Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
รายชื่อทุพภิกขภัย
Подписчиков: 0, рейтинг: 0
รายชื่อทุพภิกขภัยข้างล่างเป็นรายการที่ไม่สมบูรณ์ เป็นรายชื่อของเหตุการณ์ทุพภิกขภัยที่ถือว่าเป็นครั้งสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์เท่านั้น
ศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช
- ปี 440 ก่อนคริสต์ศักราช - ทุพภิกขภัยในโรมันโบราณ
ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช
- ระหว่างปี 108-1911 ก่อนคริสต์ศักราช - ในช่วงนี้มีสถานการณ์ของทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ ๆ เกิดขึ้นกว่า 1828 ครั้งในประเทศจีน หรือเกือบปีละครั้งในส่วนใดส่วนหนึ่งในประเทศ แต่ความกว้างขวางและความรุนแรงก็มีระดับต่างกันไป
คริสต์ศตวรรษที่ 5
- ค.ศ. 400-ค.ศ. 800 - ทุพภิกขภัยในยุโรปตะวันตกที่เกิดขึ้นหลังจากอาลาริคที่ 1 ตีกรุงโรมแตกและทำลายเมือง ประชากรในกรุงโรมลดลงไปเป็นจำนวน 90% ส่วนใหญ่จากโรคระบาดจัสติเนียน
คริสต์ศตวรรษที่ 7
คริสต์ศตวรรษที่ 8
- คริสต์ทศวรรษ 750 - ทุพภิกขภัยในสเปน
คริสต์ศตวรรษที่ 9
- ค.ศ. 800-ค.ศ. 1000 - ความแห้งแล้งคร่าชีวิตประชากรมายาไปเป็นจำนวนหลายล้านคน ที่เกิดจากการล่มสลายที่ทำลายอาณาจักร
- ค.ศ. 809 - ทุพภิกขภัยในจักรวรรดิแฟรงค์
- ค.ศ. 875-ค.ศ. 884 - การปฏิวัติชาวนาในประเทศจีนที่มีสาเหตุมาจากทุพภิกขภัย; ฮองเฉียว (Huang Chao) ยึดเมืองหลวง
คริสต์ศตวรรษที่ 10
- ค.ศ. 927 - ทุพภิกขภัยในจักรวรรดิไบแซนไทน์
คริสต์ศตวรรษที่ 11
- ค.ศ. 1005 - ทุพภิกขภัยในอังกฤษ ในยุคกลางหมู่เกาะอังกฤษประสบกับทุพภิกขภัย 95 ครั้ง
- ค.ศ. 1016 - ทุพภิกขภัยทั่วไปในยุโรป
- ค.ศ. 1022, ค.ศ. 1033 - ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในอินเดียเมื่อประชากรทั้งจังหวัดเสียชีวิตกันจนหมดสิ้น
- ค.ศ. 1064-ค.ศ. 1072 - ทุพภิกขภัยในอียิปต์
- ค.ศ. 1051 - ทุพภิกขภัยในที่ทำให้ชนโทลเท็ค (Toltec) อพยพออกจากบริเวณที่ประสบวิกฤติการณ์ในบริเวณที่ปัจจุบันคือตอนกลางของเม็กซิโก
- ค.ศ. 1066 - ทุพภิกขภัยในอังกฤษ
คริสต์ศตวรรษที่ 12
คริสต์ศตวรรษที่ 13
- ค.ศ. 1230 - ทุพภิกขภัยในโนฟโกรอด
- ค.ศ. 1231-ค.ศ. 1232 - ทุพภิกขภัยในญี่ปุ่น
- ค.ศ. 1235 - ทุพภิกขภัยในอังกฤษ เพียงในลอนดอนเท่านั้นก็มีผู้เสียชีวิตถึง 20,000 คน
- ค.ศ. 1255 - ทุพภิกขภัยในโปรตุเกส
- ค.ศ. 1258 - ทุพภิกขภัยในเยอรมนี และ อิตาลี
- ค.ศ. 1275-ค.ศ. 1299 - การล่มสลายของอารยธรรมอนาซาซิทำให้เกิดทุพภิกขภัยขึ้นโดยทั่วไป
- ค.ศ. 1294 - ทุพภิกขภัยในอังกฤษ
คริสต์ศตวรรษที่ 14
- ค.ศ. 1315-ค.ศ. 1317 - ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในยุโรป
- ค.ศ. 1333 - ทุพภิกขภัยในโปรตุเกส
- ค.ศ. 1333-ค.ศ. 1334 - ทุพภิกขภัยในสเปน
- ค.ศ. 1333-ค.ศ. 1337 - ทุพภิกขภัยในประเทศจีน
- ค.ศ. 1344-ค.ศ. 1345 - ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในอินเดีย
- ค.ศ. 1387 - หลังจากตีมูร์ออกจากอานาโตเลียแล้วทุพภิกขภัยก็ตามมา
- ค.ศ. 1390 - ทุพภิกขภัยในอังกฤษ
- ค.ศ. 1396-ค.ศ. 1407 - ทุพภิกขภัยเดอร์วาเทวีในอินเดียที่ยาวนานถึง 12 ปี
คริสต์ศตวรรษที่ 15
- ค.ศ. 1403-ค.ศ. 1404 - ทุพภิกขภัยในอียิปต์
- ค.ศ. 1441 - ทุพภิกขภัยในมายาพันในเม็กซิโก
- ค.ศ. 1445 - ทุพภิกขภัยในเกาหลี
- ค.ศ. 1450-ค.ศ. 1454 - ทุพภิกขภัยในจักรวรรดิแอซเทค
- ค.ศ. 1460-ค.ศ. 1461 - ทุพภิกขภัยใน Kanshō ใน ญี่ปุ่น
คริสต์ศตวรรษที่ 16
- ค.ศ. 1504 - ทุพภิกขภัยในสเปน
- ค.ศ. 1518 - ทุพภิกขภัยในเวนิส
- ค.ศ. 1528 - ทุพภิกขภัยในลองเกอด็อกในฝรั่งเศส
- ค.ศ. 1535 - ทุพภิกขภัยในเอธิโอเปีย
- ค.ศ. 1540 - ทุพภิกขภัยในสเปน
- ค.ศ. 1555 - ทุพภิกขภัยในอังกฤษ
- ค.ศ. 1567-ค.ศ. 1570 - ทุพภิกขภัยและโรคระบาดในฮาราร์ในเอธิโอเปีย
- ค.ศ. 1574-ค.ศ. 1576 - ทุพภิกขภัยในอิสตันบุลและอานาโตเลีย
- ค.ศ. 1586 - ทุพภิกขภัยในอังกฤษที่ทำให้เกิดระบบกฎหมายประชาสงเคราะห์ (Poor Law)
- คริสต์ทศวรรษ 1590 - ทุพภิกขภัยในยุโรป
คริสต์ศตวรรษที่ 17
- ค.ศ. 1599-ค.ศ. 1600 - ทุพภิกขภัยในสเปน
- ค.ศ. 1601-ค.ศ. 1603 - ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในรัสเซียซึ่งเป็นทุพภิกขภัยครั้งที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซียที่คร่าชีวิตผู้คนไปราว 100,000 คนในมอสโคว์ และถึงหนึ่งในสามของพสกนิกรของซาร์บอริส โกดูนอฟ (Boris Godunov) ทุพภิกขภัยครั้งเดียวกันนี้คร่าชีวิตผู้คนชาวเอสโตเนียไปราวครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด
- ค.ศ. 1611 - ทุพภิกขภัยในอานาโตเลีย
- ค.ศ. 1618-ค.ศ. 1648 - ทุพภิกขภัยในยุโรปที่มีสาเหตุมาจากสงครามสามสิบปี
- ค.ศ. 1619 - ทุพภิกขภัยในญี่ปุ่น ระหว่างสมัยสมัยโชกุนโทะคุงะวะ ทุพภิกขภัยเกิดขึ้นทั้งหมด 154 ครั้ง ในจำนวนนั้น 21 เป็นทุพภิกขภัยที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปและมีความรุนแรง
- ค.ศ. 1623-ค.ศ. 1624 - ทุพภิกขภัยในอังกฤษ
- ค.ศ. 1630-ค.ศ. 1631 - ทุพภิกขภัยในที่ราบสูงเดคคาน (Deccan Plateau) ในอินเดียคร่าชีวิตผู้คนไปราว 2,000,000 คน
- ค.ศ. 1630-ค.ศ. 1631 - ทุพภิกขภัยทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีนที่เป็นสาเหตุหนึ่งที่นำมาซึ่งการล่มสลายของราชวงศ์หมิงในปีค.ศ. 1644
- ค.ศ. 1636 - ทุพภิกขภัยในสเปน
- ค.ศ. 1648-ค.ศ. 1660 - โปแลนด์สูญเสียประชากรไปหนึ่งในสามจากสงคราม, ทุพภิกขภัย และ โรคระบาด
- ค.ศ. 1649 - ทุพภิกขภัยทางตอนเหนือของอังกฤษ
- ค.ศ. 1650-ค.ศ. 1652 - ทุพภิกขภัยทางตะวันออกของฝรั่งเศส
- ค.ศ. 1651-ค.ศ. 1653 - ทุพภิกขภัยทั่วไปในไอร์แลนด์ระหว่างสมัยการพิชิตไอร์แลนด์ของครอมเวลล์
- ค.ศ. 1661 - ทุพภิกขภัยในอินเดียเมื่อฝนแล้งเป็นเวลาสองปี
- ค.ศ. 1661-ค.ศ. 1662 - ทุพภิกขภัยในโมร็อกโก
- ค.ศ. 1661-ค.ศ. 1662 - ทุพภิกขภัยในฝรั่งเศส
- ค.ศ. 1669 - ทุพภิกขภัยในเบงกอล
- ค.ศ. 1680 - ทุพภิกขภัยในซาร์ดิเนีย
- ค.ศ. 1680 - ทุพภิกขภัยในญี่ปุ่น
- คริสต์ทศวรรษ 1680 - ทุพภิกขภัยในซาเฮล
- คริสต์ทศวรรษ 1690 - ทุพภิกขภัยในสกอตแลนด์ที่ทำให้สูญเสียประชากรไป 15%
- ค.ศ. 1693-ค.ศ. 1694 - ทุพภิกขภัยในฝรั่งเศสที่คร่าชีวิตผู้คนไปราว 2 ล้านคน
- ค.ศ. 1695-ค.ศ. 1697 - ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในเอสโตเนียที่คร่าชีวิตผู้คนไปราวระหว่าง 70,000 ถึง 75,000 คน และในสวีเดน อีก 80,000 ถึง 100,000 คน
- ค.ศ. 1696-ค.ศ. 1697 - ทุพภิกขภัยในฟินแลนด์ทำให้สูญเสียประชากรไปหนึ่งในสาม
คริสต์ศตวรรษที่ 18
- ค.ศ. 1702-ค.ศ. 1704 - ทุพภิกขภัยในที่ราบสูงเดคคานในอินเดียที่คร่าชีวิตผู้คนไปราว 2 ล้านคน
- ค.ศ. 1706-ค.ศ. 1707 - ทุพภิกขภัยในฝรั่งเศส
- ค.ศ. 1708-ค.ศ. 1711 - ทุพภิกขภัยในปรัสเซียตะวันออกที่คร่าชีวิตผู้คนไป 250,000 หรือราว 41% ของประชากรทั้งหมด
- ค.ศ. 1709-ค.ศ. 1710 - ทุพภิกขภัยในฝรั่งเศส
- ค.ศ. 1722 - ทุพภิกขภัยในคาบสมุทรอาหรับ
- ค.ศ. 1727-ค.ศ. 1728 - ทุพภิกขภัยในอังกฤษ
- ค.ศ. 1732 - ทุพภิกขภัยในญี่ปุ่น
- ค.ศ. 1738-ค.ศ. 1739 - ทุพภิกขภัยในฝรั่งเศส
- ค.ศ. 1738-ค.ศ. 1756 - ทุพภิกขภัยในแอฟริกาตะวันตก ประชากรครึ่งหนึ่งของทิมบัคทูเสียชีวิต
- ค.ศ. 1740-ค.ศ. 1741 - ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์
- ค.ศ. 1741 - ทุพภิกขภัยในนอร์เวย์
- ค.ศ. 1750 - ทุพภิกขภัยในสเปน
- ค.ศ. 1750-ค.ศ. 1756 - ทุพภิกขภัยในบริเวณเซเนแกมเบีย
- ค.ศ. 1764 - ทุพภิกขภัยในเนเปิลส์
- ค.ศ. 1769-ค.ศ. 1773 - ทุพภิกขภัยในเบงกอล
- ค.ศ. 1770-ค.ศ. 1771 - ทุพภิกขภัยในดินแดนเช็กที่คร่าชีวิตผู้คนไปหลายแสนคน
- ค.ศ. 1771-ค.ศ. 1772 - ทุพภิกขภัยในแซกโซนีและทางตอนใต้ของเยอรมนี
- ค.ศ. 1773 - ทุพภิกขภัยในสวีเดน
- ค.ศ. 1779 - ทุพภิกขภัยในราบัตในโมร็อกโก
- คริสต์ทศวรรษ 1780 ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ใน Tenmei ในญี่ปุ่น
- ค.ศ. 1783 - ทุพภิกขภัยในไอซ์แลนด์ที่เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟลาคิที่คร่าชีวิตผู้คนไปหนึ่งในห้า
- ค.ศ. 1783-ค.ศ. 1784 - ทุพภิกขภัยชาลิสาในเอเชียใต้ที่เกิดขึ้นหลังจากเอลนีโญที่เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1780
- ค.ศ. 1784 - ทุพภิกขภัยที่เกิดขึ้นทั่วไปในอียิปต์
- ค.ศ. 1784-ค.ศ. 1785 - ทุพภิกขภัยในตูนิเซียที่คร่าชีวิตประชากรไปหนึ่งในห้า
- ค.ศ. 1788 - ทุพภิกขภัยในฝรั่งเศส สองปีก่อนหน้าที่จะเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส ฝรั่งเศสประสบกับผลผลิตทางเกษตรที่ต่ำกว่าปกติและฤดูหนาวอันทารุณซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากเอลนีโญ หรืออาจจะเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟลาคิในไอซ์แลนด์ในปี ค.ศ. 1783
- ค.ศ. 1789 - ทุพภิกขภัยในเอธิโอเปียเกิดขึ้นในทุกจังหวัด
- ค.ศ. 1789-ค.ศ. 1792 - ทุพภิกขภัยโดจิบาราในอินเดีย
คริสต์ศตวรรษที่ 19
- ค.ศ. 1800-ค.ศ. 1801 - ทุพภิกขภัยในไอร์แลนด์
- ค.ศ. 1810, ค.ศ. 1811, ค.ศ. 1846, ค.ศ. 1849 - ทุพภิกขภัยสี่ครั้งคร่าชีวิตผู้คนไปราว 45 ล้านคน
- ค.ศ. 1811-ค.ศ. 1812 - ทุพภิกขภัยในมาดริดคร่าชีวิตผู้คนไปราวเกือบ 20,000 คน
- ค.ศ. 1815 - การระเบิดของภูเขาไฟทัมโบราในอินโดนีเซียที่เป็นผลให้ผู้คนเสียชีวิตจากทุพภิกขภัยที่เกิดขึ้นไปหลายหมื่นคน
- ค.ศ. 1816-ค.ศ. 1817 - ทุพภิกขภัยในยุโรปที่มีสาเหตุมาจากของอากาศที่เรียกว่าปีไร้ฤดูร้อนที่ทำลายผลผลิตทางการเกษตรโดยทั่วไปในยุโรป
- ค.ศ. 1830 - ทุพภิกขภัยที่คร่าชีวิตประชากรของเคปเวิร์ดไปครึ่งหนึ่ง
- คริสต์ทศวรรษ 1830 - ทุพภิกขภัยเทนโพในญี่ปุ่น
- ค.ศ. 1835 - ทุพภิกขภัยในอียิปต์ที่คร่าชีวิตผู้คนไปราว 200,000 คน
- ค.ศ. 1845-ค.ศ. 1849 - ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ที่คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า หนึ่งล้านคน
- ค.ศ. 1846 - ทุพภิกขภัยที่นำไปสู่การปฏิวัติชาวนาที่เรียกว่า “Maria da Fonte” ทางตอนเหนือของโปรตุเกส
- ค.ศ. 1846-ค.ศ. 1857 - ทุพภิกขภัยมันฝรั่งในสกอตแลนด์ (Highland Potato Famine (1846 - 1857)
- ค.ศ. 1850-ค.ศ. 1873 - ทุพภิกขภัยที่เป็นผลมาจากกบฏไทปิง, ความแห้งแล้ง และทุพภิกขภัยที่ทำให้ประเทศจีนภายใต้ราชวงศ์ชิงลดลงเป็นจำนวน 60 ล้านคน
- ค.ศ. 1866 - ทุพภิกขภัยในโอริสสาในอินเดียที่คร่าชีวิตผู้คนไปราวหนึ่งล้านคน
- ค.ศ. 1866-ค.ศ. 1868 - ทุพภิกขภัยในฟินแลนด์ที่คร่าชีวิตผู้คนไปราว 15%
- ค.ศ. 1869 - ทุพภิกขภัยในราชปุตานะในอินเดียที่คร่าชีวิตผู้คนไปราวหนึ่งล้านห้าแสนคน
- ค.ศ. 1870-ค.ศ. 1871 - ทุพภิกขภัยในเปอร์เซียที่เชื่อกันว่าคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 2 ล้านคน
- ค.ศ. 1873-ค.ศ. 1874 - ทุพภิกขภัยในอานาโตเลีย
- ค.ศ. 1879 - ทุพภิกขภัยในไอร์แลนด์
- ค.ศ. 1873-ค.ศ. 1874 - ทุพภิกขภัยในพิหารในอินเดีย
- ค.ศ. 1876-ค.ศ. 1879 - ทุพภิกขภัยจากผลของเอลนีโญในอินเดีย, จีน, บราซิล, แอฟริกาเหนือ และประเทศอื่น ทุพภิกขภัยทางตอนเหนือของประเทศจีนคร่าชีวิตไป 13 คนและอีก 5.25 คนระหว่างทุพภิกขภัยในอินเดียใต้
- ค.ศ. 1878-ค.ศ. 1880 - ทุพภิกขภัยในเกาะเซนต์ลอเรนซ์ในอะแลสกา
- ค.ศ. 1888 - ทุพภิกขภัยในซูดาน
- ค.ศ. 1888-ค.ศ. 1892 - ทุพภิกขภัยในเอธิโอเปียที่ทำให้สูญเสียประชากรไปหนึ่งในสาม สถานะการณ์ยิ่งเลวร้ายลงเมื่อเกิดอหิวาตกโรคระหว่าง ค.ศ. 1889 จนถึง ค.ศ. 1892, ไข้รากสาดใหญ่ และ การระบาดครั้งใหญ่ของฝีดาษ epidemic ระหว่าง ค.ศ. 1889 จนถึง ค.ศ. 1890
- ค.ศ. 1891-ค.ศ. 1892 - ทุพภิกขภัยในรัสเซียที่คร่าชีวิตประชากรไปราวระหว่าง 375,000 ถึง 500,000 คน
- ค.ศ. 1896-ค.ศ. 1897 - เอลนีโญที่ทำให้เกิดทุพภิกขภัยทางตอนเหนือของจีนที่เป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่กบฏนักมวย
- ค.ศ. 1896-ค.ศ. 1902 - เอลนีโญที่ทำให้เกิดทุพภิกขภัยในอินเดีย
คริสต์ศตวรรษที่ 20
- ค.ศ. 1907 - ทุพภิกขภัยทางตะวันออกกลางประเทศจีน
- ค.ศ. 1914-ค.ศ. 1918 - ทุพภิกขภัยในเมานท์เลบานอนระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่คร่าชีวิตประชากรไปหนึ่งในสาม
- ค.ศ. 1914-ค.ศ. 1918 - ทุพภิกขภัยในเบลเยียม
- ค.ศ. 1915-ค.ศ. 1916 - อาร์มีเนียผู้ถูกเนรเทศเสียชีวิตจากทุพภิกขภัยไปเป็นจำนวนมาก
- ค.ศ. 1916-ค.ศ. 1917 - ทุพภิกขภัยที่คร่าชีวิตชาวเยอรมันไปราว 750,000 คนเมื่อบริติชปิดล้อมเยอรมนีระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- ค.ศ. 1916-ค.ศ. 1917 - ทุพภิกขภัยระหว่างฤดูหนาวในรัสเซีย
- ค.ศ. 1917-ค.ศ. 1919 - ทุพภิกขภัยในเปอร์เซีย หนึ่งในสี่ของประชากรเสียชีวิตไปกับทุพภิกขภัย
- ค.ศ. 1917-ค.ศ. 1921 - ทุพภิกขภัยที่เกิดขึ้นหลายครั้งในเติร์กสถานระหว่างการปฏิวัติบอลเชวิคคร่าชีวิตประชากรไปหนึ่งในหก
- ค.ศ. 1921 - ทุพภิกขภัยในรัสเซียคร่าชีวิตประชากรไป 5 ล้านคน
- 1921-ค.ศ. 1922 - ทุพภิกขภัยในตาตาร์สตาน
- ค.ศ. 1921-ค.ศ. 1922 - ทุพภิกขภัยในอาณานิคมโวลกาเยอรมันในรัสเซียที่คร่าชีวิตประชากรไปหนึ่งในสาม
- ค.ศ. 1928-ค.ศ. 1929 - ทุพภิกขภัยทางตอนเหนือของจีน และความแห้งแล้งคร่าชีวิตผู้คนไปราว 3 ล้านคน
- ค.ศ. 1928-ค.ศ. 1929 - ทุพภิกขภัยในรวันดา-บุรุนดีทำให้เกิดการอพยพครั้งใหญ่เข้าไปยังคองโก
- ค.ศ. 1932-ค.ศ. 1933 - ทุพภิกขภัยในโซเวียตในยูเครนและบางส่วนของรัสเซีย และทางเหนือของบริเวณคอเคซัส ประชากรอาจจะถึงประมาณระหว่าง 2.6 ถึง 10 ล้านคนเสียชีวิต
- ค.ศ. 1932-ค.ศ. 1933 - ทุพภิกขภัยในคาซัคสถานคร่าชีวิตผู้คนไปราว 1.2-1.5 ล้านคน
- ค.ศ. 1936 - ทุพภิกขภัยในประเทศจีนคร่าชีวิตผู้คนไปราว 5 ล้านคน
- ค.ศ. 1940-ค.ศ. 1943 - ทุพภิกขภัยในเขตกักกันวอร์ซอ (Warsaw Ghetto)
- ค.ศ. 1941-ค.ศ. 1944 - ทุพภิกขภัยระหว่างการล้อมกรุงเลนิกราดเป็นเวลา 900 วันของทหารเยอรมัน เลนิกราดเสียประชากรไปราวหนึ่งล้านคนจากทุพภิกขภัย ความหนาวเย็น หรือถูกลูกระเบิดระหว่างฤดูหนาวของปี ค.ศ. 1941-ค.ศ. 1942 เมื่อเส้นทางสเบียงถูกตัดเพราะอุณหภูมิลดต่ำลงกว่า -40 องศา
- ค.ศ. 1941-ค.ศ. 1942 - ทุพภิกขภัยในกรีซที่เกิดจากการยึกครองของนาซี An estimated 300,000 people perished
- ค.ศ. 1942-ค.ศ. 1943 - ทุพภิกขภัยในประเทศจีนที่คร่าชีวิตผู้คนไปราวหนึ่งล้านคน
- ค.ศ. 1943 - ทุพภิกขภัยในเบงกอล
- ค.ศ. 1943 - ทุพภิกขภัยในรวันดา-อุรุนดี ทำให้เกิดการอพยพครั้งใหญ่เข้าไปยังคองโก
- ค.ศ. 1944 - ทุพภิกขภัยในเนเธอร์แลนด์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 20,000 คน
- ค.ศ. 1945 - ทุพภิกขภัยในเวียดนาม
- ค.ศ. 1946-ค.ศ. 1947 - ทุพภิกขภัยในสหภาพโซเวียตที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 1-1.5 ล้านคน
- ค.ศ. 1958 - ทุพภิกขภัยในเอธิโอเปียในทิเกรย์ทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 100,000 คน
- ค.ศ. 1959-ค.ศ. 1961 - Great Leap Forward / ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในจีน (China) ตัวเลขทางการของผู้เสียชีวิตที่ให้โดย Hu Yaobang 20 ล้านคน
- ค.ศ. 1965-ค.ศ. 1967 - ความแห้งแล้งในอินเดียทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 1.5 ล้านคน
- ค.ศ. 1966 - ทุพภิกขภัยในพิหารในอินเดีย
- ค.ศ. 1967-ค.ศ. 1970 - ทุพภิกขภัยในบิอาฟราที่เกิดจากการปิดล้อมโดยไนจีเรีย
- ค.ศ. 1968-ค.ศ. 1972 - ความแห้งแล้งในซาเฮลทำให้เกิดทุพภิกขภัยทำให้มีผู้เสียชีวิตหนึ่งล้านคน
- ค.ศ. 1973 - ทุพภิกขภัยในเอธิโอเปีย; ความล้มเหลวของรัฐบาลในการแก้ปัญหาวิกฤติการณ์ที่นำไปสู่การล่มของจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีและการปกครองของเดิร์ก
- ค.ศ. 1974 - ทุพภิกขภัยในบังกลาเทศ
- ค.ศ. 1975-ค.ศ. 1979 - เขมรแดงทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 2 ล้านคนจากการฆาตกรรม การบังคับใช้แรงงาน และทุพภิกขภัย
- ค.ศ. 1980 - ทุพภิกขภัยในคาราโมจาในอูกันดา
- ค.ศ. 1984-ค.ศ. 1985 - ทุพภิกขภัยในเอธิโอเปีย
- ค.ศ. 1990-ค.ศ. 2003 - อิรักทุพภิกขภัยมาตั้งแต่ ค.ศ. 1990 การแซงชั่นอิรักเป็นผลให้มีผู้ขาดอาหารกันเป็นจำนวนมากและทำให้มีผู้เสียชีวิตราวระหว่าง 200,000 ถึง 1 ล้านคน
- ค.ศ. 1991-ค.ศ. 1993 - ทุพภิกขภัยในโซมาเลีย
- ค.ศ. 1996 - ทุพภิกขภัยในเกาหลีเหนือ [3] เก็บถาวร 2014-01-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [4] เก็บถาวร 2009-01-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Scholars estimate 600,000 died of starvation (other estimates range from 200,000 to 3.5 million).
- ค.ศ. 1998 - ทุพภิกขภัยในซูดานที่เกิดจากสงครามกลางเมืองซูดานครั้งที่ 2 และ ความแห้งแล้ง
- ค.ศ. 1998 - ทุพภิกขภัยทางตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิลที่เกิดจากเอลนีโญ
- ค.ศ. 1998-ค.ศ. 2000 - ทุพภิกขภัยในเอธิโอเปียที่ทำให้เลวร้ายลงโดยสงครามอีริเทรียน-เอธิโอเปีย
- ค.ศ. 1998-ค.ศ. 2004 - สงครามคองโกครั้งที่ 2ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3.8 ล้านคนส่วนใหญ่จากโรคร้ายและทุพภิกขภัย
- ค.ศ. 2000-ค.ศ. 2009 - วิกฤติการณ์การขาดแคลนอาหารในซิมบับเวที่เป็นผลจากการปฏิรูปที่ดินโดยโรเบิร์ต มูกาบี (Robert Mugabe)
คริสต์ศตวรรษที่ 21
- ค.ศ. 2003 - ทุพภิกขภัยในซูดาน/ดาร์เฟอร์ดาร์ฟูร์ (ความขัดแย้งดาร์ฟูร์)
- ค.ศ. 2005 - วิกฤติการณ์การขาดแคลนอาหารในมาลาวี
- ค.ศ. 2005-ค.ศ. 2006 - วิกฤติการณ์การขาดแคลนอาหารในไนเจอร์
- ค.ศ. 2006 - วิกฤติการณ์การขาดแคลนอาหารในจะงอยแอฟริกา
- ค.ศ. 2008- วิกฤติการณ์การขาดแคลนอาหารในพม่าที่มีสาเหตุมาจากพายุหมุนนาร์กิสที่ทำลายบริเวณผลิตข้าวส่วนใหญ่ของประเทศ
- ค.ศ. 2008- ทุพภิกขภัยในเกาหลีเหนือ
- ค.ศ. 2008- วิกฤติการณ์การขาดแคลนอาหารในจะงอยแอฟริกา
- ค.ศ. 2008- วิกฤติการณ์การขาดแคลนอาหารในอัฟกานิสถาน
- ค.ศ. 2008- วิกฤติการณ์การขาดแคลนอาหารในบังกลาเทศ
- ค.ศ. 2008- วิกฤติการณ์การขาดแคลนอาหารในแอฟริกาตะวันออก
- ค.ศ. 2008- วิกฤติการณ์การขาดแคลนอาหารในทาจิกิสถาน
- ค.ศ. 2009- วิกฤติการณ์การขาดแคลนอาหารในเคนยา ชาวเคนยากว่า 10 ล้านคนขาดแคลนอาหาร
- ค.ศ. 2011 - ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา แถบโซมาเลีย เอธิโอเปียและประเทศเพื่อนบ้าน
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: รายชื่อทุพภิกขภัย |
- Livy 4.13
- The looming food crisis
- Millions face famine as crop disease rages
- Fuelling a Food Crisis: The impact of peak oil on food security เก็บถาวร 2008-11-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Global food crisis looms as climate change and population growth strip fertile land
- Global food crisis looms as climate change and fuel shortages bite
- Forget oil, the new global crisis is food เก็บถาวร 2013-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Famine in China เก็บถาวร 2006-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Famines in Ukraine
- One hundred years of famine เก็บถาวร 2009-01-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Another Famine
- A Brief History of Population
- Worlds Worst Natural Disasters
- Great Famine (1695–1697) เก็บถาวร 2009-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Legacy of famine divides Ukraine
- The dimension of famine
- The famine in China |1899-1909
- The worst Natural Disasters ever
- Outgrowing the Earth เก็บถาวร 2009-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Oil and Food: A Rising Security Challenge เก็บถาวร 2009-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Drought and Desertification
- Water Shortages May Lead to Food Shortages เก็บถาวร 2007-07-04 ที่ archive.today
- The facts on malnutrition & famine เก็บถาวร 2000-01-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Water and Climate Events of the 20th Century
- Death Toll Disasters-War-Accidents เก็บถาวร 2003-04-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- World's worst natural disasters since 1900
- Time of Troubles
- Famine – LoveToKnow 1911
- Famine perspectives from past and present เก็บถาวร 2009-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Famine looms in Zimbabwe, aid agency warns