เช่นการรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษการรักษาโรคมะเร็งต่างๆ เช่น ต่อมธัยรอยด์ ต่อมหมวกไต ตับ เป็นต้น รวมทั้งโรคบางชนิดทางระบบโลหิตวิทยาในปัจจุบันนี้มีการนำภาพจากเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT)และเครื่องตรวจด้วย คลื่น แม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) มาควบคู่กับภาพ SPECT และ PET ซึ่งภาพจากเครื่องเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์และเครื่องตรวจด้วย คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะแสดงข้อมูล ทาง กายวิภาคของอวัยวะสั้นๆแล้วนำภาพทั้ง2 ระบบมารวมกันกลายเป็นภาพ SPECT/CT ( Single Photon Emission Tomography/ Computed Tomography),PET/CT ( Positron Emission Tomography/Computed Tomography และ PET/MRI ( Positron Emission Tomography/Magnetic Resonance Imaging) ทำให้ได้ข้อมูลทั้งทางด้านสรีรวิทยา,ชีววิทยาโมเลกุล และกายวิภาคพร้อมในคราวเดียวกัน

ข้อมูลเพิ่มเติม


Новое сообщение